ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อ Smartphone แบรนด์ Apple ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฯและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดกับการรับรู้แบรนด์สินค้าของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านภาพลักษณ์องค์กรกับการรับรู้แบรนด์สินค้าของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านการรับรู้แบรนด์สินค้ากับการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้า smartphone แบรนด์ Apple ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่าน Google form ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่าการส่งเสริมการตลาด ภาพลักษณ์องค์กร การรับรู้แบรนด์ อยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่การตัดสินใจซื้อสินค้าอยู่ในระดับมาก
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดที่มีคะแนนความคิดเห็นของผู้บริโภคสูงที่สุดคือการมีส่วนลดเมื่อผ่อนชำระด้วยบัตรเครดิต ส่วนการส่งเสริมการตลาดที่ผู้บริโภคให้ความสนใจต่ำคือการส่งเสริมที่หลากหลาย เช่น ส่วนลดร่วมเครือข่าย ปัจจัยด้านภาพลักษณ์องค์กรที่มีคะแนนความคิดเห็นของผู้บริโภคสูงที่สุดคือชื่อบริษัท Apple ที่จดจำได้ง่าย ส่วนที่มีคะแนนต่ำคือสินค้าของบริษัท Apple ทำให้ท่านมีความประทับใจ และปัจจัยด้านการรับรู้แบรนด์สินค้าที่มีคะแนนความคิดเห็นของผู้บริโภคสูงที่สุดคือการจดจำตราสินค้า Apple ได้ดี ส่วนที่มีคะแนนต่ำคือการนึกถึงแบรนด์ Apple เป็นอันดับแรกเมื่อซื้อ Smartphone ปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อที่มีคะแนนความคิดเห็นของผู้บริโภคสูงสุดคือการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ ส่วนคะแนนต่ำคือ เกิดการตัดสินใจซื้อเมื่อเกิดความจำเป็นในการใช้ผลิตภัณฑ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ใน วารสารนวัตกรรมการจัดการและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง กองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนในความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดที่เกี่ยวข้องกับบทความดังกล่าว
References
ชนัฏมาศ สุจริตธรรม และพุฒิพัฒน์ ทวีวชิรพัฒน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนแบรนด์
Apple ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารการตลาด, 7(2), 45-60.
จันทร์ประภาส, เยาวภา ปฐมศิริกุล และบัณฑิต รัตนไตร. (2566). การตัดสินใจทางการตลาดสำหรับการ
ประกอบธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(4), 71-82.
ฉกาจ ชลายุทธ. (2564). เรียนรู้การตลาดแบบ Apple ที่ทำออกมาก็ชนะคู่แข่งอยู่ทุกครั้ง. สืบค้นจาก
https://www.marketingoops.com/exclusive/inspiration/apple-marketing-secret/
ฉัตรชัย พิศพล และคณะ. (2563). การวิเคราะห์การรับรู้แบรนด์สินค้าต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟน. วารสาร
บริหารธุรกิจ, 10(1), 25-39.
ธนาธิป ตรีบวรสมบัติ. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม
ในประเทศไทย. วารสารวิจัยการบริหารจัดการ, 15(3), 50-75.
ธีรพัฒน์ เอี่ยมลออ. (2564). ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ความไว้วางใจ และคุณภาพสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ
ของผู้บริโภคสินค้ากูลิโกะในเขตกรุงเทพมหานครฯ. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการ
จัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎ
อุบลราชธานี.
พงษ์พันธ์ นารีน้อย และคณะ. (2566). การสร้างภาพลักษณ์เชิงสัญลักษณ์ของแบรนด์: กรณีศึกษาแบรนด์
Apple. วารสารการจัดการธุรกิจและนวัตกรรม, 8(4), 67-85.
พชร อารยะการกุล. (2565). ถอดกลยุทธ์ของ Apple ที่เปิดตัวอะไรคนก็ยังให้ความสนใจ. สืบค้นจาก
https://blog.cariber.co/post/apple-strategy
แพรวพรรณราย พิณเพ็ชร. (2565). การรับรู้แบรนด์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). Consumer Buying Process. สืบค้นจาก
https://www.popticles.com/marketing/consumer-buying-process/
ฤทธิ์เดชา ตาบุญใจ. (2562). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดสำหรับสมาร์ทโฟนในประเทศไทย.บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
วัลลี คำสมนึก. (2564). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข
กาฬสินธุ์จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรชัย พิศาลบุตร. (2550). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2563). การทำงานรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ: ประเด็นความท้าทายใหม่
ของการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรในยุคประเทศไทย 4.0. Journal of Business, Innovation
and Sustainability (JBIS), 12(2), 9-22. สืบค้นจาก
https://so02.tcithaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/80539
RASSARIN. (2563). ย้อนรอย 13 เรื่องของ iPhone อุปกรณ์ที่เปลี่ยนโฉมการสื่อสารและพฤติกรรมของผู้คน
ทั่วโลก. สืบค้นจาก https://www.brandbuffet.in.th/2020/01/13-things-about-iphone-after-
-years-was-launched/
Rustic. (2022). Thailand 1st Tier iPhone 14 Series. สืบค้นจาก https://droidsans.com/thailand-
st-tier-iphone14-series/
Serotonin. (2565). สตีฟ จ็อบส์: เรื่องเล่ารำลึกเส้นทางประวัติ สตีฟ จ็อบส์ ในวันที่ iPhone มาถึงรุ่นที่ 14.
สืบค้นจาก https://www.finnomena.com/mrserotonin/steve-jobs-14th/
PPTV. (2566). เปิดสถิติ แบรนด์สมาร์ตโฟนที่ครองใจชาวไทยมากสุด ไตรมาส 3 ปี 2566. สืบค้นจาก