ความปลอดภัยในสถานศึกษากับการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม
คำสำคัญ:
ความปลอดภัยในสถานศึกษา, การพัฒนาปัญญา, คุณธรรมบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นส่วนสำคัญของสถานศึกษาที่ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกำหนดเป็นนโยบายหลักในการป้องกันเหตุร้ายหรืออุบัติภัยไม่ให้เกิดขึ้น รวมถึงแก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาได้อย่างทันเหตุการณ์ ไม่เกิดความสูญเสีย เสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของนักเรียน ครู รวมถึงผู้อื่นในสถานศึกษาต่อไป สถานศึกษาจึงควรมีนโยบาย ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของสถานศึกษา ชุมชน ความเข้มแข็งของเครือข่าย เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย และภัยจากสภาพแวดล้อมทางสังคม 2) กำหนดมาตรการหลัก เพื่อป้องกันและแก้ไข 3) กำหนดมาตรการเสริมให้เหมาะสมกับความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น และสภาพความเสี่ยงของท้องถิ่น 4) กำหนดกิจกรรมสนับสนุนมาตรการหลักและมาตรการเสริม 5) กำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้เพื่อสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษากับการพัฒนาปัญญาและคุณธรรมให้เกิดในสถานศึกษาอย่างยั่งยืน
References
เดชน์ จรูญเรืองฤทธิ์. (2549). ความรู้พื้นฐานเรื่องการรักษาความปลอดภัยสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สฤษดิ์ พานคำ. (2551). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. (รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
สำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (2552, 13 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 162 ตอนพิเศษ 39ง, หน้า 4-22.
เอมอัชฌา รัตน์ริมจง วัฒนบุรานนท์. (2548). วิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Strasser, M.K. (1965). Fundamentals of Safety Education. New York : Mamillan.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น