https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/issue/feed
วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
2025-06-08T23:36:57+07:00
จันทร์สิรี บิดร
่jamsdonline@gmail.com
Open Journal Systems
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1804
การบริหารจัดการความเสี่ยงและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
2025-05-14T13:39:23+07:00
ธรณัส ปิ่นทอง
terachai.phintong@gmail.com
พัชรี ชยากรโศภิต
patchree_ch@rmutto.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของการบริหารจัดการความเสี่ยง และการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาด้านลักษณะทางประชากรที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากร และ 3. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความเสี่ยง และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการความเสี่ยงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการยอมรับเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ลักษณะทางประชากรด้านอาชีพ การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านประสิทธิภาพ และด้านความปลอดภัย และการยอมรับเทคโนโลยีด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง และด้านการรับรู้ประโยชน์การใช้งาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และการซื้อประกันภัยภาคสมัครใจจึงมีความจำเป็น และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความเสี่ยงด้านภาระค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี หากกรณีเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ส่วนตัวแปรลักษณะทางประชากรด้านอายุ และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเวลา มีอิทธิพลเชิงลบต่ออุปสงค์การซื้อประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ ขณะที่ลักษณะทางประชากรด้านเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตัวแปรการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน ด้านสังคม และด้านจิตใจ และตัวแปรการยอมรับเทคโนโลยีด้านทัศนคติต่อการใช้งาน และด้านความตั้งใจในการใช้งาน ไม่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำมาเป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการของผู้ประกอบการได้อย่างยั่งยืน</p>
2025-06-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1800
การบริหารจัดการพลังงานและการจัดการนวัตกรรมทางสังคมที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การประหยัดพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซีตี้ จังหวัดชลบุรี
2025-05-08T00:31:17+07:00
รุ่งรดิศ คงยั่งยืน
rungradit.k@cpu.ac.th
สวิตต์ เดชศิระ
swiss90fairyland@gmail.com
สรพงษ์ ศรีเดช
so_sri1979@hotmail.co.th
มัจรี สุพรรณ
matjaree.s@cpu.ac.th
นัยนา รัตนสุวรรณชาติ
naiyana.r@cpu.ac.th
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพลังงาน การจัดการนวัตกรรมทางสังคมและประสิทธิผลการประหยัดพลังงาน 2. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพลังงานและการจัดการนวัตกรรมทางสังคม ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประหยัดพลังงาน ประชากร คือ โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซีตี้ จังหวัดชลบุรี จำนวน 700 แห่ง ใช้กลุ่มตัวอย่าง 248 แห่ง ผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย ผู้จัดการใหญ่ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ หรือผู้บริหารระดับกลาง ประกอบด้วย รองหัวหน้าหน่วยงาน ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากสถานประกอบการ ซึ่งผู้ที่ตอบแบบสอบถามถือว่าเป็นตัวแทนของหน่วยงานนั้น ๆ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน โดยใช้ค่า S-CVI (Scale content validity index) ค่าเฉลี่ย CVI = 9.49 ค่า S-CVI = 0.95 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกินกว่า 0.9 ทุกข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Google form สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการบริหารจัดการพลังงาน การจัดการนวัตกรรมทางสังคมและประสิทธิผลการประหยัดพลังงานอยู่ในระดับสูงทุกด้าน ในภาพรวมการจัดการนวัตกรรมทางสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าปัจจัยอื่น 2. องค์ประกอบสำคัญของปัจจัยด้านการบริหารจัดการพลังงานและการจัดการนวัตกรรมทางสังคมส่งผลต่อปัจจัยด้านประสิทธิผลการประหยัดพลังงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยสามารถส่งผลได้ร้อยละ 83.7 การวิจัยครั้งนี้สามารถค้นพบแนวทางในการพัฒนาประสิทธิผลการประหยัดพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยการพัฒนาตัวแปรที่ค้นพบในครั้งนี้ คือ การทบทวนแนวคิดหลักของนวัตกรรมทางสังคม ผลของการนำความรู้เข้าสู่องค์กร มีการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใส การวิเคราะห์วางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการนำนวัตกรรมทางสังคมเข้าสู่กิจกรรมธุรกิจ</p>
2025-06-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1779
การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2025-05-15T22:41:28+07:00
ฐิตินันท์ นันทะศรี
titinan2514@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นงานวิจัยและพัฒนา ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยเป็น 5 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2566-2567 จำนวน 260 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบมี 4 องค์ประกอบ ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนขอบข่ายงานวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และคุณภาพผู้เรียน ความเหมาะสมขององค์ประกอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานวิชาการ ประกอบด้วย 4 ขอบข่ายงานวิชาการ ดังนี้ พัฒนาระบบการนิเทศติดตามและประเมินผล การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาหลักสูตร การสอน และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 3. ผลการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการนำรูปแบบทดลองใช้ในโรงเรียน จำนวน 7 โรงเรียน ความพึงพอใจของผู้บริหารโรงเรียน และครูในโรงเรียนที่มีต่อรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ คำชี้แจงในการใช้คู่มือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ปัจจัยที่สนับสนุน กระบวนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ขอบข่ายงานวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคุณภาพผู้เรียน ความเหมาะสมของคู่มือใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2025-06-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1765
