แนวทางการเสริมสร้างศรัทธาในสังคมไทย
คำสำคัญ:
การเสริมสร้าง, ศรัทธา, สังคมไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างแนวทางการเสริมสร้างศรัทธาในสังคมไทย งานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลภาคเอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยมุ่งศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวรรณกรรม ทางพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ คือ กลุ่มของพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่มีความเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผลการวิจัย พบว่า 1) การเสริมสร้างศรัทธาของพุทธศาสนิกชนไทยนั้น ต้องนำหลักธรรม คือ มรรค 8 และหลักโอวาทปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนามาบูรณาการในกระบวนการดำเนินชีวิต ทั้งในมิติของชีวิตประจำวันการปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพที่ไม่สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง รวมไปถึงบุคคลรอบข้างพุทธบริษัท 4 นั้น เป็นสถานภาพของบุคคลผู้นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ บรรพชิต ได้แก่ ภิกษุและภิกษุณีและคฤหัสถ์ได้แก่อุบาสกและอุบาสิกา พุทธบริษัท 4 นั้นถือเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะมีหน้าที่ในการรักษาสืบทอดพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองภิกษุรวมถึงภิกษุณีด้วย มีสถานภาพเป็นหัวหน้าพุทธบริษัท 4 จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนตามสิกขาบทในพระวินัยอย่างเคร่งครัดเพื่อขัดเกลากิเลส ซึ่งเป็นแบบอย่างในการเกิดความศรัทธาแก่ผู้ได้ทราบและประสบพบเห็นด้วยตนเอง
References
เดือน คำดี. (2521). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2014). หลักของการพัฒนาชีวิตให้เป็นสุข. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 8(2), 68-77.
พระชัยพร จนฺทวํโส (จันทวงษ์). (2554). ศึกษาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโมคคัลลานเถระ และพระสุภูติเถระชาวสีหฬ. (2535). คัมภีร์อภิธานปฺปทีปิกาและอภิธาน ปฺปทีปิกาสูจิ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐวรรณ เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2544). ศรัทธาในพุทธศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์. (2518). ธาตุปฺปทีปิถา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น