วิเคราะห์กรรมของอุบาสิกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษาอุบาสิกาเอตทัคคะ

ผู้แต่ง

  • พระครูนิธานกิจจาทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระศรีสุทธิพงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศิริโรจน์ นามเสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กรรม, อุบาสิกา, คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  2) ศึกษาการกระทำกรรมของอุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ และ 3) วิเคราะห์กรรมและผลกรรมของอุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะมาประยุกต์ใช้ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา งานวิจัย หนังสือ และบทความที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท กรรม คือ การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ทางใจที่ประกอบด้วยเจตนา ทำดีเรียกกุศลกรรม ทำชั่วเรียกอกุศลกรรม กฎแห่งกรรมเป็นกฎที่ยุติธรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ระยะเวลาการให้ผลของกรรมแต่ละประเภทต่างกัน เหมือนการปลูกพืช เหมือนนายพรานล่าสัตว์ เหมือนบุคคลวิ่งหนีสุนัข เหมือนทิ้งของจากที่สูง 2) การกระทำกรรมของอุบาสิกาที่เป็นเอตทัคคะ 10 ท่าน ในอดีตชาติ อุบาสิกานั้นได้ฟังธรรมและเห็นพระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่งตั้งอุบาสิกาคนหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ตนจึงได้ขวนขวายทำกุศลกรรมอันยิ่ง และตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้น ได้ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอด 100,000 กัป และ 3) อุบาสิกานั้นได้ฟังธรรมและเห็นพระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่งตั้งอุบาสิกาคนหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ตนจึงได้ขวนขวายทำกุศลกรรมอันยิ่ง นำมาประยุกต์ใช้ ในอดีตชาติ อุบาสิกานั้นมีความประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางใจ ต่างกัน อุบาสิกาส่วนมากจะประพฤติกุศลกรรม บางท่านประพฤติอกุศลกรรม ในปัจจุบันชาติ อุบาสิกานั้นจึงได้รับผลของกรรมต่างกัน ที่ได้รับผลกรรมเหมือนกันทุกท่าน ได้แก่ ได้ฟังธรรมแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม และพระพุทธเจ้าทรงตรัสยกย่องแต่งตั้งอุบาสิกานั้น ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย

References

ธรรมรักษา. (2542). พระไตรปิฎก และอรรถกถา ฉบับกรรมลิขิต. กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์สติ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2539). ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริเฉทที่ 5 เล่ม 2 กัมมจตุกกะ-มรณุปปัตติจตุกกะ. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ.

มณีรัตน์ มีจั่นเพชร. (2563). อุบาสกอุบาสิกาต้นแบบในพุทธกาล : มิติการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วิญญาณ

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสฺยามรฏฺเตปิฏกํ 2525. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2519). หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บรรณาคาร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

แสง จันทร์งาม. (2525). ประทีปธรรม. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024

How to Cite

พระครูนิธานกิจจาทร, พระศรีสุทธิพงศ์, & นามเสนา ศ. . (2024). วิเคราะห์กรรมของอุบาสิกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท : กรณีศึกษาอุบาสิกาเอตทัคคะ. Journal of Education and Social Agenda, 1(4), 1–16. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/ACJJ/article/view/1068