การปฏิบัติตามนโยบายการสร้างความเชื่อมั่นสาธารณะของข้าราชการธุรการ สำนักงานคดีศาลสูงภาค สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
2025-04-25T23:02:35+07:00
มลิวัลย์ ผายเมืองฮุง
pissadarn@snru.ac.th
พิศดาร แสนชาติ
pisdpc7@gmail.com
วศิน เพชรพงศ์พันธุ์
pissadarn@snru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามนโยบายการสร้างความเชื่อมั่นสาธารณะของข้าราชการธุรการสำนักงานคดีศาลสูงภาค สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด และเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามนโยบายการสร้างความเชื่อมั่นสาธารณะของข้าราชการธุรการสำนักงานคดีศาลสูงภาค สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ประชากรในการวิจัย คือ ข้าราชการธุรการสำนักงานคดีศาลสูงภาค สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 358 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ Yamane ได้จำนวน 189 คน และทำการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.842 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติตามนโยบายการสร้างความเชื่อมั่นสาธารณะของข้าราชการธุรการโดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด โดยการปฏิบัติตามนโยบายในด้านประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส และด้านร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่ด้านคิดและทำเพื่อพัฒนามีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด และ 2. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามนโยบายการสร้างความเชื่อมั่นสาธารณะของข้าราชการธุรการ คือ ส่งเสริมให้ข้าราชการธุรการมีความรู้ที่ทันสมัย มีความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน มีการปรับตัวมีจิตบริการสร้างความศรัทธา มีการจัดการความขัดแย้งในการปฏิบัติงาน และมีการจัดการปัญหาข้อกฎหมาย</p>
2025-06-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1837
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
2025-05-22T21:17:31+07:00
ธีรพจน์ ภูริโสภณ
aj.phaew@gmail.com
ยุวเรศ หลุดพา
yuvares.l@kkumail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีงานทำของบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประกอบด้วยปัจจัยด้านบุคคล ด้านการศึกษา ด้านตลาดแรงงาน และด้านเครือข่ายทางสังคม โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (GPA) ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการสื่อสาร ระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การแนะแนวอาชีพ และเครือข่ายศิษย์เก่าที่อาจมีผลต่อการมีงานทำของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2563–2566 จำนวน 200 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหา IOC=0.85 และมีค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.73 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการมีงานทำของบัณฑิต ได้แก่ ระยะเวลาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ GPA ทักษะภาษาอังกฤษ และทักษะการสื่อสาร ส่วนการแนะแนวอาชีพมีค่าสัมประสิทธิ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเล็กน้อย ขณะที่เครือข่ายศิษย์เก่าไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ชัดเจน แบบจำลองการวิเคราะห์สามารถอธิบายความแปรปรวนของการมีงานทำได้ร้อยละ 52.4 ดังนั้น ควรส่งเสริมระบบฝึกงานที่มีคุณภาพ พัฒนาหลักสูตรทักษะภาษาอังกฤษและการสื่อสารอย่างเป็นระบบ และการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน</p>
2025-06-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1480
การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มศรีธาตุ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
2025-04-21T00:28:38+07:00
อภิเชษฐ์ ป้านภูมิ
apichat202532@gmail.com
สุรศักดิ์ หลาบมาลา
surasak@gmail.com
อมรทิพย์ เจริญผล
amornthipc@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษากลุ่มศรีธาตุ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษาค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การสร้างสื่อและเครื่องมือนิเทศ รองลงมา คือ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการนิเทศ และการวางแผนการนิเทศ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติการนิเทศ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา ด้านปฏิบัติการนิเทศ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเน้นการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ผู้บริหารควรเตรียมเครื่องมือนิเทศโดยพัฒนาแบบสังเกตการสอน แบบประเมิน และแบบบันทึกต่าง ๆ ผู้บริหารควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และเน้นการทำงานเป็นรูปแบบ PDCA ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศการนิเทศที่เป็นมิตร ไม่กดดัน ผู้บริหารควรวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบตลอดปีการศึกษา และผู้บริหารควรนำระบบออนไลน์มาใช้ในการนิเทศและติดตามผล</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1623
หลักการจัดการทุนมนุษย์สู่ความสำเร็จ
2025-03-19T08:40:01+07:00
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์
ajarnchot@gmail.com
วิโรจน์ มานะมั่นชัยพร
ajarnchot@gmail.com
<p>บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1. ความสำคัญ ความเป็นมา และความหมายของการจัดการทุนมนุษย์ 2. หลักการจัดการทุนมนุษย์เพื่อความสำเร็จทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าหมายที่องค์กรกำหนดไว้ จากการค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์งานและการวางแผนกำลังคน การสรรหาและการคัดเลือกพนักงาน การพัฒนาพนักงาน การจัดการความสามารถ การบริหารจัดการคนเก่ง ภาวะผู้นำ การจูงใจและการธำรงรักษาพนักงาน การจัดการผลการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ และหลักศีลธรรมในการจัดการทุนมนุษย์</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1766
ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์
2025-04-25T23:03:35+07:00
สศิธารี เพ็ชรเอี่ยม
saintsafe1978@gmail.com
กุลยา อุปพงษ์
kullaya.upp@uru.ac.th
ศิริกานดา แหยมคง
sirikarnda.yea@uru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับของภาพลักษณ์องค์กร คุณภาพการบริการ และความพึงพอใจของสมาชิก และ 2. เพื่อศึกษาภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จำนวน 368 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความสำคัญของของภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการบริการของสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพการบริการที่ผู้ตอบแบบสอบถามในภาพรวมเห็นว่าอยู่ในระดับมาก และพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ภาพลักษณ์องค์กรและคุณภาพการบริการส่งผลต่อความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองลับแล จำกัด จังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนตัวแปรตามได้ ร้อยละ 71.00</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1641
