ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสิริปริยัติโยดม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูวิวิธธวัชชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุเมฆ สมาหิโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ , ปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ , จักร 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัจจัยส่งเสริมจากสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และ 4) ศึกษาหลักจักร 4 ที่ส่งผลต่อต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณสํารวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร จำนวน 259 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพทั่วไปของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง พบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ระดับความคิดเห็นต่อการใช้หลักจักร 4 และระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และบุคคลดูแลเวลาป่วยต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่อเดือน และเป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการต่างกันมีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ประชาชนที่มีเพศ สถานภาพการสมรสต่างกันมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยภาพรวม พบว่า มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมีความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 74.8 และสามารถร่วมกับพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 55.9 และ 4) หลักจักร 4 โดยภาพรวม พบว่า ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เชิงบวกกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้องในระดับมีความสัมพันธ์สูง คิดเป็นร้อยละ 50.2 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 25.2

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.dop.go.th/th/know/1

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2567). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ : บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

ตัณติกร เหล่าพร. (2567). บัญชีสรุปบัญชีบุคคลตามช่วงวันเดือนปีเกิด หรือช่วงอายุ (เพศชาย+เพศหญิง) ทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง. (อัดสำเนา).

ปฏิญญา ภูจำปา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหัวนาคำอำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).(2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.

สิริมา อิทธิ์ประเสริฐ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแกลงกะเฉด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุเทพ ศรีนุช, พูนชัย ปันธิยะ และพิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2563). แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นสุข. สังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 136-149.

อัศวิน ลิ้มฤกษ์ลำรึก. (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น, 5(1), 42–57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2025

How to Cite

พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์, พระครูสิริปริยัติโยดม, พระครูวิวิธธวัชชัย, & พระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร . Journal of Education and Social Agenda, 2(1), 15–30. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1474