การจัดการธุรกิจทางการเกษตร : แนวทางการจัดการสู่ความสําเร็จอย่างยั่งยืน ของกลุ่มเกษตรกรพืชสวน

Main Article Content

ศุภกิตติ์ เศษรักษา
สลิลทิพย์ ช่างเหลา
อรวรรณ สรรเพชุดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจทางการเกษตรของเกษตรกรพืชสวนในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และความเข้าใจในการจัดการธุรกิจ กระบวนการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และแนวความคิดเห็นในการพัฒนาธุรกิจ การวิจัยใช้รูปแบบเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรพืชสวนจำนวน 400 คน ผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยกลุ่มเกษตรกร ให้ความสำคัญกับความรู้และความเข้าใจในการจัดการธุรกิจ รวมถึงการตลาด การจัดการการผลิต และการบริหารจัดการทั่วไป เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน การยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น แนวความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ


จากการวิจัยพบว่าการเริ่มต้นธุรกิจที่ดี การศึกษาหาโอกาส และการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่ดีมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจทางการเกษตรอย่างยั่งยืน คิดเป็นร้อยละ 56.50 โดยการจัดการกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญในการเติมโตของธุรกิจ แต่การขาดความรู้หรือการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลลบต่อความสำเร็จทางการเงินและการจัดการธุรกิจได้    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา เอมสวัสดิ์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าชาวไทยที่มาใช้บริการล่องเรือรับประทานอาหารค่ำบนเรือแกรนด์เพิร์ล (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: พี เอ็น เค แอนด์ สกาย พริ้นดิ้งส์.

ธงชัย วจะสุวรรณ และเจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้โดรนเพื่อการเกษตรในอุตสาหกรรมเกษตร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 143-157.

ณัฐ อมรภิญโญ. (2556). รูปแบบการประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุมชลบุรี, 9(3), 57-66.

นิพนธ์ พัวพงศกร. (2561). บทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรไทย: อะไรคือกุญแจสำคัญ. ใน การสัมมนาวิชาการเรื่องดังเครื่องการพัฒนาการเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยี (จัดโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ 22 เมษายน 2561). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2567 จาก https://www.pier.or.th/wpcontent/uploads/2018/04/Workshop2018_Agri_Nipon_session1.pdf

ปราณปรียา ดาวศิริโรจน์. (2565). การศึกษาวิจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุน Gamefi ของผู้บริโภคกลุ่มสังคมออนไลน์ในประเทศไทย (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศยามล สืบเนื่อง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท นันยาง การ์เม้นท์ จำกัด กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: (Marketing Management) ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.

สิริรัตน์ พิชิตพร. (2546). ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรจังหวัดลำพูน (การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. (2567). ไทยครองตำแหน่ง "ส่งออกสินค้าเกษตร FTA" อันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 7 ของโลก รัฐบาลพร้อมสนับสนุนทุกภาคส่วนเพิ่มรายได้เกษตรกรไทยด้วยการตลาดและนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2567 จาก https://nbt2hd.prd.go.th/th

กรุงเทพธุรกิจ. (2566). เกษตรไทย ฝ่าวิกฤติโลก ส่งออก 11 เดือน ทะลุ 1.55 ล้านล้านบาท พุ่ง 22 %. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1048979

Ahmad, N., & Seymour, R. (2008). Defining entrepreneurial activity: Definitions supporting frameworks for data collection. OECD Statistics Working Papers, 2008/01. Paris: OECD Publishing. Retrieved April 26, 2024, from http://dx.doi.org/10.1787/243164686763.

Borlaug, N. (2000). Ending World Hunger: The Promise of Biotechnology and the Threat of Antiscience Activism. Cambridge University Press.

Chapromma, J. (2017). Factors affecting consumer choice of 24-hour fitness center in Bangkok (M.B.A. thesis). Thammasat University.

Chantarat, S., Chawanote, C., Ratanavararak, L., Rittinon, C., Sa-ngimnet, B., & Adultananusak, N. (2022). Financial lives and the vicious cycle of debt among Thai agricultural households. PIER Discussion Paper.

Chantarat, S. et al. (2023). Financial lives and the vicious cycle of debt among Thai agricultural households. The Puey Ungphakorn Institute for Economic Research, Discussion Paper No. 204.

Dess, G., McNamara, G., & Eisner, A. (2016). Strategic Management: Creating Competitive Advantage (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Donkwa, K. (2013). Model of sufficiency economy philosophy and socioeconomics of rural community households in northeastern Thailand (แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสภาวะเศรษฐกิจสังคมของครัวเรือนในชุมชนชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). RMUTP Research Journal, 7(2), 139-153.

Lans, T., Seuneke, P., & Klerkx, L. (2013). Agriculture entrepreneurship. In I. G. Carayannis (Ed.), Encyclopedia of Creativity, Invention, Innovation and Entrepreneurship (pp. 1-6). Berlin: Springer.

Pretty, J. (2008). Sustainable agriculture: A review of the concepts and technologies. Agricultural Systems.

Sangthamthorn, A. (1999). Management in the construction business of the operator in Meuang Nakon Sawan province (master’s thesis). Faculty of Business Administration, Chiang Mai University. [in Thai]

Torrance, E.P. (1962). Guiding of creative talent. New Jersey: Prentice-Hall.