วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd th-TH ่jamsdonline@gmail.com (จันทร์สิรี บิดร) ่jamsdonline@gmail.com (จันทร์สิรี บิดร) Mon, 31 Mar 2025 16:28:01 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 เศรษฐศาสตร์มูเตลู ธุรกิจบนฐานความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1446 <p>ธรรมชาติของมนุษย์มีความหวังและความปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งนอกจากความพากเพียรพยายามและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว การพึ่งพาศรัทธาและความเชื่อก็เป็นอีกหนึ่งทางที่มนุษย์นิยมใช้สร้างความมั่นใจ ธุรกิจความเชื่อที่หลอมรวมความเชื่อพุทธ พราหมณ์ การนับถือผี และสิ่งเร้นลับเข้าด้วยกัน จึงเป็นอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งที่มีบทบาทไม่น้อยในระบบเศรษฐกิจของไทย บทความเศรษฐศาสตร์มูเตลูว่าด้วยธุรกิจบนฐานความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยนี้จึงมุ่งนำเสนอประเด็นธุรกิจความเชื่อกับการสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจไทย ผ่านกระบวนการกลายเป็นสินค้าความเชื่อ ความศรัทธาที่มีการเสริมสร้างความหมายและเอกลักษณ์ โดยศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธา โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มีต่อสิ่งที่ทำการศึกษา โดยเน้นวิเคราะห์ข้อมูล<br />โดยการตีความปรากฎการณ์ทางสังคมโดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ของกรอบแนวความคิดจากฐานคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง จนเกิดการศรัทธานำมาซึ่งการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผลักดันให้เกิดธุรกิจความเชื่อและการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อความศรัทธาในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ธุรกิจความเชื่อความศรัทธา สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มิได้เป็นเพียงที่พึ่งทางจิตใจแต่ยังเป็นสินค้าที่สำคัญระบบเศรษฐกิจ เมื่อความเชื่อความศรัทธาแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุสิ่งของที่มนุษย์เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จนสามารถช่วยให้มนุษย์ได้ประโยชน์จากการครอบครองหรือกราบไหว้บูชา จึงเกิดเป็นกลไกการทำให้กลายเป็นสินค้าด้วยการผลิตสินค้าศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ได้กำไร และเกิดกระบวนการแปลงมูลค่าความศักดิ์สิทธิ์เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน</p> สุริยะ หาญพิชัย Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1446 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1470 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้โปรแกรม google form ทางอีเมล์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รองลงมา คือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง และการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการรักษาวินัยและการออกจากราชการ 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร คือ ผู้บริหารควรจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการบริหารอัตรากำลังที่มีการประชุมติดตามทุก 3 เดือน ควรพัฒนาระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมที่มีโครงสร้างคำถามและเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน ควรจัดทำฐานข้อมูลผู้มีสิทธิ์ขอพระราชทานเครื่องราชฯ แบบดิจิทัลแพลตฟอร์มและควรวางแผนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ก่อนเกษียณอย่างเป็นระบบ</p> ชรินรัตน์ ดาวษาวะ, ชารี มณีศรี, สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1470 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1493 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามด้านการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยภาพรวมเป็นความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์เป็นรายด้าน พบว่า การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาในทางบวกทุกด้าน</p> ปรีญาวิรุฬห์ เหล่ากสิการ, ฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ, นันธวัช นุนารถ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1493 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มหนองหาน 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1502 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มหนองหาน 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้โปรแกรม google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1<strong>. </strong>ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การตั้งวัตถุประสงค์ รองลงมา คือ กำหนดทิศทาง และกำหนดกลยุทธ์ตามวิสัยทัศน์และจุดประสงค์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติและดำเนินกลยุทธ์ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ประเมินจุดแข็งและศักยภาพขององค์กรเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ที่ยืดหยุ่น ใช้เทคโนโลยีและระบบข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจ จัดการอบรมและส่งบุคลากรเข้าร่วมการประชุมภายนอก จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล สร้างระบบพี่เลี้ยง เชื่อมโยงการพัฒนาทักษะกับความก้าวหน้าในวิชาชีพ จัดตั้งกล่องและคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็น รวมถึงนำผลการประเมินมาสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบผ่านหลากหลายช่องทาง</p> ฐาปนพงศ์ อินทรพาณิชย์, กิจพิณิฐ อุสาโห, สุรางคณา มัณยานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1502 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 Leadership in the decision-making behavior of educational institution administrators at Guangdong Open University https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1477 <p>The rapid advancement of technology and the increasing complexity of educational governance have created significant challenges for administrators in higher education institutions. Many leaders struggle to adapt to digital transformations, effectively integrate technology into institutional management, and foster an environment conducive to continuous learning and development. Addressing these challenges requires a profound understanding of transformational leadership competencies and their impact on institutional success. The goals of this study are to 1. look into the transformational leadership skills that school administrators need in a technology-driven environment, 2. look into the link between transformational leadership skills and institutional performance, and 3. come up with ways to make leadership more effective in the digital age. This mixed-method research combines qualitative and quantitative approaches. The research instruments included questionnaires and semi-structured interviews. The sample group for the quantitative study consisted of 100 administrators, including department heads, deans, and senior leaders, selected using stratified random sampling. The sample size was calculated using the Taro Yamane formula at a 0.05 error level. Data collected from the questionnaires were analyzed using descriptive statistics, including percentages, means, and standard deviations, and inferential statistics, such as the t-test and the F-test. For the qualitative study, 20 executives were selected for in-depth interviews, and the data were analyzed using content analysis. The results indicated that administrators demonstrated strong transformational leadership skills, with an average competency score of 4.2 out of 5. Intellectual stimulation received the highest score (mean = 4.5), while individual consideration scored the lowest (mean = 3.8). A significant positive correlation (r = 0.68, p &lt; 0.01) was identified between leadership skills and institutional performance indicators, such as student satisfaction and faculty engagement. Qualitative findings highlighted key themes, including adaptability to technological changes, the importance of collaborative leadership, and the need for ongoing professional development in digital skills.</p> Ntapat Worapongpat Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1477 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1475 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด จำนวน 103 คน จำแนกเป็น ข้าราชการครู จำนวน 8 คน พนักงานราชการ/จ้างเหมาฯ จำนวน 95 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนตามสัดส่วน และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ google form ทางอีเมล์ 98 คน คิดเป็นร้อยละ 95.15 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 <br />ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาพบว่า <br />ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ รองลงมา คือ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประเมินวิสัยทัศน์ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกลุ่มโซนรักษ์ชะโนด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดประชุม<br />ระดมสมองจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายแต่เป็นไปได้ ควรสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย<br />และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ใช้สื่อที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย ควรให้รางวัลและยกย่องผู้ที่ปฏิบัติงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ ปรับโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ ควรกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดผลได้จริง และนำผล<br />การประเมินมาปรับปรุงวิสัยทัศน์และกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอ</p> วิภาพร คำมุงคุณ, อมรทิพย์ เจริญผล, สุรางคณา มัณยานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1475 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 From transparency to trust: Key determinants of corruption perception in Thailand https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1568 <div class="ms-Grid-row"> <div class="ts-textfield-container " lang=""> <div class="ts-alignment-view-container"> <div id="ts-alignment-view-idsrc" class="ts-alignment-view ms-font-m ts-alignment-view-src ts-ltr-left-zero" tabindex="-1" aria-hidden="true"> <p>This study examines public perceptions of corruption in Thailand using a qualitative research approach, incorporating in-depth interviews and thematic analysis to identify key influencing factors. Participants were selected through purposive sampling, including citizens with government service experience, policymakers, journalists specializing in corruption, and legal experts in anti-corruption efforts. The findings indicate that factors shaping corruption perceptions include government transparency, law enforcement, citizen participation, and the media’s role. Additionally, social media plays a crucial role in disseminating corruption-related information, though it can sometimes lead to exaggerated perceptions or misinformation, affecting public trust in the government. The insights from this study provide practical implications for enhancing government transparency through improved information disclosure policies, leveraging technology to minimize corruption risks, and strengthening the role of media and civil society in monitoring government accountability.