กลยุทธ์ในการยกระดับศักยภาพการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทยท่ามกลางความท้าทายระดับโลก
2025-04-24T17:22:17+07:00
อารยา มั่นมงคล
s60563809002@ssru.ac.th
นัทนิชา โชติพิทยานนท์
natnicha.ch@ssru.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์และศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทย พบว่า การส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยการใช้ซอฟต์พาวเวอร์ คือ 1. การสนับสนุนงานแสดงที่มีชื่อเสียง 2. การส่งออกภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3. การสนับสนุนการแสดงเชิงสร้างสรรค์ 4. การสนับสนุนการเรียนรู้และการฝึกอบรม และ 5. การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของภาครัฐในการส่งออกอุตสาหกรรมบันเทิงไทย คือ การส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยการใช้ ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ โดยมีบางเป้าหมายหลักที่ศึกษาและใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโต และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ได้แก่ 1. การสนับสนุนนโยบายภาษีและการเงิน 2. การสร้างพื้นที่ตั้งและสถานที่ทำงาน 3. การสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาความสามารถ 4. การสร้างนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ 5. การสนับสนุนการตลาดและการโฆษณา และ 6. การสร้างนโยบายที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมบันเทิง</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1775
อิทธิพลของการปฏิบัติตามนโยบายองค์กรคุณธรรมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10
2025-05-13T12:19:43+07:00
อริยา ศรีสวัสดิ์
pissadarn@snru.ac.th
ชนินทร์ วะสีนนท์
vchanin@hotmail.com
วศิน เพชรพงศ์พันธ์
pissadarn@snru.ac.th
พิศดาร แสนชาติ
pissadarn@snru.ac.th
<p>กรมสรรพากรได้นำแนวคิดวัฒนธรรมองค์กรแบบองค์กรคุณธรรมมากำหนดแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของการปฏิบัติตามนโยบายองค์กรคุณธรรมของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 2. ศึกษาระดับของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 และ 3. ศึกษาอิทธิพลของการปฏิบัติตามนโยบายองค์กรคุณธรรมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 ประชากรในการวิจัยคือบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 จำนวน 1,399 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ได้จำนวน 344 คน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.378-0.859 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การปฏิบัติตามนโยบายองค์กรคุณธรรมของกรมสรรพากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 โดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. การปฏิบัติตามนโยบายองค์กรคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ ด้านความรับผิดชอบ และด้านการมอบใจบริการมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้ร้อยละ 65.60</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1650
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อทักษะการสอนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
2025-04-21T22:05:05+07:00
พิชยันต์ นันทะศรี
pichayan1234@gmail.com
เอกลักษณ์ เพียสา
akkaluckpheasa@gmail.com
อภิสิทธ์ สมศรีสุข
apisit_edu@snru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อทักษะการสอนของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ปีการศึกษา 2567 จำนวน 366 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1 การมีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี 1.2 การส่งเสริมเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 1.3 ผลิตภาพและความเป็นมืออาชีพ 1.4 กฎหมายและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 1.5 การวัดและประเมินผลโดยใช้เทคโนโลยี 1.6 การบริหารและการดำเนินงานในการใช้เทคโนโลยี โดยรวมทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ทักษะการสอนของครูในสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารกับทักษะการสอนของครูในสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี ด้านผลิตภาพและความเป็นมืออาชีพ และด้านการบริหารและการดำเนินงานในการใช้เทคโนโลยี สามารถร่วมกันพยากรณ์ทักษะการสอนของครูในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 13.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 6. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารที่ส่งผลต่อทักษะการสอนของครูในสถานศึกษา มีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงเทคโนโลยี ด้านผลิตภาพและความเป็นมืออาชีพ และด้านการบริหารและการดำเนินงานในการใช้เทคโนโลยี</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1651
ความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ สถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2025-05-31T21:12:56+07:00
ณัชพร เอี่ยมใส
kruaomeiamsai@gmail.com
สุรัตนา อดิพัฒน์
ajsurattana@gmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานศึกษาภาครัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาวิชาชีพของครูตามปัจจัยด้านเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน โดยใช้กรอบแนวคิดของ Herzberg (1959) ซึ่งแบ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ เช่น ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับ และโอกาสความก้าวหน้า และปัจจัยค้ำจุน เช่น นโยบายบริหารงาน เงินเดือน และสภาพแวดล้อมการทำงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำนวน 92 คนจาก 14 สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความต้องการพัฒนาวิชาชีพในระดับสูง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีในการสอน และการวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอน มีผลต่อระดับความต้องการพัฒนาวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญ ครูที่มีประสบการณ์มากกว่ามีแนวโน้มต้องการพัฒนาทักษะเชิงลึก เช่น การวิจัยในชั้นเรียน และการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนครูที่มีประสบการณ์น้อยต้องการเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการสอนและการจัดการชั้นเรียน ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพของครู ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาและตลาดแรงงาน ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในอาชีวศึกษา</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1785
ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำของสังคมผ่านภาพยนตร์ “วิมานหนาม”
2025-05-02T11:02:05+07:00
สุรชัย ศรีนรจันทร์
surachaisrinorajan@gmail.com
<p>บทความนี้มุ่งวิเคราะห์การเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง “วิมานหนาม” โดยใช้ทฤษฎีสัญวิทยา (semiology) เพื่อทำความเข้าใจความหมายที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยผ่านการใช้คำว่า “หนาม” ในชื่อเรื่องที่สื่อถึงความเจ็บปวดและการดิ้นรนจากความไม่เท่าเทียมในมิติต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และเพศ ภาพยนตร์นี้ยังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ โดยเฉพาะในชนบทที่มีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1. ความเหลื่อมล้ำทางเพศและสิทธิมนุษยชน ที่สะท้อนผ่านเรื่องราวของคู่รักเพศเดียวกันที่ต้องเผชิญกับข้อจำกัดทางกฎหมาย 2. ความเหลื่อมล้ำทางความเชื่อและค่านิยมในกลุ่มชาติพันธุ์ที่จำกัดบทบาทของผู้หญิงในฐานะผู้ดูแลครอบครัว 3. ข้อจำกัดทางเพศที่ทำให้ชายและหญิงมีโอกาสแตกต่างกัน และ 4. ความยากลำบากในการเข้าถึงสวัสดิการรัฐ โดยเฉพาะบริการสาธารณสุขในชนบทที่ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน บทความนี้เสนอว่าภาพยนตร์ “วิมานหนาม” เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการใช้สัญวิทยาในการสะท้อนปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในบริบทของสังคมไทยอย่างลึกซึ้ง</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1589
การพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1
2025-03-04T21:14:01+07:00
วริทธิ์ ปรินายวนิชย์
warit.p@kkumail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบโครงงานเป็นฐาน รายวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร จำนวน 13 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีประสิทธิภาพ 78.33/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนโปรแกรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสามารถพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1643
การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย
2025-04-01T22:57:44+07:00
อภิรดี คำไล้
aimmie6699@hotmail.com
รวัฒน์ มันทรา
rawat.man@lur.ac.th
วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์
wanunporn.chue@lru.ac.th
ปานฤทัย พุทธทองศรี
panruethai.put@lru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย และศึกษาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ กลุ่มคนจนเป้าหมายทั้ง 6 ตำบลในอำเภอปากชม จังหวัดเลย รวมทั้งสิ้น 322 คน มีผู้ที่สนใจต้องการเข้าร่วมดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาอาชีพและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย จำนวน 138 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ครีมทาส้นเท้าจากเปลือกกล้วยแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า หลังจากมีการประชุมกลุ่มกับกลุ่มคนจนเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมดำเนินโครงการวิจัยพัฒนาอาชีพและเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่นให้เป็นผลิตภัณฑ์ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตครีมทาส้นเท้าจากกล้วยให้แก่ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยที่มีความสนใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสกัดสารลูทีนจากเปลือกกล้วย มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสกัดจากสกัดด้วยเครื่องสกัดแอลกอฮอล์ เป็นวิธีการเจียวด้วยความร้อนและได้เป็นครีมทาส้นเท้าสารสกัดจากเปลือกกล้วย รวมถึงได้ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อจัดจำหน่ายต่อไป</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1588
ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครสวรรค์
2025-03-12T20:12:32+07:00
จารุวรรณ ทิทา
yingjajaruwan@gmail.com
ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์
thanaphat.so@nsru.ac.th
ธีรพจน์ แนบเนียน
teerapod.n@nsru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2. ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ และ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูจำนวน 210 คน ได้มาจากตารางเครซี่และมอร์แกน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และการบริหารงานวิชาการที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะขอผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีคุณธรรมและจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก 2. ระดับการบริหารงานวิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านงานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านแผนกวิชา อยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กันทางบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (r<sub>xy</sub> = 0.61) ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าความสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (r<sub>xy</sub> = 0.59) รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม (r<sub>xy</sub> = 0.51) และด้านที่มีค่าความสัมพันธ์ต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง (r<sub>xy</sub> = 0.34) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1677
การบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษาร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
2025-04-12T22:18:20+07:00
สรัญญา สุทธิวรพงศ์ศรี
saranya.guts@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร และ 2. ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 6 คน ประกอบด้วย เจ้าของร้าน 1 คน และพนักงานร้าน 5 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตลาดยังไม่มี ด้านการเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ ด้านการลดต้นทุนและฟังก์ชันที่ไม่สำคัญ และด้านการกำจัดปัจจัยที่ไม่จำเป็น และ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์เมื่อเผชิญวิกฤตความไม่แน่นอนสูง กรณีศึกษา ร้านอาหารผู้ชายขายหอย เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พบว่า เจ้าของร้านอาหารผู้ชายขายหอยมีการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ตลาดร้านอาหารกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง โดยใช้กลยุทธ์สีน้ำเงิน (blue ocean strategy) โดยมีแนวทาง 4 ด้าน ดังนี้ ด้านกำจัดปัจจัยที่ไม่จำเป็น (eliminate) ดำเนินการตัดเมนูที่ขายไม่ดี ลดกระบวนการซับซ้อน และยกเลิกโฆษณาแบบดั้งเดิมที่ไม่คุ้มค่า ด้านลดต้นทุนและฟังก์ชันที่ไม่สำคัญ (reduce) ดำเนินการลดขนาดพื้นที่นั่งทาน ปรับใช้ระบบคิวอาร์โค้ด เพื่อลดจำนวนพนักงาน และใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุน ด้านการเพิ่มคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ (raise) ดำเนินการยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้พรีเมียม เพิ่มเมนูที่เป็นเอกลักษณ์ และใช้การเล่าเรื่อง (storytelling) ในการตลาดออนไลน์ และด้านการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตลาดยังไม่มี (create) ดำเนินการพัฒนาโมเดลธุรกิจบอกรับสมาชิก (subscription box) ระบบพรีออเดอร์ และกิจกรรมการถ่ายทอดสดการทำอาหาร (live cooking show) เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1695
องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในบริษัทเอกชน
2025-04-12T22:21:13+07:00
เจษฎา เลิศวารีเวช
s66563833014@ssru.ac.th
นัทนิชา โชติพิทยานนท์
natnicha.ch@ssru.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในบริษัทเอกชน เนื่องจากคุณภาพชีวิตการทำงานถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะพนักงานจัดเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีความสำคัญต่อองค์กร ดังนั้น หากองค์กรมีสภาพแวดล้อม และบรรยากาศในสถานที่ทำงานที่มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการทำงาน คือ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกที่ดีต่องาน มีความมั่งคง ทำให้เกิดความสุขในการทำงาน ย่อมทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีตามมาในที่สุด โดยในการศึกษาครั้งนี้ทำการรวบรวมแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในบริษัทเอกชน สรุปได้ว่า องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานในบริษัทเอกชน ประกอบด้วย 8 ปัจจัย คือ 1. องค์ประกอบด้านผลตอบแทนที่เหมาะสม 2. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3. องค์ประกอบด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถ 4. องค์ประกอบด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน 5. องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในที่ทำงาน 6. องค์ประกอบด้านลักษณะการบริหารงาน 7. องค์ประกอบด้านภาวะอิสระจากงาน และ 8. องค์ประกอบด้านความภูมิใจองค์กร</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1722
การศึกษาทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาด้วยวิธีการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ อำเภอท่ายาง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
2025-05-08T00:41:41+07:00
นริศรา เจี้ยมดี
naritsarajiamdi987@gmail.com
สุรัตนา อดิพัฒน์
ajsurattana@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาด้วยวิธีการสื่อสารของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ อำเภอท่ายาง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 44 คน ซึ่งคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนด้วยวิธีการสื่อสาร โดยเฉพาะด้านการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นการโต้ตอบและสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และพบว่าการใช้เกม รวมถึงเทคโนโลยีช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทักษะการสื่อสารของครูและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำวิธีการนี้ไปใช้ ได้แก่ ขนาดห้องเรียนที่ใหญ่และความมั่นใจของครูในการใช้ภาษาอังกฤษ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการพัฒนาทักษะของครู เพิ่มการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน และส่งเสริมรูปแบบการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1864
แนวทางการบริหารแบรนด์ของธุรกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการยุคใหม่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
2025-05-22T14:28:27+07:00
บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์
buppalap@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารแบรนด์ของธุรกิจผ่านมุมมองผู้ประกอบการยุคใหม่ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นแนวทางศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (ดีพร้อม คพอ.) รุ่นที่ 414 จังหวัดเพชรบูรณ์ และการค้นคว้าหลักฐานจากเอกสารต่าง ๆ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นรุ่นทายาทธุรกิจ ซึ่งความท้าทายของการสืบทอดกิจการจากรุ่นพ่อแม่ คือ การบริหารแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางพลวัตรแห่งการเปลี่ยนแปลงควบคู่กับความพยายามปลดล็อคข้อจำกัดที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอก โดยไม่ลืมแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยุคใหม่ได้เสนอแนวทางการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก จดจำ และมีชื่อเสียง ประกอบด้วย การขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตและการบริการ การนำธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้า การสวมบทบาทนักบริหารจัดการที่ดินเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการยุคใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารแบรนด์อย่างมาก โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านพนักงานขายประจำร้าน เฟซบุ๊กเพจของธุรกิจ และแพลตฟอร์มติ๊กต็อก เนื่องจากมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคยุคดิจิทัล</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1832
อิทธิพลปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการบอกต่อบนโลกออนไลน์ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชานมไข่มุกของกลุ่มผู้บริโภควัยทำงาน อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
2025-05-12T23:13:36+07:00
ดวงธิตา ทายะรินทร์
atchara@g.lpru.ac.th
อัจฉรา เมฆสุวรรณ
atchara.meksuwan@gmail.com
พอใจ สิงหเนตร
singhanate@g.lpru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การบอกต่อบนโลกออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อ และ 2. ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการบอกต่อบนโลกออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชานมไข่มุกของกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยทำงานที่เคยบริโภคเครื่องดื่มชานมไข่มุก จำนวน 391 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้บริโภควัยทำงานในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด รองลงมาคือ การบอกต่อบนโลกออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการบอกต่อบนโลกออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชานมไข่มุกของกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด) และการบอกต่อบนโลกออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชานมไข่มุกของกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1688
วัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
2025-04-12T22:20:31+07:00
ณัฐพงษ์ โคตรสมบัติ
big-blackpearl@hotmail.com
สามารถ อัยกร
saamm_5@hotmail.com
ชาติชัย อุดมกิจมงคล
chardchai_u@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กร การบริหารเชิงกลยุทธ์และประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมองค์กรของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. วัฒนธรรมองค์กร ด้านวัฒนธรรมพันธกิจ (β = 0.630) วัฒนธรรมเอกภาพ (β = 0.326) และวัฒนธรรมส่วนร่วม (β = 0.213) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 66.60 การบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (β = 0.500) ด้านการตรวจสอบภาพแวดล้อม (β = 0.389) และด้านการควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ (β = 0.170) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจภูธร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 85.50</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1696
การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
2025-04-12T22:24:26+07:00
วริศรา พรมวัง
s63563809007@ssru.ac.th
นัทนิชา โชติพิทยานนท์
natnicha.ch@ssru.ac.th
<p>การศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการศึกษาโรงเรียนในปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมีขั้นตอนในการศึกษา คือ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลและสรุปเป็นผลการศึกษาการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยจากการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์การจัดการศึกษาในโรงเรียนปัจจุบัน พบว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และการจัดการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป ได้สร้างความท้าทายให้กับโรงเรียนในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของโลกยุคใหม่ และ 2. แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า โรงเรียนควรมุ่งเน้นการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการเรียนรู้ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะที่จำเป็น เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน การพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีและสอนในสภาพแวดล้อมดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นอีกประเด็นสำคัญ</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1725
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
2025-04-18T21:49:01+07:00
สุภางค์ ศรีทองสุก
putzupp1221@gmail.com
สุรศักดิ์ หลาบมาลา
wilaiwan_tukta@windowslive.com
อมรทิพย์ เจริญผล
amornthipc@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.67 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 มีจำนวน 6 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมา คือ ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ ด้านการวัดประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน ด้านมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2. แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนไชยวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา คือ สถานศึกษาควรมีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องตรงตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลาการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด เพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศไทย</p>
2025-07-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1668
ศึกษารูปแบบกิจกรรม CSV การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับและความสนุกสนานภายในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการบอกต่อให้เข้าร่วมกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
2025-04-21T00:21:02+07:00
ธนวัฒน์ ขันธวิจิตร์
barodtwo@gmail.com
อริสรา เสยานนท์
arisara_sey@utcc.ac.th
<p>การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นผู้ประกอบธุรกิจสตรีตฟูดที่มีต่อรูปแบบกิจกรรม CSV การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และความสนุกสนานภายในกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรม CSV ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการบอกต่อให้เข้าร่วมกิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการสตรีตฟูดในพื้นที่ดำเนินงานของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่า IOC 0.67-1.00 และความเที่ยงตรง 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรม CSV ของธนาคารออมสิน พบว่า รูปแบบกิจกรรมออนไลน์และออนไซต์มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด การรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการนำความรู้ไปใช้ในธุรกิจ ความสนุกสนานจากเวิร์กช็อปและกิจกรรมสันทนาการได้คะแนนสูงสุด และความตั้งใจบอกต่ออยู่ในระดับดี โดยเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม ทั้งนี้รูปแบบกิจกรรม CSV มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจบอกต่อระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจบอกต่อระดับสูง และรูปแบบออนไซต์มีอิทธิพลมากที่สุด โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความตั้งใจบอกต่อได้ 40.60% ตามสมการพยากรณ์ ความตั้งใจบอกต่อ = 0.908 + 0.042 (ออนไลน์) + 0.372 (ออนไซต์)</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1741
ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการและขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
2025-05-08T00:43:51+07:00
วรัญญา รักษาแก้ว
waranya_161@hotmail.com
สามารถ อัยกร
Saamm_5@hotmail.com
ชาติชัย อุดมกิจมงคล
Chardchai_u@hotmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรและผู้บริหารของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 211 คน โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.379-0.815 และค่าความเชื่อมั่น 0.869 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการ ด้านการเยียวยารักษา (β = 0.630) การอุทิศตนเพื่อพัฒนาคน (β = 0.597) การสร้างมโนทัศน์ (β = 0.485) ความรับผิดชอบร่วมกัน (β = 0.348) ด้านการรับฟัง (β = 0.271) และการเห็นอกเห็นใจ (β = 0.214) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดิน ได้ร้อยละ 62.50 3. ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (β = 0.325) และความรู้สึกเป็นที่รัก (β = 0.199) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอสว่างแดนดินได้ร้อยละ 42.10</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1802
การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาบัญชีในการตรวจสอบการควบคุมภายใน ผ่านตัวอย่างการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ
2025-05-21T21:16:39+07:00
ลัพธ์พร สวราชย์
fbuslps@ku.ac.th
จารุภา วิภูภิญโญ
fbusjpv@ku.ac.th
ฉัตรมงคล วงศ์รัฐนันท์
fbuscmw@ku.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นในความสามารถของนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาบัญชีในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ (action-oriented learning task) และ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ โดยกิจกรรมการเรียนรู้นี้ได้รับการออกแบบโดยบูรณาการบทบาทของนิสิตในฐานะผู้ตรวจสอบภายในเข้ากับบริบทของสถานการณ์ทางธุรกิจจริงผ่านโครงการ KU smart young entrepreneurs เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสาขาวิชาบัญชีมีโอกาสลงมือปฏิบัติงานตรวจสอบภายในจริงตามขั้นตอนหลัก ได้แก่ การวางแผนตรวจสอบ การดำเนินการตรวจสอบ และการสื่อสารผลการตรวจสอบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตสาขาวิชาบัญชีที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการกำกับดูแลกิจการและการตรวจสอบภายใน และเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการดังกล่าว การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเชื่อมั่นในความสามารถของนิสิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ทั้งสามด้าน โดยเฉพาะในด้านการสื่อสารผลการตรวจสอบซึ่งมีค่าเฉลี่ยส่วนต่างสูงที่สุด และมีค่าดัชนีขนาดอิทธิพล (Cohen’s d) เท่ากับ 0.8178 ซึ่งอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ นิสิตนักศึกษามีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับสูง และเห็นว่ากิจกรรมมีส่วนช่วยอย่างชัดเจนในการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในวิชาชีพบัญชี</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1861
การบริหารเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพสู่การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2
2025-05-19T21:21:35+07:00
มรกต ศรีสมยศ
refereepum01@gmail.com
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย
thirasaku@nu.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลกเขต 2 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 3. เพื่อศึกษาอิทธิผลของการบริหารงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สถานศึกษา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพสู่การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก และผลการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานเป็นทีมและการบริหารแบบมีส่วนร่วมมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.665–0.810 3. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีเป้าหมายเดียวกัน ด้านการสื่อสารสองทาง ด้านการมีส่วนร่วมและด้านการมีความไว้วางใจกัน ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.493 มีอำนาจพยากรณ์ ได้ร้อยละ 24.3</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1703
กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จ ของบริษัท เซ็นเตอร์โปร คอนกรีต ในเขตจังหวัดอุดรธานี
2025-04-12T22:25:24+07:00
สุทธิศักดิ์ สายเชื้อ
centerpro.cc@gmail.com
สืบชาติ อันทะไชย
subchat99@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดและความได้เปรียบเชิงการแข่งขันฐานการมุ่งเน้นลูกค้าสำหรับธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จของบริษัท เซ็นเตอร์โปร คอนกรีต จำกัด ในเขตจังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันธุรกิจ การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม 96 ชุด จากการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิควิธีอาศัยความสะดวกกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าของบริษัท ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุดรธานี ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ส่วนผสมการตลาดด้านกายภาพมีอิทธิพลสูงสุดต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จในเขตจังหวัดอุดรธานี รองลงมาได้แก่ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และ ด้านการให้บริการ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ชี้ให้เห็นว่า กลยุทธ์สวนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ กลยุทธ์สวนประสมการตลาดด้านภายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1807
ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก
2025-05-08T00:02:23+07:00
นิติพันธ์ หุณทนเสวี
nitipun.h@ku.th
ศรีรัฐ โกวงศ์
fsocsrg@ku.ac.th
<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลกับระดับความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมการขนส่งทางบกที่มีต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรกรมการขนส่งทางบก จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไคสแควร์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ความรู้ความเข้าใจพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่ง ที่แตกต่างกันมีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 แตกต่างกัน ส่วนเพศ ที่แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่แตกต่างกัน 3. ปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของบุคลากรกรมการขนส่งทางบก</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1611
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร
2025-03-12T19:54:11+07:00
เจษฎากร ธุรารัตน์
boyfrist@gmail.com
กิจพิณิฐ อุสาโห
pmgkitpinit@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลสกลนคร จำนวน 73 คน ในปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ค่าความตรงของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านภาวะผู้นำการบริการจัดการโรงเรียน ด้านภาวะผู้นำทางจริยธรรม และด้านภาวะผู้นำทางการสื่อสาร 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลสกลนคร มีดังนี้ 2.1) ด้านภาวะผู้นำทางการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีกระบวนการในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ความรู้สึกโดยผ่านกระบวนการพูด การเขียน การใช้สัญลักษณ์ การแสดงออก มีทัศนคติของตนเองอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ 2.2) ด้านภาวะผู้นำทางจริยธรรม ผู้บริหารต้องสร้างบรรยากาศ สนับสนุนความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้การสื่อสารเป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน มีข้อตกลงเพื่อสร้างกฎระเบียบของสถานศึกษาเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้แก่ การเข้าใจตนเอง การเข้าใจผู้อื่น 2.3) ด้านภาวะผู้นำการบริการจัดการโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการกำหนดนโยบาย วางแผน ตัดสินใจ สั่งการ รวมทั้งการประสานงานต่าง ๆ และต้องปรับปรุงกลยุทธ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและมีสมรรถภาพทางวิชาการสูง 2.4) ด้านภาวะผู้นำทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้บริหารควรมีรูปแบบการบริหารจัดการทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม มีการจัดการฐานข้อมูลให้เกิดความครอบคลุมในภาระงานและวางแผนพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล สนับสนุนงบประมาณทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1793
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
2025-05-18T20:51:24+07:00
กฤตธิดา ศรีภูวงษ์
momeejil@gmail.com
กิจพิณิฐ อุสาโห
kitpinit@gmail.com
<p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและแนวทางพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เก็บข้อมูลจากครูผู้สอน 108 คนใน 13 โรงเรียน ด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ผ่าน Google Form ได้รับตอบกลับ 98 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.74 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลกลุ่มทุ่งฝน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนงานร่วมกับผู้ร่วมงานโดยมีเป้าหมายทิศทางเดียวกัน รองลงมา คือ การกระตุ้นให้บุคลากรทำงานเต็มศักยภาพและการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่วนทักษะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การนำองค์ความรู้ทางการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับแนวทางพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลที่สำคัญ ประกอบด้วย การบูรณาการองค์ความรู้และติดตามนวัตกรรมการบริหาร เพื่อประยุกต์ใช้กับบริบทของสถานศึกษา การสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรและใช้หลักจิตวิทยาในการบริหารจัดการบุคลากร การพัฒนาระบบสารสนเทศที่ทันสมัย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน และการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นดิจิทัล</p>
2025-07-02T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1850
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานที่มีต่อทักษะการอ่าน เชิงวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ในรายวิชา การบูรณาการการอ่าน เชิงวิชาการกับการพัฒนาองค์กรวิชาชีพของครูภาษาอังกฤษ
2025-05-20T14:43:42+07:00
วิภาศิริ แจ้งแสงทอง
wipasiri.j@lawasri.tru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบเน้นภาระงานที่มีต่อทักษะการอ่านเชิงวิชาการ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิชาการของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาคเรียนที่ 2/2567 จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมเท่ากับ 4.89 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 6 ข้อ 30 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 แบบวัดทักษะการอ่านเชิงวิชาการ จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่น 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจแบ่งออกเป็น 3 ด้าน จำนวน 21 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านเชิงวิชาการของนักศึกษาก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในทุกองค์ประกอบและนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบเน้นภาระงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p>
2025-07-04T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1855
บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก
2025-05-18T22:00:41+07:00
กัญญาภัทร ทัศวงษ์
kanyapatpla2411@gmail.com
จารุวรรณ แก่นทรัพย์
jaruwon.gan@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 132 คน ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 136 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ สำหรับการสัมภาษณ์ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมครูใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองตาก จังหวัดตาก โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอนของครู ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนามีดังนี้ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย แผนงานและโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของครูและผู้เรียน จะช่วยให้การพัฒนาและการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมีทิศทางที่ชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้บริหารควรมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน โดยวางแผนและกำหนดกรอบเวลาสำหรับการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานมีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน และควรจัดให้มีการอบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทักษะ และศักยภาพของครูในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้</p>
2025-07-04T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/jamsd/article/view/1759
ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อก ของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
2025-05-16T00:20:18+07:00
Liang Yizheng
1258064051@qq.com
ชัชชัย สุจริต
csucharit34@gmail.com
อิราวัฒน์ ชมระกา
ichomraka@hotmail.com
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และ 2. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกสั่งซื้อสินค้าเกษตรหรือผลติตภัณฑ์การเกษตรในนครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 384 คน สุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการของสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยภาพรวมมีระดับส่วนประสมทางการตลาดบริการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ส่วนระดับการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาขั้นตอนการตัดสินใจซื้อพบว่า ขั้นตอนการตระหนักถึงปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นตอนการประเมินทางเลือก ขั้นตอนพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อ และขั้นตอนการค้นหาข้อมูล สำหรับการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรบนติ๊กต็อกของลูกค้าในเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก ร้อยละ 44.80</p>
2025-07-04T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการบริหาร การจัดการ และการพัฒนาที่ยั่งยืน