การตัดสินใจการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตพื้นที่ประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตพื้นที่ประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการตัดสินใจการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตพื้นที่ประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ใช้บริการในเขตพื้นที่ประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่ใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ที่พักอาศัยในเขตพื้นที่ประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Random Sampling) จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบค่าสถิติค่าเอฟ (F-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้ SCHEFFE และสถิติ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ ด้านการตัดสินใจ ด้านการค้นหาข้อมูล พฤติกรรมภายหลังการซื้อ และด้านการประเมินทางเลือก ตามลำดับ อีกทั้ง เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการตัดสินใจการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2566). ประกาศกรมการปกครองเรื่องแจ้งข้อมูลทางการปกครอง. สืบค้น 13 มกราคม 2566, จาก https://www.dopa.go.th/news/cate1/view6988.
กัญจนพร ลิ้มผ่องใส. (2564). ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน และคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการบริษัทขนส่งอาหารออนไลน์ของร้านอาหารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
กัญจ์นวีร์ ณ ป้อมเพ็ชร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
กานติมา ธรรมศิริ. (2564). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจคลาวด์คิทเช่นในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
กิตติอำพล สุดประเสริฐ พิชชรัตน์ รื่นพจน์ และวัชระพล วงศ์จันทร์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกใช้แอปพลิเคชันไลน์แมนเพื่อบริการรับส่งอาหาร ในเขตอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 2(2), 51 – 60.
จักรภพ ศิริทัพ. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชั่น Grab ฟู้ดเดลิเวอรี่ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ.
ชัยนันท์ ไชยเสน. (2564). ทำไมธุรกิจร้านอาหารไม่ประสบความสำเร็จและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 16(2), 85 – 96.
ชุติมา นัยนิตย์. (2564). แรงจูงใจด้านความเพลิดเพลินในการเลือกสินค้าและบริการในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันกลุ่ม Gen Y. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
ณัฐกฤษ เชาว์ชาญกิจ. (2564). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
ดวงใจ คงคาหลวง พงษ์สันติ์ ตันหยง และวัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์.
นพพงศ์ เกิดเงิน สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล และนรินทร สมทอง. (2564). ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการสั่งซื้ออาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีของผู้ใช้บริการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 3(2), 1 – 19.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: (Marketing Management)ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.
สภาองค์กรของผู้บริโภค. (2566). ปัญหาของผู้บริโภคจากการใช้บริการสั่งอาหาร Food Delivery. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566, จาก https://www.tcc.or.th/appeal.
อุษา โบสถ์ทอง และคณะ. (2566). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery ของผู้ใช้บริการในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการจัดการและการพัฒนา, 10(1), 185 – 204.
Anbumathi, R., Dorai, S., & Palaniappan, U. (2023). Evaluating the role of technology and non-technology factors influencing brand love in Online Food Delivery services. Journal of Retailing and Consumer Services, 71(1), 103181.
Bryman, A., & Bell, E. (2022). Business research methods (6th ed.). Oxford, UK: Oxford University Press.
Cronbach, L. J. (2003). Essential of psychology testing. New York: Harper.
Eberl, J. M., Huber, R. A., Mede, N. G., & Greussing, E. (2023). Populist attitudes towards politics and science: how do they differ?. Political Research Exchange, 5(1), 2159847.
Glimcher, P. W., & Tymula, A. A. (2023). Expected subjective value theory (ESVT): A representation of decision under risk and certainty. Journal of Economic Behavior & Organization, 207(1), 110-128.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Petrontino, A., Frem, M., Fucilli, V., Labbate, A., Tria, E., & Bozzo, F. (2023). Ready-to-eat innovative legumes snack: The influence of nutritional ingredients and labelling claims in italian consumers’ choice and willingness-to-pay. Nutrients, 15(7), 1799.
Smith, J. (2022). Strategic marketing factors and decision-making process: A guideline for evaluation. New York, NY: Marketing Press.
Solomon, M. R. (2023). Consumer behavior: Buying, having, and being (14th ed.). Hoboken, NJ: Pearson.
Steele, E. M., O’Connor, L. E., Juul, F., Khandpur, N., Baraldi, L. G., Monteiro, C. A., & Herrick, K. A. (2023). Identifying and estimating ultraprocessed food intake in the US NHANES according to the Nova classification system of food processing. The Journal of Nutrition, 153(1), 225-241.
Yeo, T. E. D., & Chu, T. H. (2024). Adaptive self-reflection as a social media self-effect: insights from computational text analyses of self-disclosures of unreported Sexual Victimization in a Hashtag Campaign. Social Science Computer Review, 08944393241252640.