</p> </div> </div> </div> </div> Patipol Homyamyen, Waiphot Kulachai Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1568 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1478 <p>ในปัจจุบันสังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพฤติกรรมการบริโภคและการดูแลสุขภาพ ปัญหาโรคอ้วนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้กลายเป็นความท้าทายสำคัญของสังคม ส่งผลให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพและการควบคุมน้ำหนักมากขึ้น งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ<br />การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักในยุคดิจิทัลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นงานวิจัย เชิงปริมาณ และประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7Ps แนวคิดเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล แนวคิดและทฤษฎีการตัดสินใจซื้อ แนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร และแนวคิดเกี่ยวกับสมุนไพรลดน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้มาจากกระบวนการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอนเริ่มจากการแบ่งโควตากลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนจำนวนประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 จังหวัด และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Snowball Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยนําข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ เพื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า เพศหญิงมีแนวโน้มตัดสินใจซื้อมากกว่าเพศชาย โดยปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7Ps ด้านการส่งเสริมการตลาด ลักษณะทางกายภาพ และราคา มีอิทธิพลเชิงบวก และด้านกระบวนการมีอิทธิพลเชิงลบ ส่วนปัจจัยทางการตลาดดิจิทัล ด้านสื่อสังคมออนไลน์ การปรับแต่งเว็บไซต์และการทำการตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา (SEO/SEM) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักมากที่สุด</p> วิธ นิธิศักดาเดช, อัมภิณี ลาภสมบูรณ์ดี Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1478 Mon, 31 Mar 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรส่วนกลางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1530 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรส่วนกลางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรส่วนกลางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในหน่วยงานส่วนกลางของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มาโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน จำนวน 317 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่าระดับความสุขของบุคลากรส่วนกลางกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์อยู่ในระดับมาก ระดับความสุขที่มากที่สุดคือการอยู่ร่วมกันกับสังคมอย่างสงบสุข ผลลัพธ์การวิจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข โดยมี 6 องค์ประกอบ อยู่ในระดับมากและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุข ประกอบด้วย 4 ปัจจัย หลัก คือ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร สวัสดิการและผลประโยชน์ นโยบายและการบริหารจัดการ และความก้าวหน้าในการทำงาน โดยปัจจัยทั้งสี่ด้านมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจพหุคูณ (R<sup>2</sup>) เท่ากับ 0.698 ซึ่งสามารถทำนายความสุขของบุคลากรในกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ได้ถึงร้อยละ 69.80 โดยเขียนเป็นสมการถดถอยเชิงเส้น Y = 1.421 + 0.226 (วัฒนธรรมองค์กร) + 0.149 (สวัสดิการ)+ 0.138 (นโยบาย/การบริหารจัดการ) + 0.099 (ความก้าวหน้าในการทำงาน) ทั้งนี้ องค์กรและผู้บริหารสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุขได้</p> รุจิราพร แตงผึ้ง, ชัยมงคล สุพรมอินทร์, ปรรฐมาศ์ พสิษฐ์ภคกุล Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1530 Wed, 02 Apr 2025 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1529 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการการเยี่ยมผู้ต้องขังผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี ตามปัจจัยส่วนบุคคลของญาติต้องขัง จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความสัมพันธ์กับผู้ต้องขัง และภูมิลำเนาของผู้ต้องขัง โดยเปรียบเทียบคุณภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ ด้านความตอบสนองต่อประชาชน ด้านการให้ความมั่นใจแก่ประชาชน และด้านการเข้าใจและรู้จักประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ญาติของผู้ต้องขังของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 320 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน ได้แก่ ผู้บริหาร 2 คน ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน และญาติผู้ต้องขัง 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการเยี่ยมผู้ต้องขังด้วยแอปพลิเคชันไลน์ของทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของญาติผู้ต้องขังตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภูมิลำเนา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเปรียบเทียบตามปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับผู้ต้องขัง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ยุพาพร สาระเวก, ชัยมงคล สุพรมอินทร์, มณิภัทร์ ไทรเมฆ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1529 Wed, 02 Apr 2025 00:00:00 +0700 การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1491 <p>การบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เผชิญความท้าทายจากการพัฒนาด้าน ICT และสิทธิมนุษยชน โรงเรียนจึงต้องปรับตัวในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สร้างความสามัคคี และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนและความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลผ่าน google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับทางการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดหนองบัวลำภู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร คือ ควรพัฒนาระบบการรับฟังความคิดเห็น เช่น ทำแบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ ควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานแบบมีส่วนร่วมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเขียนและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน ควรพัฒนาระบบการจัดสรรผลตอบแทนที่เป็นธรรม สร้างเกณฑ์การพิจารณาผลตอบแทนที่ชัดเจนและโปร่งใส และควรพัฒนาระบบการประเมินผลแบบ 360 องศา ให้บุคลากรทุกระดับมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน</p> ขจรรักษ์ พินิจนึก, ชารี มณีศรี , สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1491 Wed, 02 Apr 2025 00:00:00 +0700 การร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยของท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1546 <p>การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยของเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (2) ศึกษาการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยระหว่างเทศบาลกับชุมชนในพื้นที่ (3) วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัย และ (4) เสนอแนวทางพัฒนาการร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัย โดยใช้ระเบียบวิธิวิจัยเชิงคุณภาพ มีเทคนิคการวิจัย คือ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยจำนวน 5 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 7 คน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยจำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 37 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1.1) ก่อนเกิดภัย เป็นการเตรียมพร้อม เพื่อลดผลกระทบและความสูญเสียในพื้นที่ (1.2) ขณะเกิดภัย เมื่อสถานการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ เทศบาลต้องจัดการปัญหาให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว (1.3) ขั้นตอนหลังเกิดภัย เป็นการฟื้นฟูและสำรวจความเสียหาย (2) ชุมชนเข้ามาร่วมผลิตด้านการจัดการอุทกภัยในฐานะผู้ได้รับผลกระทบ และรับรู้ถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ที่สามารถขยายความเสียหาย หากไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ทันท่วงที (3) การร่วมผลิตด้านการจัดการภัยพิบัติอุทกภัยพบว่า เทศบาลไม่สามารถจัดการปัญหาด้วยตนเองเมื่อเผชิญเหตุ เพราะไม่มีทรัพยากรและมีข้อจำกัดด้านอำนาจหน้าที่ และ (4) การจัดการภัยพิบัติอุทกภัยที่ยั่งยืนต้องเกิดจากความตระหนัก และร่วมถอดบทเรียนเพื่อสร้างชุมชนที่สามารถอยู่ร่วมกับภัย </p> ศิเรมอร ยงพานิช Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1546 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 การดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1562 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในกลุ่มสหวิทยาเขตเทสรังสี จำนวน 103 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า <strong><br /></strong>1. สภาพการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการกระจายตัวน้อย เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ รองลงมา คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ มาตรการป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปรามภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ มาตรการป้องกัน ปลูกฝังและปราบปรามภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาพกายและจิตใจ 2. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของผู้บริหาร คือ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และทักษะทางสังคมให้แก่นักเรียน ควรตรวจสอบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ควรจัดตั้งช่องทางรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นความลับ และปลอดภัย และควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจให้แก่นักเรียนและบุคลากร</p> วุฒิศาสตร์ เทพอินแดง, อมรทิพย์ เจริญผล Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1562 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1523 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ปัจจัยทางการบริหารและประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 จำนวน 218 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการบริหารองค์การของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านหลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักคุณธรรม และหลักความโปร่งใส มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนหลักการมีส่วนร่วม มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นหลักความคุ้มค่า โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้ร้อยละ 84.60 ปัจจัยทางการบริหารองค์การ ด้านงบประมาณ ด้านวิธีการทำงาน และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านบุคลากร มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของสำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้ร้อยละ 92.50</p> ศษพร แก้วลา, สามารถ อัยกร, ชาติชัย อุดมกิจมงคล Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1523 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1486 