วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal <p><strong>วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ<br />Journal of Innovative Management and Business Administration (JIMBA)<br />ISSN</strong> : 3027-8139 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม<br /><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทความปริทัศน์ ในกลุ่มสังคมศาสตร์ สาขาต่าง ๆ ได้แก่ ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเที่ยวและการบริการ นิเทศศาสตร์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p>บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย </p> <p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว</p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ญา หวังวัชรกุล) [email protected] (นางสาวอัญชิสา ปัดสำราญ) Wed, 21 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิเคราะห์บรรณมิติการวิจัยการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ในระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/489 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางบรรณมิติของงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาในช่วง พ.ศ. 2553-2566 ที่ตีพิมพ์ในระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย (Thai Journals Online database: ThaiJO) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและวางแผนการวิจัยในอนาคต <br />ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยทั้งหมด 105 เรื่อง โดยช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่มากที่สุด คือ พ.ศ. 2564 จำนวน 25 เรื่อง สถาบันที่มีการเผยแพร่มากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และศาสตร์หลักที่มีการศึกษา คือ <br />ศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมาที่มีเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะจากบทความ ควรมีการวางแผนการวิจัยอย่างเป็นระบบ วิจัยแบบบูรณาการ และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการวิเคราะห์บรรณมิติ เพื่อเข้าใจภาพรวมงานวิจัยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะนําไปสู่การวางแผนการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพื่อให้เกิดงานวิจัยที่มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของจังหวัด อีกทั้งจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้าง จำนวนแหล่งท่องเที่ยวมาก และแหล่งท่องเที่ยวหลายจุดที่ยังไม่ต่อเนื่องกัน การวิจัยทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวยังมีเพียง 4 งาน จากงานวิจัยทั้งหมด 105 งาน คิดเป็น 3.81% จึงเป็นช่องว่างทางการวิจัยที่สำคัญที่นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นได้</p> สุเทพ ยนต์พิมาย, ศศิรินทร์ กระสินธุ์หอม, พันธสรณ์ ธรรมะกิตติกร, สุธาสินี โพธิ์ชาธาร, พิชิต พระพินิจ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/489 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบสติกเกอร์ไลน์อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/294 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างสติกเกอร์ไลน์อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 2) เพื่อนำสติกเกอร์ไลน์ไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2) การวางแผนการออกแบบ และสร้างสติกเกอร์ไลน์อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 3) อัปโหลดสติกเกอร์ไลน์อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้สติกเกอร์ไลน์อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และการตลาดดิจิทัล วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 2) อาจารย์ผู้ใช้งานใช้การสื่อสารผ่านสติกเกอร์ไลน์ตัวแทนที่เป็นภาพ และข้อความสั้น ๆ ทำให้สื่อสารด้วยความเข้าใจได้ง่าย</p> ศศิธร แสงจำรัสชัยกุล, กฤษณะ เศรษฐี, อภิสิทธิ์ เรือนมงคล Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/294 Wed, 21 Feb 2024 00:00:00 +0700 การจัดการตลาดดิจิทัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/216 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ตลาดดิจิทัล และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชนกลุ่มสมุนไพรแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม จำนวน 240 คน ได้มาจากการสุ่ม/เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Questions) และเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ตลาดดิจิทัลควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการนำเสนอรูปภาพผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจ การสร้างข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาต่าง ๆ มีความเหมาะสม คิวอาร์โค้ด <br />(QR Code) ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แชทบอท (Chatbot) ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อผู้ดูแลเพจ การจัดทำคอนเทนต์ที่ทันต่อเหตุการณ์ (Real - Time Contents) ช่วยส่งเสริมการขายในยุคดิจิทัล</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/216 Wed, 21 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/297 <p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม <br />และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่า วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม โดยใช้หลักการของวงจรพัฒนาระบบแบบ SDLC: System Development Life Cycle กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนานักศึกษา วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม จำนวน 4 คน และศิษย์เก่าวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่สำเร็จการศึกษาปี 2563 ถึง 2564 จำนวน 238 คน และกลุ่มผู้ดูแลระบบ จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ คือโปรแกรม Filezilla โปรแกรม PHP (Professional Home Page) โปรแกรมฐานข้อมูล MySQL และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมทั้งในด้านข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และการแสดงผล มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบสามารถใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนำไประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนานักศึกษา มีความพึงพอใจโดยรวมของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนานักศึกษา และศิษย์เก่าวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม มีความพึงพอใจโดยรวมของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก และผู้ดูแลระบบมีความพึงพอใจโดยรวมของระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าอยู่ในระดับมาก</p> กัญญาภัทร จิตมาตย์, ศศิธร แสงจำรัสชัยกุล, ภิญญา สุขวิพัฒน์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/297 Wed, 21 Feb 2024 00:00:00 +0700 ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/396 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนที่สาขาตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 403 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ T-Test และ F-Test ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการช่องจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจในใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นที่มีระดับอาชีพแตกต่างกันมีส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะกายภาพและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นมีเพศ ระดับการศึกษา อายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นโดยรวมไม่แตกต่างกัน</p> อรญา แต้มพิมาย, วิชุดา ธรรมลา, ณัฐภิชา ดวงเกตุ, สาธิยา กลิ่นสุคนธ์ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/396 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/638 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศของผู้บริโภคในเขตเทศบาลตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่พักอาศัยในเขตเทศบาลตำบลบางกระสอ จังหวัดนนทุบรี จำนวน 400 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบแบบทีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า การซื้อเครื่องปรับอากาศครั้งล่าสุด ส่วนใหญ่ซื้อแบรนด์ซัมซุง จากร้านจำหน่ายทั่วไป ซื้อเพราะสภาพอากาศ ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคือ คนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว ญาติพี่น้อง แฟน เพื่อนชำระเงิน โดยการผ่อนชำระเป็นงวดๆ ด้วยบัตรเครดิต การตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศมีระดับการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก เพศที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ รายได้ อาชีพ สถานภาพ การศึกษา ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ไม่แตกต่างกัน</p> จีรสิทธิ์ พลไพรินทร, สมยศ อวเกียรติ Copyright (c) 2024 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jimba_journal/article/view/638 Fri, 12 Apr 2024 00:00:00 +0700