รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • รัชรินทร์ ธนานุตยกุล สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดน่าน
  • ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการน้ำ, การเกษตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน  ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี  จากการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 352 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test และการทดสอบค่าเอฟ F-Test และการเปรียบเทียบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน และใช้เทคนิคการสรุปเนื้อหานำเสนอแนวทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา และรายได้ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัญหา อุปสรรค คือ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ประชาชนบางส่วนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ข้อเสนอแนะ คือ การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรนั้นทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าและพนักงานมีความเมตตา แสดงไมตรีจิตร พร้อมให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา อุปสรรค ให้กับประชาชน ทั้งสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบล ว่าการดำเนินงานต่าง ๆ นั้นตั้งอยู่บนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย

References

ฐกร กาญจน์จิรเดช, มยุรี รัตนเสริมพงศ์ และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดอุทัยธานีตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 537-552.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2549). แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สัจจา บรรจงศิริ และคณะ. (2555). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบผสมผสาน (IWRM) ของประเทศและการผลักดันสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทจูนพับลิชชิ่งจำกัด.

สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และคณะ. (2554). การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

โสภิดา สุรินทะ. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชน : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัครเดช พรหมกัลป์ และคณะ. (2558). รูปแบบการพัฒนาบึงน้ำขนาดใหญ่แบบมีส่วนร่วมในสังคมไทย. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024

How to Cite

ธนานุตยกุล ร. ., โรจน์กิจจากุล ธ. ., & สุขเหลือง เ. . (2024). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. Journal of Education and Social Agenda, 1(3), 29–42. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1079