ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

อรญา แต้มพิมาย
วิชุดา ธรรมลา
ณัฐภิชา ดวงเกตุ
สาธิยา กลิ่นสุคนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น 2) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนที่สาขาตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 403 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้  T-Test และ F-Test ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอน ในจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านการช่องจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านคุณค่าตราสินค้า ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจในใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นที่มีระดับอาชีพแตกต่างกันมีส่วนประสมทางการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะกายภาพและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนผู้ใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นมีเพศ ระดับการศึกษา อายุ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าในการตัดสินใจใช้บริการร้านคาเฟ่อเมซอนในจังหวัดขอนแก่นโดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทอฝัน ยางสูง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟ ร้านคาเฟ่อเมซอน สาขาศูนย์ราชการ

เฉลิมพระเกียรติ. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154063.pdf

นันทสารี สุขโต. (2555). การตลาดระดับโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

วิทยา จารพงศ์โสภณ. (2557). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์ Strategic Brand management. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แปลนสารา.

ศัสยมน ศีตลาวัชรพล และสายพิณ ปั้นทอง. (2565). อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่ม

กาแฟ สดจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาปณิธาน, 7 (1), 195-208.

ศิรประภา นพชัยยา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟจากร้านคาเฟ่อเมซอนในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และปณิศา มีจินดา. (2554). การบริหารตราเชิงกลยุทธ์และการสร้างคุณค่าตราสินค้า. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสาร.

Brandbuffet. (2566). Cafe Amazon ปีนี้เปิดเพิ่ม 400 สาขา ทำยอดขายวันละ 1 ล้านแก้ว. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2023/07/cafe-amazon-plan-to-open-400-new-stores-in-2023

Cafe Amazon. (2566). ร้านและสาขาอเมซอน. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.cafe-amazon.com/ourbranch.aspx

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). New Jersey : Pearson Education South Asia PTe Ltd

Kukanja, M., Gomezelj Omerzel, D., and Kodric, B. (2017). Ensuring restaurant quality and guests’ loyalty: an integrative model based on marketing (7P) approach. Total Quality Management & Business Excellence Journal, 28 (13-14), 1509-1525.

The Standard. (2566). เป็นผู้ตามไล่ล่าผู้นำสนุกกว่า เปิดแผน ‘กาแฟพันธุ์ไทย’ กับการสร้างการเติบโตก่อนจะเข้า

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ใน 2568. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://thestandard.co/phun-thai-coffee-strategy.