การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตาม หลักอปริหานิยธรรม 7 ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหายอดนภา วิสิฏฺฐชโย (บัตรวิเศษ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, หลักอปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัดกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 3) หาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .990 กับกลุ่มตัวอย่าง จากการเปิดตารางของ Krejcei & Morgan จำนวน 372 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (equation = 2.34, S.D. = 1.11) เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับน้อยทุกข้อ 2) การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตามหลักอปริหานิยธรรมของวัดกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (r = 0.907) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ 3.1) สร้างทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนด้วยการอนุเคราะห์ต่อชุมชน (มวลชนสัมพันธ์) 3.2) สร้างสรรค์กิจกรรม โดยจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงพุทธอย่างต่อเนื่อง จริงจัง 3.3) สร้างทีมและการมีส่วนร่วม 3.4) ผลประโยชน์ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม 3.5) บริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธด้วยหลักอปริหานิยธรรม 3.6) ประเมินผลสม่ำเสมอ

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชน. สาระสารสอน, 2(3), 3.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพฯ : กองแผนงานและสารสนเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.

พระครูพิจิตรวรเวท, พระอุดมสิทธินายก, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, และพระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2565). การมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาว จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 1-14.

พระครูสังฆรักษ์วุฒิพงษ์ วุฑฺฒิวํโส. (2561). รูปแบบการพัฒนาวัดในประเทศไทยเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาพงศกร ฐิตญาโณ (มะลิลา), พระครูนิวิฐศิลขันธ์ และพระราชรัตนเวที. (2564). ประสิทธิผลการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ตามแนวทาง 5ส ของวัดในอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 1-13.

พระมหามงคล ฐานิสฺสโร (หวังนอก) และซิสิกกา วรรณจันทร์. (2562). การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงศาสนาภายในวัดของชุมชนภาคอีสานตอนล่าง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(2), 105-112.

พระแมนรัตน์ จตฺตมโล, พระสมุทรวชิรโสภณ และพระครูวาทีวรวัฒน์. (2562). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม, 2(2), 24-33.

พระศรีสุทธิพงศ์ (สมส่วน ปฏิภาโณ). (2564). การจัดการมรดกโลกโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และประชาชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 9(1), 57-70.

พระสาธิต ฐิตวีริโย (สุดเทศ), พระครูนิวิฐศีลขันธ์ และพระราชรัตนเวที. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวในตำบลฬ่อ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 2(3), 99-112.

วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-09-2024

How to Cite

พระมหายอดนภา วิสิฏฺฐชโย (บัตรวิเศษ). (2024). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธตาม หลักอปริหานิยธรรม 7 ในอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี. Journal of Education and Social Agenda, 1(2), 15–30. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1162