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 คน โดยทำการสุ่มแบบชั้นภูมิและทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์ google form ทางอีเมล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1<strong>. </strong>ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การยอมให้ รองลงมา คือ การหลีกเลี่ยง การประนีประนอม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเอาชนะ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มอำเภอเพ็ญ 1 มีแนวทางพัฒนา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดให้มีหลักสูตรฝึกอบรมการเจรจาต่อรองและทักษะการโน้มน้าวใจ สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาฝึกฝนทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ควรกำหนดนโยบายและระเบียบข้อบังคับที่เอื้อต่อการใช้วิธีการประนีประนอม ควรส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษาฝึกฝนทักษะการสังเกตและการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดเวทีเสวนา การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และควรพัฒนาทักษะการมองโลกในแง่บวกของตนเองให้มีประสิทธิภาพ โดยสามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ</p> ปุณยวีย์ ศรีเนตร, ชารี มณีศรี, สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1486 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1534 <p>การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน และประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร การมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 268 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ด้านการควบคุมองค์การให้สมดุล และด้านการปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 67.20 ยกเว้น ด้านการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ ด้านการบริหารทรัพยากรองค์การ และด้านการสนับสนุนวัฒนธรรมองค์การที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วน<br />การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองสกลนคร ได้ร้อยละ 45.90 ยกเว้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ</p> สิรินทร์ยา ไพคำนาม, สามารถ อัยกร, ชาติชัย อุดมกิจมงคล Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1534 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 การบริหารงานด้านวิชาการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1479 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานด้านวิชาการศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 88 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามตำแหน่งครู เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางออนไลน์ google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานวิชาการในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษานากลาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านที่สูงสุด คือ ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และรายด้านที่ต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) แนวทางพัฒนา ประกอบด้วย 2.1) ผู้บริหารและครูจัดตั้งคณะทำงานร่วมวิเคราะห์สมรรถนะดิจิทัลสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ 2.2) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัลพร้อมคลังสื่อการสอนที่แบ่งปันได้ 2.3) จัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก พัฒนาแพลตฟอร์มนิเทศออนไลน์ศูนย์เครือข่ายฯ มุ่งพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกผ่านโครงงาน การทดลอง 2.4) สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยพัฒนาระบบนิเทศออนไลน์ การวัดผลประเมินผลที่เป็นมาตรฐาน 2.5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครู และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน</p> ฐิตาพร เที่ยงพร้อม, กิจพิณิฐ อุสาโห, สุรางคณา มัณยานนท์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1479 Thu, 03 Apr 2025 00:00:00 +0700 Building bridges of trust: An exploratory study on factors influencing public trust in government among university students in Thailand https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1583 <p>This paper looks at the factors affecting Thai university students' government confidence. Six main factors public participation, policy implementation efficiency, transparency and communication, accountability and integrity, anti-corruption measures, and crisis management and responsiveness are found by thematic analysis of in-depth interviews with seventeen students from RMUTT, CU, and SSRU. According to statistical analysis, public participation is the most crucial element affecting the evolution of trust, as 82% of respondents think it to be absolutely required. The results underscore the necessity of adopting a different and all-encompassing approach to enhancing public confidence. Specifically, the findings highlight the importance of implementing a comprehensive and varied strategy that includes participatory governance, policy transparency, and effective crisis management. These insights give legislators a meaningful direction for strengthening public trust in government institutions.</p> Khanouthone Phetlasy, Waiphot Kulachai Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1583 Fri, 04 Apr 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการอ่านออกเสียงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษโดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1581 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2.เปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนห้องที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลโพนทอง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t –test ผลการวิจัย พบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 81.21/80.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (75/75) 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ มีความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับวิธีสอนแบบโฟนิกส์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จุลนีย์ ชัยเสริม Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1581 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 Decoding trust: How transparency, political stability, and leadership shape public confidence in government institutions https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1596 <p>This study explores how transparency, political stability, and leadership influence public trust in government institutions through a qualitative approach involving in-depth interviews with 17 diverse key informants. Utilizing thematic analysis and NVivo tools, the research identifies critical themes that highlight the nuanced dynamics of trust-building in governance. Findings reveal that transparency enhances trust by promoting accountability and reducing corruption perceptions; however, excessive transparency without effective communication may lead to confusion and diminished trust. Political stability contributes to institutional confidence through consistent governance and problem-solving, yet excessive stability may result in stagnation if not balanced with adaptability. Leadership emerged as a pivotal factor, demonstrating that ethical and participatory leadership significantly enhances public perception of governance. The study integrates Institutional Trust Theory and Political Legitimacy Theory, proposing a holistic framework where transparency, stability, and leadership interact dynamically to shape public trust. These insights offer valuable guidance for policymakers seeking to strengthen governance by promoting strategic transparency, adaptive stability, and inclusive leadership. Ultimately, this research contributes to the broader academic discourse on governance and trust, offering practical recommendations for building resilient and responsive government institutions that align with societal values and expectations.</p> Duangruedee Eaosinsup, Waiphot Kulachai Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1596 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1548 <p>แผนงานนี้มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รูปแบบวิธีการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์นักวิจัยจำนวน 260 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์นักวิจัยที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตข้อมูลเชิงประจักษ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณ และวิเคราะห์ข้อมูลเขิงเนื้อหาข้อมูลเชิงประจักษ์จากภาพบรรยายกาศการประชุม. ผลการศึกษาที่สำคัญแนวทางเสริมสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการงานวิจัยงานต้นน้ำ ได้แก่ (1) การชี้แจงกรอบแผนงานวิจัยเชิงบูรณา (2) แนวทางจากการวิพากษ์ (ร่าง) แผนงานวิจัยเชิงบูรณาการร่วมกัน (3) แนวทางพัฒนาจากการวิพากษ์ข้อเสนอโครงการเชิงหลักการย่อย ประเด็นที่ 2 การบริหารจัดการงานกลางน้ำ ได้แก่ (1) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเข้าถึงประชาชนเพื่อทำวิจัย (2) การใช้ห้องปฏิบัติการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่เชิงบูรณาการ และ (3) การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องระเบียบวิธีสถิติขั้นสูง ทั้งนี้การบริหารจัดการงานวิจัย งานต้นน้ำ-งานกลางน้ำ ซึ่งส่งผลดีต่อ การจัดการงานปลายน้ำ ได้แก่ (1) การรับรู้เรื่องนวัตกรรมพร้อมใช้ (2) ความพร้อมในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ และ (3) การพร้อมในการยื่นขอคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา</p> วีรชัย คำธร Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1548 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 ส่วนประสมทางการตลาดในรูปแบบ 4C และคุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า ของผู้บริโภคในประเทศจีน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1535 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของส่วนประสมทางการตลาดในรูปแบบ 4C คุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า ของผู้บริโภคในประเทศจีน 2. ส่วนประสมทางการตลาดในรูปแบบ 4C และคุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า ของผู้บริโภคในสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคในประเทศจีนที่เคยซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์เถาเป่า อย่างน้อย 1 ครั้ง ในหนึ่งเดือนที่ผ่าน และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดในรูปแบบ 4C คุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์และการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า อยู่ในระดับมาก 2. ส่วนประสมทางการตลาดในรูปแบบ 4C ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านความต้องการของบริโภค ด้านความสะดวกในการซื้อ และด้านต้นทุนของผู้บริโภค มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ เถาเป่า ของผู้บริโภคในประเทศจีน โดยมีอิทธิพลเชิงบวกและสามารถอธิบายอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อนค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ร้อยละ 79.30 สำหรับคุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การรู้จักและเข้าใจลูกค้า การตอบสนองต่อลูกค้า การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ความเชื่อถือไว้วางใจ และความเป็นรูปธรรมของบริการ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์เถาเป่าของผู้บริโภคในประเทศจีน โดยมีอิทธิพลเชิงบวกและสามารถอธิบายอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อนค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ ร้อยละ 80.10</p> Xie YiXi , กุลยา อุปพงษ์, อิราวัฒน์ ชมระกา Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1535 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชนในยุคปัญญาประดิษฐ์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1488 <p>บทความวิชาการเรื่อง การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชนในยุคปัญญาประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับยุคปัญญาประดิษฐ์และการบริหารวิชาการในยุคปัญญาประดิษฐ์ ศึกษาบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารวิชาการสถานศึกษาเอกชน และนำเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของสถานศึกษาเอกชนในยุคปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) ยุคปัญญาประดิษฐ์สร้างผลกระทบ สร้างประโยชน์ และสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตมนุษย์ในหลายมิติ โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวิชาการในยุคปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย แนวคิดการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน แนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ส่วนบุคคล แนวคิดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น แนวคิดการออกแบบโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และแนวคิดข้อพิจารณาเชิงจริยธรรม 2) บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารวิชาการสถานศึกษาเอกชน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ การจัดทำทะเบียนและวัดผล-ประเมินผล การบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา การส่งเสริมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน และ 3) แนวทางการบริหารวิชาการของสถานศึกษาเอกชนในยุคปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 4 แนวทาง แนวทางการจัดทำทะเบียนและวัดผลประเมินผล 4 แนวทาง แนวทางการบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 แนวทาง แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษา 3 แนวทาง แนวทางการส่งเสริมพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 4 แนวทาง แนวทางการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ 4 แนวทาง และแนวทางการสร้างเครือข่ายพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 4 แนวทาง ตามลำดับ</p> ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์, รักษิต สุทธิพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1488 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1579 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนสว่างแดนดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ google form ได้รับตอบกลับ 94 คน คิดเป็นร้อยละ 83.18 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนสว่างแดนดิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ แบบขายความคิด รองลงมา คือ แบบมีส่วนร่วม และแบบมอบหมายงาน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ แบบสั่งการ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของผู้บริหารโรงเรียนสว่างแดนดิน ผู้บริหารควรจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ใช้ระบบสารสนเทศและซอฟต์แวร์จัดการงานเอกสาร จัดอบรมบุคลากร ใช้เทคนิคการเสริมแรงด้วยคำชมเชย สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี จัดประชุมระดมความคิด ใช้ระบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม มอบหมายงานตามความถนัด กำหนดขอบเขตงานและเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อสารความคาดหวัง และสร้างระบบสนับสนุนและให้คำปรึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างยั่งยืน</p> อัญชลี แสบงบาล, ชารี มณีศรี , สมหมาย สร้อยนาคพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1579 Sat, 05 Apr 2025 00:00:00 +0700 การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1494 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาและแนวทางพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 และแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามออนไลน์ Google Form ทางอีเมล์ คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโซนธานีหมี่ขิด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ หลักความคุ้มค่า อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความโปร่งใส ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ หลักคุณธรรม 2. แนวทางพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา คือ สถานศึกษาต้องจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเท่าเทียม ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างด้านความซื่อสัตย์และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่บุคลากร มีระบบรายงานผลการดำเนินงานที่ทันสมัยและตรวจสอบได้ มอบหมายงานตามความสามารถและติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา และบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยระบบการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ</p> อภิวัฒน์ จิระชาติ, นพพงษ์ นพพงษ์ Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1494 Sun, 06 Apr 2025 00:00:00 +0700