เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae <p><strong>เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN 3056-9702 (Online)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก : </strong> 2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong> วารสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้แบ่งปันความรู้และแนวคิดในรูปแบบบทความคุณภาพในรูปแบบงานวิจัยต้นฉบับหรือบททบทวนครอบคลุมสาขาวิชาหลักๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี </p> th-TH <p>เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร</p> bae@rsu.ac.th (Asst. Prof. Dr. Rujapa Paengkesorn ) bae@rsu.ac.th (Pongyuth Glayuth) Fri, 13 Dec 2024 11:26:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/550 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยา จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน (Cochran) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม พนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรม 4 ดาว ในเมืองพัทยาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.17 โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดในด้านประโยชน์ของพนักงาน ด้านประโยชน์ต่อองค์กร และด้านทิศทางในการบริหารงานที่ชัดเจน ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงาน และตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันมีระดับแรงจูงใจแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน ยกเว้น ด้านเพศที่มีระดับแรงจูงใจไม่แตกต่างกัน</p> ไพรทูล บุญศรี, จินดาภา ลีนิวา, ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/550 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 Development of HR Practice Model for Four-Star Hotel Industry in Yunnan Province during COVID-19 Pandemic https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/786 <p>This study explores the impact of COVID-19 pandemic on human resources in the four-star hotel industry in Yunnan Province, explores the role of human resource practices in four-star hotels in Yunnan Province during COVID-19 pandemic, and proposes a model of human resource practices in the hotel industry. This study used qualitative research as the research design, constructivist as the research paradigm, and grounded theory methodology to investigate the role of human resource practices in four-star hotels in Yunnan Province. The data collection method of this study was in-depth interviews, and data information was collected from 20 human resource practitioners in four-star hotels in Yunnan Province. The data were manually coded and then analyzed. The research results indicate that COVID-19 pandemic has caused human resource impacts and challenges in Yunnan Province. Reasonable implementation of human resource practices can help hotels cope with these impact and reduce hotel losses.</p> RONG HUA, Paratchanun Charoenarpornwattana, Jindapa Leeniwa Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/786 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ และราคาหลักทรัพย์ บริษัทแสนสิริ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/944 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA) และบริษัทแสนสิริ (SIRI) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจัยที่นำมาพิจารณาในครั้งนี้ได้แก่ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดอกเบี้ยเชิงนโยบาย (R) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI) ราคาน้ำมันดิบดูไบ (OIL_WTI) ดัชนีราคาทองคำฟิลาเดลเฟีย (GOLD_XAU) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเป็นข้อมูลรายวัน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 485 วัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน โดยสถิติพรรณนาได้คำนวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมานได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีผลในทิศทางเดียวกันได้แก่ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ดัชนีราคาทองคำฟิลาเดลเฟีย (GOLD_XAU) และมีผลในทิศทางตรงข้ามกันได้แก่ ดอกเบี้ยเชิงนโยบาย (R) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์บริษัทแสนสิริ (SIRI) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยมีผลในทิศทางเดียวกันได้แก่ ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ดอกเบี้ยเชิงนโยบาย (R) ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI) ดัชนีราคาทองคำฟิลาเดลเฟีย (GOLD_XAU) แต่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และราคาน้ำมันดิบดูไบ (OIL_WTI) ไม่มีนัยสำคัญกับราคาหลักทรัพย์บริษัทเสนาดีเวลลอปเม้นท์ (SENA) และบริษัทแสนสิริ (SIRI)</p> ๋จักริน สิริกุลธร, นิธิภา อาจฤทธิ์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/944 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของคะแนนการเปิดเผยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/951 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการเปิดเผยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรร-มาภิบาล กับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บข้อมูลงบการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 จากฐานข้อมูล SETSMART และฐานข้อมูล BLOOMBERG โดยตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษา คือ คะแนนการเปิดเผยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และตัวแปรควบคุม ได้แก่ 1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (CR) 2. อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ (AT) 3. อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ 4. ขนาดของกิจการ (Size) ในขณะที่ตัวแปรตาม คือผลการดำเนินงานทางการเงิน ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ตัวชี้วัดมูลค่ากิจการ (TBQ) โดยการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษามีการทดสอบการประมาณค่าสมการถดถอยด้วยตัวแบบคงที่และตัวแบบสุ่ม โดยใช้ Hausman’s Specification Test ในการเลือกตัวแบบที่เหมาะสม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองด้วยวิธี Random-Effects Regression พบว่าคะแนนการเปิดเผยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานทางการเงินที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 90% แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานทางการเงินที่วัดด้วยตัวชี้วัดมูลค่ากิจการ (TBQ) และผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองด้วยวิธี Fixed-Effects Regression พบว่าคะแนนการเปิดเผยสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ไม่พบความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานทางการเงินที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ตามลำดับ</p> พนิดา คำภาเมือง, ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/951 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย หลังการแพร่ระบาดโคโรน่าไวรัส 2019 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/939 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันการเงินไทย ในช่วงก่อนและหลังการแพร่ระบาดโคโรน่าไวรัส 2019 ทำการเก็บข้อมูลงบการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2565 จากฐานข้อมูลออนไลน์ SETSMART โดยแบ่งกลุ่มสถาบันการเงินออกเป็น 3 หมวดย่อยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ได้แก่ 1) ธนาคาร 2) บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ 3) บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 5 มิติ ประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สภาพคล่อง การวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงิน การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ และการวิเคราะห์มูลค่าตลาดของหุ้น งานวิจัยฉบับนี้มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา โดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรด้วยสถิติ T-Test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา มีเพียงอัตราส่วนเดียว คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม ที่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในช่วงก่อนและหลังสถานการณ์โควิด-19 และผลจากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และผลตอบแทนเป็นตัวแปรตาม อัตราส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น คือ อัตราส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานต่อหนี้สินรวม กำไรต่อหุ้น และราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ&nbsp; &nbsp;</p> ภาณุพงศ์ ธงแถว, คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/939 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของเงินทุนหมุนเวียนต่อดัชนีความล้มเหลวทางการเงิน ก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของบริษัทจดทะเบียน https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/938 <p><span style="font-weight: 400;">บทคัดย่อ</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อ</span><span style="font-weight: 400;"> 1)&nbsp; </span><span style="font-weight: 400;">ศึกษาความแตกต่างของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและตัวแปรควบคุมที่เกี่ยวข้องต่อดัชนีความล้มเหลวทางการเงิน</span><span style="font-weight: 400;"> (Altman’s Z Scores) </span><span style="font-weight: 400;">ก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 และ</span><span style="font-weight: 400;"> 2) </span><span style="font-weight: 400;">ศึกษาผลกระทบของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนต่อดัชนีความล้มเหลวทางการเงินก่อนและระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่รวมกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน โดยเก็บข้อมูล </span><span style="font-weight: 400;">5</span><span style="font-weight: 400;"> ปี เริ่มจากปี 2560 ถึง 2565 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 433 บริษัท รวมข้อมูลทั้งหมด 2,598 ปีบริษัท โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาณ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ&nbsp;</span></p> <p><span style="font-weight: 400;">&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งวัดด้วยระยะเวลาการเก็บเงินจากลูกหนี้การค้า และระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ เพิ่มขึ้นช่วงระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ส่งผลให้กิจการสามารถใช้เงินทุนหมุนเวียนจากแหล่งเงินทุนภายในกิจการชำระหนี้ได้เพิ่มมากขึ้น 2) ความแตกต่างของตัวแปรควบคุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนสินค้าคงเหลือต่อสินทรัพย์ ลดลงช่วงระหว่างการแพร่ระบาดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ส่งผลให้กิจการอาศัยแหล่งเงินทุนจากหนี้น้อย โครงสร้างเงินทุน และขนาดของกิจการ</span> <span style="font-weight: 400;">เพิ่มขึ้นมาจากประเภทของอุตสาหกรรมที่บริษัทนั้นดำเนินงานอยู่ 3) การจัดการเงินทุนหมุนเวียนไม่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความล้มเหลวทางการเงิน&nbsp; งานวิจัยนี้มีการทดสอบการประมาณค่าสมการถดถอยด้วยตัวแบบคงที่และตัวแบบสุ่ม</span> <span style="font-weight: 400;">โดยใช้ </span><span style="font-weight: 400;">Hausman’s Specification Test </span><span style="font-weight: 400;">ในการเลือกตัวแบบที่เหมาะสม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแบบจำลองด้วยวิธี </span><span style="font-weight: 400;">Fixed-Effects Regression </span><span style="font-weight: 400;">มีความเหมาะสมในการพยากรณ์ ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่สุดคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99%</span></p> วรรณศินี ภริทตา; คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/938 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อบ้านศรีดอนชัย ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/987 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อบ้านศรีดอนชัยตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายแกมไหม รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินโครงการจากการลงทุน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม จาก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงได้ทั้งสิ้น 39 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผ้าทอฯใช้กลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ได้แก่ 1) กลยุทธ์เชิงรุก มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดโดยกลุ่มร่วมกันออกแบบลวดลายใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน คือ ลายดอกแก้ว 2) กลยุทธ์เชิงป้องกัน ลดต้นทุนโดยการลดลวดลายที่ซับซ้อนแต่ยังคงรักษาคุณค่าและคุณภาพ 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไข อบรมการคำนวณต้นทุนและผลตอบแทน รวมทั้งการตั้งราคา และ4) กลยุทธ์เชิงรับ อบรมการออกแบบและถ่ายทอดภูมิปัญญาโดยจดบันทึกลวดลายด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบและถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไป เมื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน พบว่าผ้าซิ่นมีต้นทุน 5,061.18 บาท/ผืน มีกำไร2,838.82 บาท/ผืน ส่วนผ้าคลุมไหล่มีต้นทุน 3,278.89 บาท/ผืน มีกำไร 1,221.11 บาท/ผืน ส่วนการประเมินโครงการ พบว่า โครงการนี้มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน</p> สุทธิพร เปี่ยมสุวรรณกิจ, สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/987 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมสถานที่จัดงานไมซ์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/995 <p>จากสถานการณ์โควิด รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบาย Soft power เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งอุตสาหกรรมไมซ์เป็นส่วนสำคัญภายใต้นโยบายนี้ โดยเฉพาะงานเทศกาลต่างๆ ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวนับล้านคน และส่งเสริมให้เงินหมุนเวียนประมาณ 50,000 ล้านบาททั่วประเทศ และวิธีที่จะช่วยในการสนับสนุนรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมาย คือ การสร้างมาตรฐานคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ ที่จะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการจัดการอุตสาหกรรมสถานที่จัดงานไมซ์ ที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการในภาคธุรกิจไมซ์ โดยมีแนวคิดของมาตรฐานที่ใช้หลักการปัจจัยการจัดการ 4M วงจรเดมมิ่ง และหลักการไคเซน นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การพัฒนาอยู่ภายใต้มาตรฐานที่ได้มาจากการศึกษา TMVS, AMVS, ISO 20121, ISO 22483 และ ISO/PAS 5643 โดยงานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจไมซ์ 3 กลุ่ม รวมทั้งหมดจำนวน 9 คนได้แก่ นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย และตัวแทนจากภาคเอกชน และได้ดำเนินการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์ ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมสถานที่จัดงานไมซ์ที่สำคัญประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อกำหนดด้านบุคลากร (Man) ที่เน้นทักษะด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 2) ข้อกำหนดด้านอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดงาน (Machine) ที่ส่งเสริมการพัฒนาเพื่อรองรับรูปแบบการจัดงานแบบ Hybrid ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดงานแบบออนไลน์และออนไซด์ 3) ข้อกำหนดด้านโครงสร้างของพื้นที่จัดงาน และสภาพแวดล้อมสนับสนุน (Material) ที่สนับสนุนการเป็นพื้นที่ที่สามารถจัดงานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ตามลักษณะการใช้งานที่เปลี่ยนไป และ4) ข้อกำหนดด้านบริการจัดงาน (Method) ที่ต้องประยุกต์เข้ากับอัตลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งสามารถบรรยายถึงการแต่งกายแบบไทยและเน้นการบริการที่อบอุ่น อ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นมิตรกับผู้เข้าร่วมงาน</p> ดาริกา แซ่โง้ว, พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/995 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน เซเว่น อีเลฟเว่น เดลิเวอรี่ ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้วิถีความปกติใหม่ ในประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1078 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภค 2) ระดับความคิดเห็นของส่วนประสมทางการตลาด และ3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน เซเว่น อีเลฟเว่น เดลิเวอรี่ภายใต้วิถีความปกติใหม่ ทำการศึกษาแบบเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภค จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ด้วย Independent T-Test และ One Way ANOVA</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 - 29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีรายได้ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท 2) ผู้บริโภคให้ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.07) และ3) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาด พบว่า เพศมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาด อายุมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล และด้านลักษณะทางกายภาพ ระดับการศึกษามีผลต่อส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ และรายได้มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาด คือ ด้านการจัดจำหน่ายและด้านบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> เสาวลักษณ์ ใจบาน, ปุณยนุช สมพัตร์; กัลย์ฐิตา พันธุ์ชัชวาล Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1078 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกสำหรับผู้ส่งออกสินค้า อาหารแปรรูปด้วยเดลฟายเทคนิค https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1065 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกสำหรับ ผู้ส่งออกอาหารแปรรูป โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งออกอาหารแปรรูป อันได้แก่ ผู้ประกอบการที่ส่งออกอาหารแปรรูป ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งออก อาจารย์หรือนักวิชาการทางการส่งออก และเจ้าหน้าที่ศุลกากร รวมทั้งสิ้น 17 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) ทำการเก็บข้อมูล 2 รอบ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลรอบแรก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการจัดกลุ่มคำ และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลรอบที่สอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของคำตอบที่ได้รับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการส่งออกอาหารแปรรูป ประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลักได้แก่ 1) ปัจจัยด้านคุณลักษณะขององค์กรผู้ส่งออก 2) ปัจจัยด้านนโยบายและการสนับสนุนจากภาครัฐ 3) ปัจจัยด้านกิจกรรมโลจิสติกส์ และ 4) ปัจจัยด้านสภาวะตลาดและเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยด้านระยะเวลาในการดำเนินกิจการ ปัจจัยการสนับสนุนทุนในการส่งออกสินค้า ปัจจัยด้านกิจกรรมการดำเนินพิธีทางศุลกากร และปัจจัยด้านการลดมาตราการในการนำเข้าสินค้าของตลาดต่างประเทศ เป็นปัจจัยย่อยที่มีระดับความสำคัญมากที่สุดของปัจจัยหลักในแต่ละด้าน การนำปัจจัยหลักทั้ง 4 ปัจจัย มาพิจารณาเพื่อออกแบบและพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มความสามารถในการส่งออกอาหารแปรรูปให้กับผู้ประกอบการได้</p> Noppadol Suwannasap, จิรวดี อินทกาญจน์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1065 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1070 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภคจำนวน 400 คน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดได้แก่ ปัจจัยด้านกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ และ ปัจจัยด้านราคา มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารบุฟเฟต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยด้านที่มีอิทธิพล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สุทินา ไทยเดชา, จักรพงษ์ สุขพันธ์, อดิศร สิทธิเวช, สุตาภัทร คงเกิด Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1070 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 เศรษฐศาสตร์อาชญากรรมไซเบอร์: สถานะองค์ความรู้และการวิจัยในอนาคต https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1117 <p>อาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความเป็นอยู่ของสังคมไทย ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ความยากจน และการว่างงาน เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่ผลักดันให้คนหันไปสู่อาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มองว่าเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน การศึกษาแม้จะช่วยลดอัตราอาชญากรรม แต่เมื่อผนวกกับทักษะทางเทคนิคก็อาจนำไปสู่การโจมตีทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แม้จะช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ก็เปิดช่องทางใหม่ให้อาชญากรทางไซเบอร์ ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงจากการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ที่รวดเร็ว และระดับความรู้ทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน แม้จะมีกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดตั้งหน่วยงานบังคับใช้เฉพาะทางแล้ว แต่ความท้าทายยังคงมีอยู่เนื่องจากภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ในไทยนั้นรุนแรง นำไปสู่การสูญเสียทางการเงินครั้งใหญ่ ลดการลงทุนจากต่างประเทศ และลดความเชื่อมั่นในแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของอาชญากรรมทางไซเบอร์ และการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างอนาคตดิจิทัลที่ปลอดภัยสำหรับประเทศไทย</p> นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1117 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 เพื่อการพัฒนารูปแบบระบบสุขภาพเชิงป้องกันที่เหมาะสมแก่ประชากรไทยตามแต่ละช่วงวัย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1147 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของประชากรไทยในแต่ละช่วงวัย และนำระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 ช่วยออกแบบและพัฒนาระบบสุขภาพเชิงป้องกัน ให้เหมาะสมกับประชากรไทยในแต่ละช่วงวัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสารและใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพเชิงป้องกัน ระบบธุรกิจอัจฉริยะ และการตลาด 5.0 ระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะลง จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกรสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ประชากรไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยระบบธุรกิจอัจฉริยะและการตลาด 5.0 สามารถจัดการข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์และพยากรณ์ระบบสุขภาพเชิงป้องกันได้ โดยการทำการตลาดในปัจจุบันต้องอาศัยข้อมูลของผู้บริโภคเป็นสำคัญในการวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อให้เหมาะสมกับประชากรไทยแต่ละช่วงวัย รวมถึงแต่ละบุคคลได้ โดยการป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ประชากรไทยทุกช่วงวัยควรให้ความสำคัญ สามารถทำได้โดยการตรวจสุขภาพเชิงป้องกันของแต่ละโรงพยาบาลที่มีอยู่สามารถตรวจคัดกรองได้ไม่คลอบคลุมครบทุกโรค และยังต้องมีการพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มเติม โดยรูปแบบระบบสุขภาพเชิงป้องกันควรให้ผู้ใช้บริการได้เลือกด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมในการตรวจคัดกรองโรคของประชากรไทยแต่ละช่วงวัย</p> คชาภรณ์ สุขนิตย์, ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน, ไพรินทร์ ทองภาพ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/1147 Fri, 13 Dec 2024 00:00:00 +0700