นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis <p><strong>วารสารนวัตศาสตร์สหวิทยาการ (Journal of Innovative Interdisciplinary Sciences)</strong></p> <p>จัดตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการของอาจารย์ นักศึกษา ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กับสถาบันการศึกษาอื่นหรือองค์กรอื่นใดที่มีวัตถุประสงค์คล้ายกัน</p> <p><strong>ชื่อวารสาร </strong></p> <p>ภาษาไทย : นวัตศาสตร์สหวิทยาการ</p> <p>ภาษาอังกฤษ : Journal of Innovative Interdisciplinary Sciences</p> th-TH luxlek@hotmail.com (Luksamee Ngammeesri) hitun.s@nsru.ac.th (Hirun Sripintusorn) Mon, 28 Apr 2025 10:38:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้ายของผู้โดยสาร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1700 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางสุดท้ายของผู้โดยสาร โดยมุ่งเน้นผู้โดยสารที่มีประสบการณ์ใช้บริการเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry ของบริษัท ไทย สมายล์ โบ้ท กลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 โดยใช้โปรแกรม G*Power ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรวัดลิเคิร์ท 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยดัชนีความสอดคล้อง และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการยอมรับการใช้บริการคือทัศนคติต่อการใช้บริการ รองลงมาคือการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และการรับรู้ถึงความสะดวกสบายในการใช้งาน ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายความผันแปรในการยอมรับการใช้บริการได้ร้อยละ 21.2 (R²adj = 0.212) นอกจากนี้ ปัจจัยด้านความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและความเพลิดเพลินในการเดินทางยังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ถึงความสะดวกสบายและการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ การวิจัยนี้มีคุณค่าในการนำไปใช้กำหนดแนวทางพัฒนานโยบายและปรับปรุงบริการเพื่อส่งเสริมการใช้เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าและสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว</p> Thadathibesra Phuthong Copyright (c) 2025 นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1700 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 การจัดการความรู้และด้านการผลิตแปรรูปสินค้าเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกร ในชุมชน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1704 <p style="font-weight: 400;">This research aims to (1) study the knowledge management of agricultural product processing for farmer groups in the community of Phanom Sarakham District, Chachoengsao Province; (2) study the production and processing of agricultural products for farmer groups in the community of Phanom Sarakham District, Chachoengsao Province; and (3) study the knowledge management model and the production and processing of agricultural products for farmer groups in the community of Phanom Sarakham District, Chachoengsao Province.</p> <p style="font-weight: 400;">This research used the qualitative participatory action research process. The research results found that 1. The farmer groups in the community focused on participating in exchanging knowledge on growing more vegetables and helping each other find ways to produce and process organic vegetables into vegetable sheets, which have an easy-to-do processing process. 2. The farmer groups in the community planned the processing by finding raw materials in the community to process into vegetable sheets and helped each other improve the production formula to make them taste better and more colorful. And 3. The farmer groups have the following models: 1. Planning the production and processing of agricultural products to add value to community products. 2. Using available resources from growing organic vegetables to process them. and 3. Paying attention to the quality of products and production.</p> ผศ.ดร.พิพรรธน์ พิเชฐศิรประภา Copyright (c) 2025 นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1704 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1661 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 และ 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญในการศึกษาการบริหารและปัญหาในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ได้แก่ 1.กลุ่มงานช่วยอำนวยการ 2.กลุ่มงานคลัง 3.กลุ่มงานคดี 4.กลุ่มงานนิติการและไกล่เกลี่ยประนอม และแนวทางในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ 1.กลุ่มผู้บริหาร 2.กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และ 3.กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และวิธีการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li class="show">การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบไปด้วย 1.1 หลักนิติธรรม มีการเผยแพร่ รวมถึงทบทวน ปรับปรุง เรื่องกฎ ระเบียบของหน่วยงาน แก่ผู้รับบริการและประชาชน ทั่วไป ที่มารับบริการ 1.2 หลักคุณธรรม มีการกำหนดจรรณยาบรรณของหน่วยงานและของข้าราชการภายในสำนักงานศาลแรงงานภาค มีการสร้างระบบเครือข่ายการส่งเสริมหลักคุณธรรมระหว่างหน่วยงานต่างๆ และกลุ่มภายในสำนักงาน 1.3 หลักความโปร่งใส มีการสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานรวมถึงสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน มีระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1.4 หลักการมีส่วนร่วม มีการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ตลอดจนมีการสร้างหลักประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนร่วม 1.5 หลักความรับผิดชอบ มีการสร้างจิตสำนึกเรื่องความรับผิดชอบของตนเอง มีมาตรฐานหรือข้อกำกับความประพฤตินักบริหาร 1.6 หลักความคุ้มค่า มีการลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และกำหนดเป้าหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงาน</li> <li class="show">ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบไปด้วย 1.1 หลักนิติธรรม พื้นฐานความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบต่างๆของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานไม่เท่ากัน การฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจ ในหลักนิติธรรม ยังดำเนินการไม่เพียงพอ 1.2 หลักคุณธรรม ปัญหาการสร้างระบบเครือข่ายและการส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรมระหว่างหน่วยงานและกลุ่มงาน 1.3 หลักความโปร่งใส ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลในเชิงลึกบางกลุ่มงานไม่สามารถเข้าถึงได้ การถูกจำกัดด้วยข้อกฎหมาย 1.4 หลักการมีส่วนร่วม ปัญหาด้านการกระจายอำนาจ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างทัศนคติ การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ 1.5 หลักความรับผิดชอบ ปัญหาด้านการนำหลักธรรมาภิบาลหลักความรับผิดชอบมาใช้ในการบริหารงานยังไม่ชัดเจน 1.6 หลักความคุ้มค่า ปัญหาด้านอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การใช้ทรัพยากรที่มีของกลุ่มงานบางกลุ่มงานยังไม่ชัดเจน</li> <li class="show">แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานศาลแรงงาน ภาค 6 ในแต่ละด้านประกอบด้วย 3.1 หลักนิติธรรม ต้องมีการพัฒนาพื้นฐานความรู้และการพัฒนาด้านกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานให้มีความสอดคล้องกันในแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทุกกลุ่มงานเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความรู้ หลักนิติธรรม หลักประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาลที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาลแรงงาน ภาค 6 คือ หลักการ หลักเกณฑ์ หลักฐาน 3.2 หลักคุณธรรม เพิ่มการสร้างระบบเครือข่ายและการส่งเสริมหลักคุณธรรม จริยธรรมระหว่างหน่วยงานและกลุ่มงาน ปลูกฝังการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรภายในองค์กร โดยมีตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 3.3 หลักความโปร่งใส รักษามาตรฐานการดำเนินงานด้านความโปร่งใสให้อยู่ในระดับดีมากและรักษาวัฒนธรรมในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ 3.4 หลักการมีส่วนร่วมให้มีการจัดรูปแบบการดำเนินงานกระจายอำนาจ การบริหารในหน่วยงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ให้มีการเปิดช่องทางในการแก้ไขปัญหา 3.5 หลักความรับผิดชอบ จัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับบุคลากรให้มีความตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจัดบุคลากรให้ตรงกับความรู้ความสามารถตามภารกิจงานตามหน้าที่รับผิดชอบ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน 3.6 หลักความคุ้มค่า ปรับโครงสร้างและอัตรากำลัง หมุนเวียนงานเพื่อให้การปฏิบัติงานและพัฒนาบุคลากรเป็นไปมีประสิทธิภาพเพิ่มการวางแผนเชิงระบบเพื่อวิเคราะห์ เป้าหมาย การวางแผน ให้มีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ใช้ทรัพยากรรวมถึงบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงาน</li> </ol> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>แนวทางการพัฒนา, หลักธรรมาภิบาล</p> <p><strong>ประเภทบทความ: </strong>บทความวิจัย</p> <p>&nbsp;</p> Phairoj Bangsriwong Copyright (c) 2025 นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1661 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อวัสดุ ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1578 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์และ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนางานด้านการจัดซื้อวัสดุในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า</p> <ul> <li class="show">กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (86.67%) และมีการศึกษาระดับปริญญาโท (50.00%) อย่างไรก็ตาม พบข้อจำกัดด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีเพียง 33.33% ที่มีความรู้ในระดับมากและมากที่สุด ขณะที่ 36.67% มีความรู้น้อยและน้อยที่สุด นอกจากนี้ ความเข้าใจในระบบ e-GP ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยมีเพียง 26.67% ที่มีความรู้สูงสุด และบุคลากรส่วนใหญ่ (60.00%) ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านพัสดุ ส่งผลให้การดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ</li> <li class="show">ปัญหาหลักที่พบในการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย e-GP สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ข้อจำกัดด้านองค์ความรู้และการปฏิบัติงาน โดยพบว่ามีปัญหาด้านความเข้าใจในกฎหมาย ระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงาน รวมถึงการจัดทำทะเบียนประวัติผู้ขายที่ยังไม่มีระบบมาตรฐาน (2) ข้อจำกัดด้านระบบและเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยปัญหาความซับซ้อนของระบบ e-GP การเชื่อมต่อระบบที่มีข้อขัดข้อง และการบันทึกบัญชีวัสดุที่ไม่มีมาตรฐานแน่นอน และ (3) ข้อจำกัดด้านการจัดสรรงบประมาณและการวางแผน โดยพบว่าการจัดสรรงบประมาณยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน และขาดการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ใช้งบประมาณและผู้ปฏิบัติงานจัดซื้อ</li> <li class="show">แนวทางการพัฒนาควรใช้หลัก PDCA และ 5R เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีแนวทางสำคัญ ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานให้เป็นระบบ การปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ การตรวจสอบและประเมินผลกระบวนการจัดซื้อ และการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อพัฒนาต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพเหมาะสม การจัดซื้อในเวลาที่เหมาะสม การกำหนดราคาที่สมเหตุสมผล การสั่งซื้อในปริมาณที่พอดี และการเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพ</li> </ul> <p>สรุปได้ว่า การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบ e-GP ของคณะวิทยาการจัดการยังมีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทั้งด้านองค์ความรู้ ระบบเทคโนโลยี และการบริหารงบประมาณ แนวทางการพัฒนาควรมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการ และพัฒนาทักษะบุคลากรผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> วรวีร์ บุญสิน Copyright (c) 2025 นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1578 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700 ระบบสารสนเทศการบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1710 <p><strong>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารสินค้าคงคลัง และประเมินประสิทธิภาพของระบบสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (</strong><strong>SMEs) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้เเชี่่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) ระบบสารสนเทศการบริหารสินค้าคงคลัง และ (2) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบ ระบบพัฒนาด้วย Odoo (Open Source) โดยออกแบบให้รองรับการจัดเก็บข้อมูลสินค้าคงคลัง การจัดการคำสั่งซื้อ การติดตามสินค้า และการแจ้งเตือนสถานะ พร้อมจัดการฐานข้อมูลด้วย PostgreSQL เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</strong></p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในระดับมาก ( = 4.28, SD = 0.57) โดย ด้านความถูกต้องของระบบมีคะแนนสูงสุด ( = 4.40, SD = 0.51) รองลงมาคือ ด้านความสามารถของระบบ ( = 4.34, SD = 0.48) ด้านการรักษาความปลอดภัย ( = 4.20, SD = 0.84) และ ด้านความง่ายในการใช้งาน ( = 4.16, SD = 0.45) สอดคล้องกับแนวคิด SDLC ที่ช่วยให้ระบบมีโครงสร้างที่ชัดเจนและสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ควรปรับปรุง อินเทอร์เฟซให้ใช้งานง่ายขึ้น และ เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่ออรองรับการใช้งานระยะยาวและเพิ่มความน่าเชื่อถือของระบบ</p> Jatsada Singthongchai Copyright (c) 2025 นวัตศาสตร์สหวิทยาการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jiis/article/view/1710 Mon, 28 Apr 2025 00:00:00 +0700