https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/issue/feed เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ 2024-02-07T00:00:00+07:00 Asst. Prof. Dr. Rujapa Paengkesorn [email protected] Open Journal Systems <p><strong>เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์</strong></p> <p><strong>ISSN xxxx-xxxx (Online)</strong></p> <p><strong>กำหนดออก : </strong> 2 ฉบับต่อปี (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)</p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong> วารสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้แบ่งปันความรู้และแนวคิดในรูปแบบบทความคุณภาพในรูปแบบงานวิจัยต้นฉบับหรือบททบทวนครอบคลุมสาขาวิชาหลักๆ ได้แก่ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการบัญชี </p> https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/353 การศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีความแตกต่างในอันดับความน่าเชื่อถือและ คุณภาพการกำกับดูแลกิจการ 2023-12-18T11:26:42+07:00 สวิตรา เพ็ชรนาค [email protected] นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ [email protected] <p>การศึกษานี้เพื่อตรวจสอบตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือและหรืออันดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการ โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน ศึกษาจากข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 264 บริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (TRIS) ในปี 2562 – 2564 ทั้งนี้ไม่รวมธุรกิจการเงิน และใช้การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนสองทาง (Two-Way ANOVA) ในการทดสอบความแตกต่างดังกล่าวที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV) ของบริษัทที่มีอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือต่างกันมีความแตกต่างกัน และบริษัทที่มีอันดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการต่างกันจะมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV) ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้บริษัทที่มีทั้งอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือและอันดับคะแนนการกำกับดูแลกิจการแตกต่างกันจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV) แตกต่างกัน จึงกล่าวได้ว่าอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่สามารถจำแนกบริษัทที่มีอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือและอันดับคะแนนการกำกับดูแลแตกต่างกันออกจากกันได้</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/352 ORGANIZATION DEVELOPMENT ACTIVITY OF DRUG STORE IN PATTAYA CITY 2023-12-18T10:36:55+07:00 Pittaya Piromon [email protected] Paratchanun Charoenarpornwattana [email protected] Rapin Chuchuen [email protected] <p>The aim of this study is to investigate the implementation and level of organizational development activities in drug stores in Pattaya City. The research design follows by qualitative research study for organization development of drug store in Pattaya city that collecting data by interview with 10 participants as pharmacist. Based on the qualitative research, organizational development activities in drug stores can be categorized into five activities: (1) internal organization analysis; (2) external organization analysis; (3) organization development activity strategy; (4) implementing organizational development activity intervention; and (5) organizational development activity evaluation. These activities can be adapted for drug stores to improve their organizational system.</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/366 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทย 2023-12-30T22:18:55+07:00 อมราพร บวรธรรมทัศน์ [email protected] คณิตศร เทอดเผ่าพงศ์ [email protected] <p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรที่วัดโดยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทย โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยดังต่อไปนี้ ขนาดของบริษัทประกันวินาศภัย อายุของบริษัทประกันวินาศภัย อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน อัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยง อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับ ส่วนแบ่งทางการตลาด และ สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ข้อมูลที่นำมาใช้เป็นข้อมูลทางการเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2564 จำนวน 255 ชุดข้อมูลตัวอย่าง และใช้วิธีการถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ในทิศทางเดียวกันหรือทางบวกคืออัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งหมดต่อสินทรัพย์เสี่ยง ในขณะที่อัตราส่วนค่าสินไหมทดแทนมีอิทธิพลในทิศทางตรงข้าม ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้นในทิศทางเดียวกันคือขนาด และส่วนแบ่งทางการตลาด ขณะที่อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงินและอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน มีอิทธิพลในทิศทางตรงข้าม</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/367 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคแปรรูปของผู้บริโภค ในจังหวัดอุบลราชธานี 2023-12-30T22:48:21+07:00 กมลพร นครชัยกุล [email protected] <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคแปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคแปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยบริโภคสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคแปรรูป และมีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้ออาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิคแปรรูปของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้คุณภาพ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับออร์แกนิค ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อสินค้าออร์แกนิค ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และปัจจัยด้านการตระหนักเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยผลการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อวงวิชาการเกี่ยวกับการตลาดผู้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มประเภทออร์แกนิคแปรรูป และเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดแก่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มประเภทนี้ต่อไป</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/368 ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 2019 2023-12-30T23:00:25+07:00 ริญญาภัทร์ กองพล [email protected] ศิรประภา ศรีวิโรจน์ [email protected] นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม ในช่วงระยะเวลาการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 2019 ตั้งแต่ปี 2562-2564 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง ประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียน (1) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (2) กลุ่มบริการ (3) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และทรัพยากร และ (4) กลุ่มเกษตร อุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค รวม 320 บริษัท โดยใช้ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงในผลการดำเนินงานทางธุรกิจที่วัดด้วยอัตราส่วนทางการเงิน และวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในการทดสอบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่ช่วงความเชื่อมั่นในการทดสอบสมมติฐานที่ 95% ผลการวิจัยพบว่าบริษัทจดทะเบียนในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงในผลการดำเนินงานด้านความสามารถในการทำกำไรลดลงในปี 2563 และเพิ่มขึ้นในปี 2564 แต่ขนาดของการเปลี่ยนแปลงจะแตกต่างกันทุกกลุ่มอุตสาหกรรม จากมุมมองของตลาดทุนในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563 พบว่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี และมูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอย่างชัดเจนในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ขนาดของการเพิ่มขึ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างมีน้อยกว่ากลุ่มบริการ สำหรับอุตสาหกรรมอื่นมีขนาดของการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกัน</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/371 ผลของการใช้มูลค่ายุติธรรมต่อความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชี และกำไรสุทธิกับมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2024-01-01T21:42:20+07:00 นิรดาภัค วรสินธุ์ [email protected] นิ่มนวล วิเศษสรรพ์ [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเกี่ยวข้องในมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญของมูลค่าตามบัญชี กำไรสุทธิ และผลกระทบจากวิธีมูลค่ายุติธรรมที่รายงานในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษาจากข้อมูลทางการเงินของกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกโดยวิธีเจาะจงจำนวน 261 บริษัท รวม 1,044 รายปีรายบริษัท เป็นข้อมูลที่รวมผลกระทบจากการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมซึ่งแสดงในงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนตลอดช่วงระยะเวลาที่ใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมตั้งแต่ปี 2559–2562 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มูลค่าตามบัญชี กำไรสุทธิ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญ ในขณะที่ผลกระทบจากวิธีมูลค่ายุติธรรมมีความสัมพันธ์เชิงลบ จึงกล่าวได้ว่าการรายงานผลกระทบจากวิธีมูลค่ายุติธรรมทั้งในส่วนที่แสดงเป็นรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และที่รวมอยู่ในมูลค่าตามบัญชี กำไรสุทธิ มีความเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีความสัมพันธ์กับมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญในทิศทางแตกต่างกัน</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/372 พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลในการรับรู้ข้อมูลและการตัดสินใจซื้อสินค้าและใช้บริการ 2024-01-01T21:54:32+07:00 รุจาภา แพ่งเกษร [email protected] <p>ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นส่วนสำคัญที่น่าสนใจด้วยเป็นการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้าและบริการมาใช้ในชีวิต ซึ่งการจะเกิดพฤติกรรมได้นั้นส่วนหนึ่งมาจากการรับรู้ข้อมูลสินค้าและบริการจากผู้ขายที่ดำเนินการไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยสื่อทางการตลาดต่างๆโดยเฉพาะสื่อสมัยใหม่ประเภทสื่อโซเชียล หรือ Social Media สามารถสร้างความเข้าใจ ทัศนคติ และความชอบสินค้าและบริการนั้น นำไปสู่การตัดสินใจซื้อใช้บริการของผู้ซื้อได้ พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลในการรับรู้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความเกี่ยวข้องระหว่างการใช้สื่อโซเชียลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ ทั้งชนิด ลักษณะ ช่วงเวลาของโซเชียลที่มีผลต่อการรับรู้และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค บทความวิชาการนี้ได้ทำการศึกษาแนวคิดทฤษฎีและสรุปเรียบเรียงจากแนวทางที่ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยสรุปเรียบเรียงไว้ สรุปผลการค้นคว้าดังนี้ คือ ผู้ใช้สื่อโซเชียลส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง อายุ 18-23 ปี มีระดับการศึกษามากที่สุดในระดับปริญญาตรี โดยปัจจุบันชอบใช้สื่อโซเชียลประเภทอินสตราแกรม (Instragram) มากที่สุด รองลงมาใช้ติ๊กต๊อก (TikTok) ทวิตเตอร์ (Twitter) เฟสบุค (Facebook) และสื่อโซเชียลอื่นๆ สำหรับช่วงเวลาที่นิยมใช้สื่อโซเชียลดังกล่าวมีความนิยมใช้สูงสุดในช่วงเวลา 21.01-24.00 น. ช่วงเวลา 18.00-21.00 น. ,ช่วงเวลา 15.01-18.00 น, ช่วงเวลา 13.01-15.00 น., ช่วงเวลา 10.01-13.00 น. และช่วงเวลา 6.00-10.00 น.ตามลำดับ ในด้านเหตุผลของการใช้สื่อโซเชียลส่วนมากเป็นด้านการสร้างความบันเทิงสนุกสนาน การสร้างการรับรู้ข้อมูลสินค้าและบริการ และการทำให้เกิดความต้องการสินค้าและบริการ และนำมาสู่การทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า หากผู้ขายหรือผู้ประกอบการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต้องการให้เกิดการตัดสินใจซื้อและใช้บริการควรต้องมีให้ความสนใจด้านพฤติกรรม ด้านการรับรู้สื่อต่างๆโดยเฉพาะสื่อที่กลุ่มเป้าหมายใช้ในปัจจุบัน ช่วงเวลาการใช้สื่อ และเหตุผลของการใช้สื่อต่างๆ เพื่อนำไปวางแผนทางการทำการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อการตัดสินใจได้ดีที่สุด</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/374 การวิเคราะห์ต้นทุนและความอ่อนไหวของโครงการลงทุนในธุรกิจยาดมสมุนไพร : กรณีศึกษา ยาดมสมุนไพรตราชฎาทอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวาเบลล์ล่าซ์ 2024-01-03T11:15:24+07:00 จงจิตต์ แซ่ลี้ [email protected] ธณกร เทียมอุดมฤกษ์ [email protected] แววระวี ชนะนนท์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการลงทุนธุรกิจ ยาดมสมุนไพรกรณีศึกษายาดมสมุนไพรตราชฎาทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวาเบลล์ล่าซ์ ประชากรคือวิสาหกิจชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพและความงามในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลมาจัดทำรายงานต้นทุนและรายได้ของธุรกิจเพื่อประเมินระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และวิเคราะห์ค่าความอ่อนไหว ผลการศึกษาพบว่า โครงการลงทุนใช้เงินลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 255,400 บาท ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2.63 ปี และเมื่อคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดโดยใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเป็นอัตราคิดลดที่ 15.50% โครงการลงทุนมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 834,088.39 บาท หมายความว่ามูลค่าปัจจุบันรวมของกระแสเงินสดรับมีค่ามากกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกดังนั้นจึงยอมรับโครงการ ในส่วนของการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการเมื่อปัจจัยด้านต้นทุนและรายได้เปลี่ยนแปลงไป พบว่ากรณีต้นทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ10 และร้อยละ 20 ในขณะที่รายได้คงที่จะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิจะลดลงเป็น 720,472.67 บาท และ 606,856.96 บาทตามลำดับ และกรณีรายได้ลดลงร้อยละ 10 และร้อยละ20 ในขณะที่ต้นทุนคงที่จะทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิลดลงเป็น 611,523.84 บาทและ 388,959.28 บาทตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าโครงการลงทุนมีความอ่อนไหวด้านรายได้มากกว่าด้านต้นทุน</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/375 การศึกษาการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาแก่สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย 2024-01-03T11:43:00+07:00 พงศกร อารีย์รักษ์ [email protected] สมิตา กลิ่นพงศ์ [email protected] <p>การวิจัยเรื่องการศึกษาการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาแก่สมาคมกีฬายูยิตสู แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี หรือ การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method) โดยอธิบาย การศึกษาที่ต่อเนื่องเมื่อได้ผลลัพธ์จากการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงนำมาศึกษาหรือทดสอบในการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยด้านการตลาดในการเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาแก่สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาแก่สมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาของสมาคมกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยด้านการตลาดในการเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา คือ เรื่องของการส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ปัญหาและอุปสรรคในการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา คือ ภาวะผู้นำ การวางแผน และการตลาดทางกีฬา และแนวทางการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา คือ เรื่องของ การติดต่อสื่อสาร การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ภาวะผู้นำช่องทางการจัดจำหน่าย การวางแผน การส่งเสริมการตลาด ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ จากประเด็นผลการศึกษาเชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพ จึงนำมาทดสอบและศึกษาเพิ่มเติมในการวิจัยเชิงปริมาณใน 4 ประเด็นคือ 1. ปัจจัยด้านลักษณะประชากรศาสตร์ด้านอายุ ประเภทสถานประกอบการ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการทำงาน ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุน ทางด้านกีฬายูยิตสูแห่งประเทศไทย พบว่า ประชากรศาสตร์ด้านอายุ ด้านประเภทสถานประกอบการ ด้านตำแหน่งงาน และด้านระยะเวลาในการทำงาน ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2. ปัจจัยด้านการตลาดในการเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ช่องทางการจัดจำหน่าย 3. ปัญหาและอุปสรรคในการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา ของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. แนวทางการขอผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬาของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่งผลต่อการตัดสินใจเป็นผู้สนับสนุนทางด้านกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร ช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยทางเศรษฐกิจ</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/bae/article/view/376 กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานองค์กร สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2024-01-03T11:52:20+07:00 จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร [email protected] อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจยุคใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ พนักงานองค์กรเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอผลสรุปในเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงานองค์กรสู่ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจยุคใหม่ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความฉลาดทางอารมณ์ รองลงมาคือ การเป็นแบบอย่างที่ดี การเป็นผู้นำที่ตระหนักรู้ตนเอง การสื่อสารข้ามสายงาน การจัดการทีมงานให้มีประสิทธิภาพ การนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเติบโต การมอบหมายงานและการติดตามงาน กรอบความคิดการบริการลูกค้า การคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ การบริหารงานในรูปแบบโครงการ การบริหารบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตามลำดับ ซึ่งองค์การควรจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ควรคู่ไปพร้อมกับ กิจกรรมการบริหารบุคลากรให้เกิดการพัฒนาตามคุณลักษณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งคุณค่าต่อองค์การต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน</p> 2023-08-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์