https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/issue/feed วารสารพิพัฒนสังคม 2024-12-27T12:10:04+07:00 วารสารพิพัฒนสังคม (Journal of Social Development Research and Practice) jsdrp.psu@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารพิพัฒนสังคม (Journal of Social Development Research and Practice)</strong></p> <p><strong>ISSN: 3027-8430 (Online)</strong></p> <p>วารสารพิพัฒนสังคม สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหา<br /></strong>วารสารพิพัฒนสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย และผลงานสร้างสรรค์ด้านพัฒนศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในเชิงเศรษฐกิจ บริหารธุรกิจ การเมือง สารสนเทศศาสตร์ สุขภาวะทางกาย จิต และสังคม และสาขาที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจโดยทั่วไปและเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคม</p> <p><strong>กำหนดการจัดพิมพ์เผยแพร่ <br /></strong>ปีละ 3 ฉบับ (จำนวน 5-7 บทความ/ฉบับ)<br />ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) <br />ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม)<br />ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม)</p> <p><strong>ประเภทของบทความที่เปิดรับ<br /></strong>บทความวิจัย (Research article)<br />บทความปริทัศน์ (Review article)<br />บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)<strong><br /></strong></p> <p><strong>การพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ<br /></strong>บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบ Double Blind Peer Review จำนวน 3 ท่าน ต่อ บทความ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 </p> <p><strong>การส่งต้นฉบับ</strong><br />ส่งไฟล์ต้นฉบับบทความ (Submission) ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์วารสารบนระบบ ThaiJO ของ TCI <br /><a href="https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp">https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp</a></p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมตีพิมพ์</strong><br />วารสารพิพัฒนสังคมไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <p><strong>ข้อมูลเพิ่มเติม</strong><br />กรุณาติดต่อ ที่อีเมล jsdrp.psu@gmail.com</p> https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1411 บทบรรณาธิการ 2024-12-26T19:24:47+07:00 วารสารพิพัฒนสังคม Journal of Social Development Research and Practice jsdrp.psu@gmail.com 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1412 สารบัญ 2024-12-26T19:36:50+07:00 วารสารพิพัฒนสังคม Journal of Social Development Research and Practice jsdrp.psu@gmail.com 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1094 ทักษะการรู้สารสนเทศในศตวรรษที่ 21 2024-08-28T14:20:55+07:00 ศรศักดิ์ รุ่งเรือง seammy250964@gmail.com <p>หนังสือ “ทักษะการรู้สารสนเทศ ในศตวรรษที่ 21”เป็นทักษะหนึ่งสำหรับผู้เรียนรู้ข้อมูลข่าวสารสนเทศเผยแพร่และให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นตลอดเวลา การที่ผู้เรียนรู้วิธีการค้นหา เลือก ประเมิน และใช้ข้อมูบงลที่ค้นหามาได้ จึงเป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้น ทักษะการเรียนรู้สารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือเเสวงหาความรู้ที่ช้วยให้มีความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศเเละความรู้ที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1003 การประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการหน่วย One Stop Service สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2024-07-25T20:21:22+07:00 พรรณี ศรีเรือน phannee_sriruen@hotmail.com ปรานอม ก้านเหลือง pranom.k@cmu.ac.th จารุณี แก้วทอง jarunee.ke@cmu.ac.th <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการหน่วย One Stop Service สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้าโครงการ นักวิจัย คณาจารย์และผู้ร่วมวิจัย จำนวน 30 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของหน่วย One Stop Service 6 ด้าน</p> <p><strong>ข้อค้นพบ:</strong> หัวหน้าโครงการ นักวิจัย คณาจารย์และผู้ร่วมวิจัย มีความพึงพอใจต่อขั้นตอนการให้บริการ มีความคล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว ในระดับมากที่สุด ด้านการดำเนินการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด ในระดับมากที่สุด ด้านขั้นตอนการปฏิบัติงานมี Work Flow และดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้ ในระดับมาก ด้านเจ้าหน้าที่สามารถอธิบายและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการรับบริการ แบบ One Stop Service ในระดับมาก ด้านการบริการ One Stop Service มีประสิทธิภาพ ในระดับมาก</p> <p><strong>การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้:</strong> ผลการวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการ และการสร้างระบบบริการ One Stop Service ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อการดำเนินงานวิจัยในอนาคตต่อไป สามารถนำไปใช้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วย One Stop Service ของสถาบันวิจัยต่าง ๆ และส่วนงานวิจัยของภาควิชา คณะต่าง ๆ ทั้งในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนอกมหาวิทยาลัย</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/967 การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึงอินซูลินในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี 2024-08-27T01:47:58+07:00 กูอัณวาร์ กูเมาะ war_wa@hotmail.com นูรซีตา เพอแสละ Nurseeta.p@psu.ac.th อนุพนธ์ อุมา seesa.uma@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การรับรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ประมวลผลการวิจัยนี้ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 63 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยายและรูปแบบเชิงพรรณนา คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G* power เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ด้านสุขภาพ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน</p> <p><strong>ข้อค้นพบ:</strong> ข้อมูลด้านปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันไม่มีผลต่อการลดของการเหนี่ยวนำการเป็นโรคเบาหวาน แต่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมีความตระหนักรู้มากขึ้นจากการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและดูแลตนเอง และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ทั้งนี้กรรมพันธุ์ก็มีส่วนเหนี่ยวนำของการเกิดเบาหวานด้วยเช่นกัน</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1230 สตรีหม้ายในปัตตานี: ผลกระทบกับการฟื้นคืนความเข้มแข็งในระยะเริ่มแรกกับการตั้งรับบนความสูญเสีย 2024-10-29T21:33:07+07:00 คุณานนท์ ศรีโสภา kunanont.sris@gmail.com ธันยา รุจิเสถียรทรัพย์ tanyaruji@yahoo.com <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาวิทยานิพนธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นคืนความเข้มแข็งของสตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดปัตตานี มุ่งนำเสนอผลการศึกษากระบวนการในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของกระบวนการฟื้นคืนความเข้มแข็ง</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตกับผู้ให้ข้อมูล คือ สตรีหม้ายที่สูญเสียสามีจากการเสียชีวิตจากความไม่สงบ ใช้แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทฤษฎีฐานราก</p> <p><strong>ข้อค้นพบ:</strong> ระยะที่ 1 สตรีหม้ายเผชิญกับความเศร้าและความเครียดในระยะเริ่มแรกหลังการสูญเสีย และต้องอาศัยการเยียวยาจากแพทย์และครอบครัว ซึ่งการฟื้นคืนความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยสตรีหม้ายหลายท่านใช้ศาสนาและการให้กำลังใจจากครอบครัวในการผ่านพ้นระยะนี้ บางคนถึงกับต้องได้รับการบำบัดทางจิตเวชเพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาสู่สภาวะปกติ ส่วนระยะที่ 2 คือ การยอมรับสภาพการณ์ ซึ่งสตรีหม้ายจะพยายามปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ พร้อมกับการค้นหาวิธีในการสร้างกำลังใจและการแก้ไขปัญหาให้ตนเอง</p> <p><strong>การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้:</strong> (1) ผลักดันการดูแลผู้ได้รับผลกระทบเป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนพัฒนาการดูแลด้านเศรษฐกิจ สุขภาพจิต และสังคมอย่างบูรณาการ (2) พัฒนาระบบโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม โดยการสนับสนุนสตรีหม้ายในระยะยาวผ่านการเชื่อมโยงหน่วยงานรัฐและเอกชนเพื่อสร้างเครือข่ายการช่วยเหลือครบวงจร และการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การจ้างงานที่ยั่งยืนและการฝึกอบรมทักษะ และ (3) พัฒนากลไกการดูแลสุขภาพจิตโดยเน้นการมีทีมช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตที่สามารถเข้าถึงและช่วยเหลือสตรีหม้ายได้อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเครียดและความโดดเดี่ยว</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1260 การจัดการโลจิสติกส์เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอาหารทะเลในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-12-23T12:09:21+07:00 อรปวีณ์ โภคาวัฒนา onpawee.l@rmutsv.ac.th ดนวัต สีพุธสุข Donnawat.s@tsu.ac.th <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> มุ่งเน้นระบบโลจิสติกส์ที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารทะเลในจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึง<br />การมองเห็นปัญหาและความท้าทายจากมุมมองของนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ ทั้งในเรื่องการไหลของข้อมูล การขนส่งทางกายภาพ และระบบการชำระเงินที่ใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ เน้นการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก การกำหนดกลุ่มประชากร เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้าใช้บริการในร้านอาหารในพื้นที่อำเภอขนอม ท่าศาลา และสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดไว้ที่ 384 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหารในพื้นที่ดังกล่าว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน </p> <p><strong>ข้อค้นพบ:</strong> นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวพื้นที่อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน 384 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 20 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 5,000-10,000 บาท นิยมรับประทานอาหารท้องถิ่นในมื้อกลางวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสภาพแวดล้อมจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านศักยภาพความพร้อมของสถานประกอบการ อัตลักษณ์ของอาหารทะล คุณภาพของอาหารทะเล ความคุ้มค่าของราคา และลักษณะของผู้ให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับการไหลทางกายภาพ การไหลทางสารสนเทศ การไหลทางการเงิน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p> <p><strong>การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้:</strong> ผู้ประกอบการท่องเที่ยวควรลงทุนในการทำการตลาดออนไลน์และประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย รวมถึงการพัฒนาแผนที่และข้อมูลการบริการในรูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลของนักท่องเที่ยว การพัฒนาหรือเพิ่มเส้นทางการขนส่งสาธารณะให้สะดวกสบายและเข้าถึงได้ง่ายจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยว</p> 2024-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jsdrp/article/view/1029 สัญญาทางแพ่งที่ควรเป็นสัญญาทางปกครอง 2024-08-13T18:17:53+07:00 ชิษณุชา หมั่นถนอม joemajor5931@gmail.com <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวคิดเรื่องการพิจารณาลักษณะของสัญญาทางแพ่ง ที่ควรจะเป็นสัญญาทางปกครอง การที่รัฐร่วมมือกับเอกชนเพื่อจัดทำบริการหรือโครงการสาธารณะนั้นสิ่งที่สำคัญ คือ “สัญญา” ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือหลายฝ่ายเพื่อให้เกิดนิติกรรมขึ้น จะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของสัญญาซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนา และเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาที่เป็นการปฏิบัติของคู่สัญญาเพื่อให้บรรลุผลแห่งสัญญา คู่สัญญาทางปกครองนั้น ฝ่ายหนึ่งเป็นองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองที่ต้องการทำสัญญากับบุคคลหรือองค์กรเอกชน โดยวัตถุประสงค์หลักในการให้บริการแก่ประโยชน์สาธารณะ และการให้บริการสาธารณะ มีสัญญาบางประเภทที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการแก่ประโยชน์สาธารณะโดยตรง แต่ส่งผลโดยอ้อม โดยทั่วไปแล้วเป็นสัญญาทางแพ่งและมีพฤติการณ์บางประการของคู่สัญญาที่เป็นหน่วยงานทางปกครองที่ยังต้องใช้อำนาจตามกฎหมายในการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญานั้นจึงควรพิจารณาให้เป็นสัญญาทางปกครองด้วยเช่นกัน</p> 2024-12-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพิพัฒนสังคม