วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd สมาคมขับเคลื่อนปรัชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หมู่ที่ 1 ถนนนครสวรรค์ ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000 th-TH วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2985-2366 การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา โครงการบอกดิน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/835 <p> บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอกระบวนการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ กรณีศึกษา โครงการบอกดิน <br />โดยยึดตัวแบบเชิงบูรณาการของ วรเดช จันทรศร (2554) มาใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 1) สมรรถนะองค์การ <br />โดยกรมที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดำเนินการและรวบรวมข้อมูลการรับแจ้งปัญหาที่ดินทำกินของประชาชน<br />ที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เนื่องจากกรมที่ดินมีศักยภาพด้านโครงสร้างองค์การ งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่<br />ที่สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ 2) ประสิทธิภาพในการวางแผนและควบคุม ซึ่งเกิดจากความชัดเจนของการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย การดำเนินงาน การติดตามผลและควบคุม 3) ภาวะผู้นำและความร่วมมือ โดยได้สานพลัง<br />จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและประชาชนให้เข้ามามีบทบาทส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกัน 4) การเมืองและ<br />การบริหารสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามามีบทบาททำให้โครงการสำเร็จหรือล้มเหลว และ <br />5) ความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นมิติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งทำให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ โดยที่ประชาชนที่มีปัญหาที่ดินทำกินได้รับเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และภาครัฐสามารถบรรลุผลโครงการและนำข้อมูลที่ได้ไปต่อยอดเพื่อพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พินิจ บำรุง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-02 2024-09-02 2 3 563 576 Design and development of integrated training systems to enhance skills Leadership in educational administration and principles of leadership in the relationship of educational institutions with communities in Ratchaburi province for education for graduate students at private universities in the Bangkok area https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/837 <p> The objectives of this research are 1) to study the design and development of an integrated training system. to strengthen leadership skills in educational administration and leadership principles in the relationship of the educational institution with the community. Ratchaburi Province For education, graduate students in the Educational Administration Leadership Program. Private universities in the Bangkok area 2) To study leadership skills in educational administration and leadership principles in the relationship of educational institutions with communities. Ratchaburi Province For studies for graduate students in the Educational Administration Leadership Program. Private universities in the Bangkok area Research that combines qualitative and quantitative research (mixed methods). There are research tools, including questionnaires, interviews, and evaluation forms. A sample group, or target group, is a graduate study program in leadership in educational administration. Private universities in the Bangkok area There were a total of 1,152 people. The sample was drawn by purposive random sampling. Sampling) of 100 people, then the data collected from the questionnaire was analyzed using descriptive statistics consisting of percentage, mean, and standard deviation. Let's explore the content analysis (test) and then use the information gathered from documents, literature, and interview forms. The research results found that 1) the development of graduate studies in the leadership curriculum in educational administration Private universities in the Bangkok area for education After the training, the participants had higher training scores than before. 2) Development of leadership skills in educational administration and leadership principles in the relationship between educational institutions and communities. The overall education is at a good level.</p> Ntapat Worapongpat Vorachai Viphoouparakhot Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-07-31 2024-07-31 2 3 577 590 ภาครัฐยุคใหม่: การวิเคราะห์ข้อดี ข้อจำกัด และแนวทางการปรับใช้ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/475 <p>ภาครัฐยุคใหม่เป็นการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ ภาครัฐโดยนำหลัก การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการ และการแสวงหาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยการนำเอาแนวทางหรือวิธีการบริหารงาน ของภาคเอกชนมาปรับใช้กับการบริหารงานภาครัฐ เช่น การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การบริหารงานแบบมืออาชีพ การคำนึงถึงหลักความคุ้มค่า การจัดการ โครงสร้างที่กะทัดรัดและแนวราบ การเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาแข่งขัน การให้บริการสาธารณะ การให้ความสำคัญต่อค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพ คุณธรรมและจริยธรรม ตลอดทั้งการมุ่งเน้น การให้บริการแก่ประชาชน โดยคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่</p> รัชนีกร ผาวงษ์ จิรภา มาตราช วรนุช ไชยพรม ธิตยา พรใส Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-02 2024-09-02 2 3 591 597 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/917 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารงานการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส ในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำแนกตามอายุและประสบการณ์ทำงาน 3) ศึกษาการบริหารจัดการงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส ในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน ประชากรในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 153 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย โดยการเปิดตารางเครจซี-มอร์แกน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารงานการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใส ในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ (2) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำแนกตามอายุและประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ทุกภาคส่วนควรส่งเสริมพัฒนาทั้งทางด้านการเรียน ทักษะ คุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียนควบคู่กัน โดยอาจารย์ผู้สอนควรเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางการบริหาร ตลอดจนถึงการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างสถาบันศาสนา คือการเผยแพร่คำสั่งสอน และส่วนที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายของสังคมคุณธรรม ทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตเป็นรากฐานที่ดีของคนดีในประเทศชาติ</p> ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม พระครูอุดมโพธิวิเทศ (ณรงค์ อุตฺตมวํโส ) เสนทรนารถ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-02 2024-09-02 2 3 598 610 การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/477 <p>การจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐเป็นกระบวนการในการกำหนดและตำเนินการตามกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรภาครัฐ โดยเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก การระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร การกำหนดลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเชิงกลยุทของภาครัฐมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ ส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบ และปรับปรุงการให้บริการสาธารณะในท้ายที่สุตโดยครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ เช่น การกำหนดนโยบาย การจัดสรรทรัพยากร การวัตผลการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการนำหลักการจัตการเชิงกลยุทธ์มาองค์กรภาครัฐสามารถรับมือกับความท้าทายที่ขับซ้อน ปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และบรรลุผสลัพธ์ที่ต้องการ</p> ภาณุพงศ์ ภูจำเนียร อรญา แก้วมุงคุณ อภิลักษณ์ โยธี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-02 2024-09-02 2 3 611 621 การพัฒนาสู่ความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตามบริบทพื้นที่ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1007 <p>ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิตประจำวัน การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) คือ ชุมชนที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประชาชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าถึงการศึกษาและโอกาสในการพัฒนาตนเอง อย่างเท่าเทียม การเรียนรู้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคคล แต่ยังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเศรษฐกิจ ท้องถิ่น บทความนี้นำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ในบริบทของประเทศไทย โดยสรุปแนวปฏิบัติที่ดี จากแหล่งที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาตามบริบทของพื้นที่เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> ภคอร จตุพรธนภัทร เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-20 2024-09-20 2 3 622 630 แนวความคิดการจัดการหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1127 <p>ประชากรของประเทศไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร จึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมและเอกสารวิชาการเพื่อเป็นแนวทางการจัดการหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า การจัดการหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกรไทยเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางทัศนคติ นิสัยหรือพฤติกรรม ปัจจัยโครงการนโยบายรัฐ และปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตร ทำให้รายได้ไม่มั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นเหตุกระทบต่อรายได้จนนำไปสู่ปัญหาการชำระคืนหนี้ของเกษตรกรได้ จากการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารวิชาการเพื่อแนวทางการจัดการหนี้สินครัวเรือนเกษตรกรภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า ทางเลือกในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรกรคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเกษตร โดยการทำเกษตรแบบผสมผสานเพื่อการลดความเสี่ยง การสร้างรายได้เพิ่ม ลดรายจ่าย และจัดการสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสามารถในการชำระหนี้ได้ตามสัญญาทำให้หนี้สินลดลงจนหลุดพ้นจากภาระหนี้สิน</p> สุริยะ หาญพิชัย Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-23 2024-09-23 2 3 631 645 ระบบและกระบวนการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1096 <p>การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ได้สร้างความท้าทายใหม่ให้กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในบริบทนี้ ระบบและกระบวนการนวัตกรรมจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน นวัตกรรมไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าและประสิทธิภาพในภาคธุรกิจ แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม บทความนี้นำเสนอกรอบแนวทางในการพัฒนาและการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอิงจากแนวคิดที่ครอบคลุมทั้งด้านทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติบทความได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของระบบนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยและพัฒนา (R &amp; D) การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมในระยะยาว ทั้งนี้ ระบบนวัตกรรมต้องได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยเน้นถึงความจำเป็นในการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การดูแลสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมทางสังคมกระบวนการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงแต่ต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงการบูรณาการความยั่งยืนในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา ตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การเลือกใช้ทรัพยากร ไปจนถึงการจัดการผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม บทความนี้จึงเสนอแนวทางในการบริหารจัดการนวัตกรรมที่คำนึงถึงความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การลดของเสีย การใช้พลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างนวัตกรรมที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมสุดท้าย บทความนี้ได้ย้ำถึงความสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กรและสังคม การส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน รวมถึงการสร้างกลไกสนับสนุนจากภาครัฐและนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนในระยะยาว การบูรณาการนวัตกรรมอย่างยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจและสังคมจะเป็นกุญแจสำคัญในการตอบสนองต่อความท้าทายของโลกในอนาคต</p> หนึ่งฤทัย ชานุสิทธิ์ ชินวัตร คึมยะราช ศิริปกรณ์ สุขสะอาด ชนายุทธ ต้นภูบาล นราศักดิ์ บุญถาวร นวพล นรบุตร พันธิชัย พิทักษ์กุล สุวิตย์ สังกฤษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-23 2024-09-23 2 3 646 656 ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1002 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงระดับความผูกพันและความสามัคคีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม รวมถึงศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างความผูกพันและความสามัคคีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 182 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดผู้ตอบแบบสอบถามโดยใช้สูตร Yamane (1973) ประกอบด้วย ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานงบแผ่นดิน พนักงานงบรายได้ พนักงานจ้างประจำ และพนักงานราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคี โดยใช้ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณเชิงเส้นตรงด้วยวิธีการเลือกตัวแปรอิสระเข้าสมการ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันและความสามัคคีของบุคลากรต่อองค์กร : กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การปกครองของผู้บังคับบัญชา รองลงมา คือ การรับรู้ค่าตอบแทนการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในงาน รองลงมาคือ โอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในงาน และอยู่ในระดับน้อย 1 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า มหาวิทยาลัยฯ ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากร และความก้าวหน้าในตำแหน่งงานเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการจัดสวัสดิการ เช่นบ้านพักอาศัย หรือค่าเบี้ยเลี้ยงในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงาน มหาวิทยาลัยฯ ควรส่งเสริมบุคลากรให้ศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาควรให้ความไว้ใจและมีความเป็นภาวะผู้นำ ความเสียสละ และความมีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชามากขึ้น มหาวิทยาลัยควรจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในให้เหมาะสมและมากกว่าเดิม และผู้บังคับบัญชาควรเปิดโอกาสให้พนักงานทุกคนได้แสวงหาแหล่งศึกษาดูงานตามที่ต้องการทั้งในประเทศ และต่างประเทศ</p> ศุรินภา ทุงจันทร์ เปรมฤดี ชิณวงษา บลณิชา พลประถม Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-23 2024-09-23 2 3 657 668 การปรับตัวขององค์กรปกครองท้องถิ่นสู่ระบบราชการ 4.0 ด้วยนวัตกรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1134 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายแนวคิด“การปรับตัวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุค4.0”โดยมุ่งเน้นการศึกษาแนวทางการปรับตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทของระบบราชการและบทบาทของนวัตกรรมที่มีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินงาน บทความนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนาและกรณีศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การนำระบบราชการ 4.0 เข้ามาประยุกต์ใช้ช่วยให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถสร้างความโปร่งใสได้ดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมในการจัดการข้อมูล และระบบอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการอบรมและพัฒนาทักษะให้กับบุคลากร เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบราชการ 4.0 เป็นไปตามวัตถุประสงค์และประสบผลสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการบริหารจัดการองค์กรของภาครัฐ</p> กฤต ผิวขำ วชิรพัฒน์ หวังหมู่กลาง เจษฎา โพธิสาย Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-24 2024-09-24 2 3 689 701 บทบาทของนวัตกรรมในการปฏิรูประบบราชการยุคดิจิทัล https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1049 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมในบทบาทของระบบราชการที่นำเข้ามาใช้ในยุคดิจิทัล แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในยุคดิจิทัล ประเภทของนวัตกรรม ประโยชน์ของนวัตกรรม รวมถึงข้อดีข้อเสียและแนวทางการนำนวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการหน่วยงานราชการ เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของนวัตกรรมที่ระบบราชการได้นำเข้ามาปรับใช้ในการทำงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ<br />ในการบริการสาธารณะมากยิ่งขึ้น ระบบราชการได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการบริการสาธารณะเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกสบายในการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล ดังนั้นการบริหารหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐจึงจำเป็นที่ต้องนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในทุกภาคส่วนหรือระบบราชการด้วย การปฏิรูปการทำงานในระบบราชการให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลยังเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะนวัตกรรมยังคงเป็นโอกาสที่สำคัญในการยกระดับให้มีคุณภาพการทำงานของภาครัฐได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วทันสมัย ตอบสนองความต้องการของประชาชนแต่อย่างไรก็ตามการนำนวัตกรรมยุคใหม่เข้ามาใช้ก็มีความท้าทายและมีอุปสรรคมากมายที่ระบบราชการ<br />ต้องพิจารณาตัดสินใจที่ปฏิรูปการทำงานในระบบราชการใหม่ๆโดยต้องคำนึงถึงประสิทธิการทำงาน ลดเวลาในการดำเนินงาน ตรวจสอบความแม่นยำของข้อมูล เพื่อให้การบริการรวดเร็วและประชาชนเข้าถึงง่าย นวัตกรรมเป็นกระบวนการของ<br />การพัฒนาความคิดโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่หรือมาจากการที่มนุษย์สร้างขึ้นและระบบราชการได้นำบทบาทของนวัตกรรมเข้ามาปฏิรูปการดำเนินงานขององค์กร แต่ต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นระบบราชการได้ปรับเปลี่ยนการทำงานและเน้นการนำแนวคิดขององค์การภาคเอกชนมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับคนและเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้นำองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานหรือการพัฒนาหน่วยงานต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันควรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ระบบราชการจึงปฏิรูปการทำงานโดยนำนวัตกรรมมามีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ประเทศ<br />มีความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินงานในยุคดิจิทัลกับโลก 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี</p> วรรรกานต์ วงเวียน ทิพย์อักษร บุญบุตตะ ลัดดาวรรณ ตะวงษ์ ณัฐชา หาวงค์ วรรณิสา ขันธ์สอน วาสนา ละครสิงห์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-24 2024-09-24 2 3 702 718 ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/667 <p>วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี และแนวทางการพัฒนาพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอนจำนวน 97 คน รวมเป็น 102 คนและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา จำนวน 1 คน และผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 2 คน รวมเป็น 3 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 47 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา. ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า 1) ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียนอย่างใกล้ชิด ควรมีการเยี่ยมชั้นเรียน ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียน และจัดครูสอนแทน 2) ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู มอบหมายบุคลากรในการ ทำหน้าที่ประสานงาน 3) ด้านการใช้หลักสูตรและเป็นผู้นำในการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตร 4) ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ควรมีการประเมินความต้องการของครู บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กำหนดและพัฒนาเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียน 5) ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู ควรสนับสนุนครูเข้ารับการอบรมทางวิชาการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูนำทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน 6) ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน ควรประชุมชี้แจงด้านเป้าหมายด้านวิชาการของโรงเรียนให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ที่หลากหลาย ทันสมัย และรวดเร็ว 7) ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน ควรตรวจเยี่ยมชั้นเรียน ควบคุม ดูแลเกี่ยวกับการสอนแทน 8) ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริม<br />สภาพการเรียนรู้ ควรส่งเสริมบรรยากาศด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ยกย่องชมเชยนักเรียนที่มีผลงานทางด้านวิชาการดีเด่น สนับสนุน ให้นักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางด้านวิชาการ 9) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ควรนำผลการทดสอบมาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าตามเป้าหมาย 10) ด้านวิชาการของโรงเรียน ควรมีการใช้ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน แจ้งผลการทดสอบทางการเรียนให้นักเรียนและผู้ปกครองทราบอย่างรวดเร็ว 11) ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ควรประกาศเกณฑ์ต่าง ๆ ทางด้านวิชาการให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 12) ด้านการเรียนของนักเรียน และควรมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านวิชาการ 13) ด้านการนิเทศและการประเมินผลการสอนของครู ควรมีการประเมินการจัดการเรียนการสอนพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และสะท้อนผลย้อนกลับด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูทุกครั้งที่มีการนิเทศการสอน และ 14) ด้านการจัดสิ่งจูงใจให้กับครู ควรยกย่องเชิดชูเกียรติคุณของครู ส่งเสริมให้ครูใช้ความสามารถและทักษะของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ</p> ประพันธ์ ภูผัน กิจพิณิฐ อุสาโห Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-25 2024-09-25 2 3 719 733 แนวคิดใหม่ในการบริการภาครัฐ: สู่การบริการที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/598 <p>บทความนี้ศึกษาแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการบริการภาครัฐให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง การมีส่วนร่วมของประชาชน และการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน บทความเปรียบเทียบแนวคิดนี้กับการบริหารสาธารณะแบบดั้งเดิมและการจัดการสาธารณะแบบใหม่ พร้อมทั้งวิเคราะห์สถานการณ์การบริการสาธารณะในประเทศไทย และเสนอข้อเสนอแนะในการนำแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการบริการภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น</p> วาสนา กิรัมย์ เจษฎา กิรัมย์ อัษฎา อิงเอนุ พระครูสุวรรณคุณประสิทธิ์ สุคำภา Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-25 2024-09-25 2 3 734 745 การจัดการภาครัฐแนวใหม่: มุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ประชาชนสัมผัสได้ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/479 <p> การจัดการภาครัฐแนวใหม่เป็นการมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ประชาชนได้รับกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดผลได้ติดตามผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่องมีระบบการจูงใจให้หน่วยงานรัฐบรรลุเป้าหมายและพัฒนาระบบวัดผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเน้นวัดผลผลลัพธ์มากกว่าวิธีการนำผลวัดผลมาใช้เพื่อพัฒนาการทำงานเปิดเผยผลวัดผลให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังหน่วยงานท้องถิ่น ให้หน่วยงานท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารจัดการ พัฒนาระบบการตรวจสอบและติดตามผลและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพัฒนาระบบการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐเพื่อพัฒนาระบบ e-Government นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์และพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรภาครัฐ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรภาครัฐทำงานอย่างมีเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบ พัฒนาระบบตรวจสอบภายใน สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน สร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อพัฒนากฎหมายให้ทันสมัย ลดขั้นตอนและระเบียบที่ยุ่งยาก ส่งเสริมการแข่งขัน<strong> </strong></p> สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ISSN: 2985-2366 (Online) 2024-09-26 2024-09-26 2 3 746 756