เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae <p><strong>เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN 3056-9702 (Online)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก : </strong> 2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong> วารสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้แบ่งปันความรู้และแนวคิดในรูปแบบบทความคุณภาพในรูปแบบงานวิจัยต้นฉบับหรือบททบทวนครอบคลุมสาขาวิชาหลักๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี </p> คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต th-TH เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ 3056-9702 <p>เนื้อหาในวารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ สามารถนำผลงานไปใช้เผยแพร่ได้ แต่ห้ามนำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ทางการค้าและแสวงหาผลกำไร</p> การพัฒนาช่องทางจัดจําหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัลของวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/434 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาในการดำเนินงานทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อม และ2) แนวทางการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้ช่องทางตลาดดิจิทัลให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาแบบเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (ประธานกลุ่ม) ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 ราย ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการคิดเชิงออกแบบ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาทางการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ ทรัพยากรบุคคล เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นช่างย้อมผ้า ไม่มีเจ้าหน้าที่แผนกการตลาด ขาดความรู้ทางด้านการตลาดดิจิทัล เน้นการขายสินค้าให้กับลูกค้าเจ้าประจำ การขายส่ง หรือขายสินค้าโดยการออกบูธในงานแสดงสินค้า แนวทางการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้ช่องทางตลาดดิจิทัลให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนผ้ามัดย้อม อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ คือ การส่งเสริมความรู้ทางด้านการตลาดดิจิทัล และการตลาดดิจิทัลผ่านช่องทางเพจเฟซบุ๊ก และ2) แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดโดยใช้ช่องทางตลาดดิจิทัลผ่านเพจเฟซบุ๊ก โดยใช้กระบวนการนำเสนอในรูปแบบเนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสารประกอบด้วย ภาพถ่าย การแชร์โพสต์ และข้อคิดเห็นและกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม สอดแทรกความรู้ การเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผ้ามัดย้อม รวมถึงถ่ายทอดวิถีชีวิตของคนในชุมชน และวัฒนธรรมของคนในชุมชน</p> เขมิกา ธนธำรงกุล ปุณยนุช สมพัตร์ ปารณีย์ ปุณยวรากร Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 1 14 การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/964 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษาแบบกรณีเดียว วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาถึงประสิทธิภาพและการจัดการของกรมวิชาการเกษตรที่ทำให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก 2) ศึกษาถึงปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทำให้คุณภาพของทุเรียนของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมแก่การส่งออก และ 3) นำข้อมูลที่ได้นำมาพัฒนาการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและเลือกเก็บข้อมูลจากเกษตรกรชาวสาวทุเรียนและพนักงานของกรมวิชาการเกษตรในจังหวัดจันทบุรีด้วยการบันทึกเสียง และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 10 คน มีอาชีพเป็นเกษตรกร จำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 2 คน จากการให้ข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่าการบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี มี 3 แนวทางด้วยกัน อันประกอบไปด้วย 1) การส่งออกทุเรียนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระบบขนส่ง ล้งที่รับซื้อ การตรวจเปอร์เซ็นต์แป้ง และการบำรุงผลผลิต 2) ปัจจัยการผลิตทุเรียน มีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ และเคมีภัณฑ์ 3) การบริหารจัดการของกรมวิชาการเกษตรต่อการส่งออกทุเรียน โดยมีข้อค้นพบที่เกี่ยวข้องได้แก่ แหล่งข้อมูลข่าวสารซึ่งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเป็นผู้ให้ข้อมูล และการตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหา โดยภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร</p> กันตินันท์ จัตุรัส สมิตา กลิ่นพงศ์ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 15 35 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเงินทุนหมุนเวียนและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: ช่วงก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/435 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเงินทุนหมุนเวียนกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในช่วงก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะบริษัทที่มีข้อมูลงบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินในปี พ.ศ. 2561 – 2565 เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งช่วงก่อนและระหว่างเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 พบว่าระยะเวลารับชำระจากลูกหนี้ ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ และระยะเวลาการเก็บสินค้าคงคลัง มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในทิศทางตรงกันข้าม และพบว่าสถานการณ์โควิด ไม่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ</p> <p>นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรควบคุม ประกอบด้วย ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในทิศทางเดียวกัน แต่อัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในทิศทางตรงกันข้าม</p> <p> </p> จันทนา สาแก้ว ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 36 49 แนวทางการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งระดับบริหารของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพ ในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/494 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ใช้การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกลกลยุทธ์การวิจัยแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติวิทยา ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน ได้แก่ ผู้บริหารสายผลิตของบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง (ผู้จัดการฝ่าย) จำนวน 2 คน ผู้บริหารระดับกลาง (ผู้จัดการส่วน) จำนวน 5 คน และผู้บริหารระดับต้น (หัวหน้าแผนก) จำนวน 3 คน ดำเนินการสร้างแบบสัมภาษณ์โดยใช้แนวทางคำถามตามแนวทางของ Patton และวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของ Colaizzi ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาแผนการสืบทอดตำแหน่งระดับบริหารของผู้ปฏิบัติงานที่มีศักยภาพในบริษัทแห่งหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในจังหวัดกรุงเทพมหานครสามารถสรุปขั้นตอนได้ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินการโครงการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง 2) การกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งงานที่จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง 3) ระดับตำแหน่งที่จะทำการสืบทอดตำแหน่ง 4) การสรรหาคัดเลือกผู้สืบทอดตำแหน่ง 5) การพัฒนาผู้สืบทอด 6) การประเมินผลผู้สืบทอด และ 7) การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้สืบทอด</p> อารียา อ่ำอินทร์ สุนิสา จันทร์อ่อน ปรัชนันท์ เจริญอาภรณ์วัฒนา จินดาภา ลีนิวา Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 50 62 ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ธุรกิจโรงแรม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อน ระหว่างและหลังวิกฤต COVID-19 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/611 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ธุรกิจโรงแรม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก่อน, ระหว่าง และหลังวิกฤต COVID-19 ต่อรูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือหลักทรัพย์กลุ่มการท่องเที่ยว จำนวน 11 หลักทรัพย์ โดยรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีทุติยภูมิ 4 ปีโดยมีการเก็บข้อมูลเป็นแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาเพื่อการเปรียบเทียบ ช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด ช่วงระหว่างเกิดวิกฤตโควิด และ ช่วงหลังวิกฤตโควิด โดยช่วงก่อนเกิดโควิดจะเก็บข้อมูล ตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2561 จนถึง มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการล็อคดาวน์ ช่วงระหว่างการเกิดโควิด จะเก็บข้อมูล ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2563 จนถึง ตุลาคม 2564 รวมถึงช่วงหลังเกิดโควิด จะเก็บข้อมูลตั้งแต่ ช่วงเริ่มต้นมาตราการคลาย Lock down ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ ตุลาคม 2564 ถึง ตุลาคม 2566 รวมทั้งหมด 62 ข้อมูล ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index), ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index), อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าห์สหรัฐต่อบาทไทย (THB/USD), ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI Index), ดัชนีผลตอบแทนรวม (SET Total Return Index), อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย (R) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงซ้อนหลายตัวแปร (Multiple Regression) ด้วยวิธี Enter Method <br />ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ธุรกิจโรงแรม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ในช่วงก่อนเกิดโควิดได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย (R), ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index), ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index), ดัชนีผลตอบแทนรวม (SET Total Return Index), อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าห์สหรัฐต่อบาทไทย (THB/USD), ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI Index) ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ธุรกิจโรงแรม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ในช่วงระหว่างเกิดโควิดได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย (R), อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าห์สหรัฐต่อบาทไทย (THB/USD), ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI Index) ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ธุรกิจโรงแรม ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ในช่วงหลังเกิดโควิดได้แก่ อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทย (R), อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าห์สหรัฐต่อบาทไทย (THB/USD), ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index)</p> จักริน สิริกุลธร ชุลีกร นวลสมศรี Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 63 80 แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิต เจเนอเรชั่น Z กรณีศึกษา: บริษัท ABC จำกัด https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/548 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจรูปแบบตัวเงินกับการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิตเจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด 2) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจที่ไม่อยู่ในรูปแบบตัวเงินกับการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิตเจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิตเจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด วิธีการเก็บข้อมูลใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานเจเนอเรชั่น Z ในแผนกการผลิตของบริษัท ABC จำกัด จำนวน 120 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและการทำวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานฝ่ายผลิตจำนวน 6 คน ผู้บริหารด้านทรัพยากรจำนวน 3 คน และหัวหน้างานฝ่ายผลิตจำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-21 ปี ระดับการศึกษามัธยมปลาย (ม.6) หรือ ปวช. สถานภาพโสด และรายได้ต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจรูปแบบตัวเงินมีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิตเจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด และแรงจูงใจที่ไม่อยู่ในรูปแบบตัวเงินที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของของพนักงานไลน์</p> <p>การผลิต เจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด โดยแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงานได้แก่ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านได้รับการสนับสนุนจากสังคมในที่ทำงาน และด้านการมีโครงสร้างทีมที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า การเพิ่มเงินเดือน สวัสดิการ และการมีเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานที่ดี เป็นแรงจูงใจที่สามารถทำให้พนักงานคงอยู่ในองค์การ ดังนั้น แนวทางในการส่งเสริมการคงอยู่ของพนักงานไลน์การผลิตเจเนอเรชั่น Z บริษัท ABC จำกัด คือ ควรให้ความสำคัญกับการปรับเงินเดือนและสวัสดิการด้านต่าง ๆ เช่น ประกันกลุ่ม รถรับส่ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทจะต้องมีการคัดเลือกหัวหน้างานอย่างเหมาะสม มีการส่งเสริมให้หัวหน้างานได้รับการอบรมการเป็นหัวหน้างานที่ดี หัวหน้างานจะต้องให้ความใส่ใจกับพนักงานในทีมของตนเอง ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นของพนักงานและสนับสนุนการนำแนวคิดที่ดีจากพนักงานไปใช้ประโยชน์ </p> กัมพล พิพัฒนนุวงศ์ ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง ไพรินทร์ ทองภาพ จินดาภา ลีนิวา Copyright (c) 2024 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-07-05 2024-07-05 20 1 81 101