การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาสมรรถนะ, การปฏิบัติงาน , พระสังฆาธิการจังหวัดอุทัยธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการปฏิบัติงาน 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตามหลักภาวนา 4 และสมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยเชิงสำรวจที่มีแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .84 กับประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ จากพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 296 รูป สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 23 รูป ใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการพัฒนาตนตามหลักภาวนา 4 ของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.63,
= 0.52) และระดับการวิเคราะห์สมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 3.58,
= 0.56) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตามหลักภาวนา 4 และสมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.839**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของพระสังฆาธิการในจังหวัดอุทัยธานี คือ ควรมีการพัฒนาในด้าน 3.1) ความสามารถในการวางตัวอย่างเหมาะสม 3.2) ความสามารถในการประสานงาน 3.3) ) ความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร 3.4) ความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัว และ 3.5) ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์
References
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์ พระครูสมุทรวชิรานุวัตร และทองอินทร์ มนตรี. (2564). กลยุทธ์การบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 378-392.
พระครูจันทวิริโยภาส (ชาญวิชย์ เชี่ยวชาญ). (2563). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติตามกิจของพระสงฆ์ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 6. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(1), 51-69.
พระครูจันทสารสุตกิจ และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารความเปลี่ยนแปลงของคณะสงฆ์ภาค 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(4), 995-1006.
พระครูวิโรจน์อินทคุณ (เอกชัย อินฺทโชโต) และคณะ. (2563). การพัฒนาสมรรถนะเจ้าอาวาสตามหลักพุทธธรรม เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระฐานี ฐิตวิริโย (จองเจน). (2552). การพัฒนาขีดความสามารถของพระสงฆ์เพื่อหนุนเสริมการแก้ไขปัญหาความยากจน. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์). สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พระณธีร์วิชญ์ วรโภคินธนะโชค และคณะ. (2560). การพัฒนาสมรรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัฒน์ตามหลักพุทธธรรม. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2558). การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรเมธี และคณะ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564 “การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ”. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์ และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1), 64-73.
สายรุ้ง บุบผาพันธ์ และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูสอนสังคมศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ตามหลักภาวนา 4 : ของครูเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก. วารสารการสอนสังคมศึกษา, 3(1), 114-130.
แสงวุฒิ แสนสุภา และวันทนา อมตาริยกุล. (2563). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 28-38.
อัครินทร์ กำใจบุญ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอนุศาสนาจารย์ทหารบกไทยเชิงพุทธบูรณาการ. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Journal of Education and Social Agenda

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Education and Social Agenda ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Education and Social Agenda หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Education and Social Agenda ก่อนเท่านั้น