วารสารอนัมนิกาย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam มูลนิธิพระมหาคณาธรรมปัญญาปัญญาปัญญาธิวัตร (เจริญกิ๊นเจี๊ยว) th-TH วารสารอนัมนิกาย 2651-1843 การจัดการเรียนการสอนที่ดีเริ่มต้นที่อริยสัจ 4 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam/article/view/707 <p>บทคัดย่อ</p> <p>การจัดการเรียนการสอนที่ดีจำเป็นจะต้องอาศัยหลักอริยสัจ 4 เนื่องจากอริยสัจ 4 เป็นคำสอนที่ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาประการหนึ่งซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงใช้หลักอริยสัจ 4ในการสอนพระสาวกของพระองค์ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือความดับทุกข์ การจัดการเรียนการสอนที่ดีในเบื้องต้นจึงจำเป็นจะต้องอาศัยหลักอริยสัจ 4 เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายสุงสุดของชีวิต</p> <p><strong>คำสำคัญ :</strong> การจัดการเรียนการสอนที่ดี, อริยสัจ 4.</p> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> พระครูสังฆรักษ์สุพจน์ พรหมญาโณ (เสี่ยนดอน) Copyright (c) 2024 วารสารอนัมนิกาย 2023-12-30 2023-12-30 3 2 1 10 นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธบริหารการศึกษา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam/article/view/708 <p>บทคัดย่อ</p> <p>สถานศึกษาที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยหลักพุทธบริหารการศึกษาโดยการดำเนินการให้องค์กรพร้อมที่จะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมตามหลักพุทธบริหาร เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหารหารองค์กรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ หากไม่มีความพร้อมในการรองรับนวัตกรรมและบูรณาการหลักพุทธบริหารการศึกษาทั้งในด้านบุคลากรและบริบทต่างๆขององค์กร ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหารเพื่อสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>คำสำคัญ :</strong> นวัตกรรม, การบริหารสถานศึกษา, หลักพุทธบริหารการศึกษา</p> พระครูเขมาภิวุฒิ อภิชาโต (อันชูฤทธิ์) Copyright (c) 2024 2023-12-30 2023-12-30 3 2 11 17 กัลยาณมิตรธรรม : การสื่อสารที่ดีของผู้นำที่องค์กรต้องการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam/article/view/709 <p class="03-"><span lang="TH">บทคัดย่อ</span></p> <p class="a"><span lang="TH">กัลยาณมิตรธรรมมีความสำคัญในการส่งเสริมการสื่อสารที่ดีของผู้นำในองค์กรอย่างมากเพราะกัลยาณมิตรธรรมมุ่งเน้นเป็นการชี้แนวทางและสนับสนุนให้คนในองค์กรมีการสื่อสารและการจูงใจโดยกัลยาณมิตรที่แท้ต้องเป็นผู้มีศีล ดำรงอยู่ในคุณธรรมที่ดีงาม และสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยกัลยาณธรรม เป็นผู้มุ่งประโยชน์แก่มิตร ไม่คิดทำลาย เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือและอุปถัมภ์ค้ำชู ให้สังคมดำเนินไปสู่แนวทางแห่งความปกติสุขในองค์กร</span></p> ผศ.ดร.สิน งามประโคน Copyright (c) 2024 2023-12-30 2023-12-30 3 2 18 24 การบูรณาการหลักพุทธบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam/article/view/710 <p class="03-"><span lang="TH">บทคัดย่อ</span></p> <p class="a"><span lang="TH">การบูรณาการหลักพุทธบริหารการศึกษาสู่ความเป็นเลิศเป็นการนำหลักพุทธธรรมในทางพุทธศาสนามาบูรณาการร่วมกับหลักการบริหารซึ่งเป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคลากรภายในองค์กร ตลอดจนผู้บริหารทุกระดับ จะต้องมีการบริหาร ตน บริหารคน และบริหารงาน ผู้บริหารจะต้องมีการมองการณ์ไกล เพื่อเป็นแนวทางที่ผู้บริหารจะต้องเรียนรู้องค์ประกอบการบริหารให้ถูกกับงาน ถูกกับคนโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน และประสบความสำเร็จในการบริหารสู่ความเป็นเลิศต่อไป</span></p> พระสุวรรณ ธมฺมวุโธ (เลิศสมาจาร) Copyright (c) 2024 2023-12-30 2023-12-30 3 2 25 32 พระพุทธเจ้าและหลักธรรมตามคติพระสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย https://so15.tci-thaijo.org/index.php/anam/article/view/711 <p>บทคัดย่อ</p> <p>หลักธรรมของพุทธศาสนามหายาน อนัมนิกายถ้ากล่าวกันแล้วมีลักษณะเหมือนของเถรวาท แต่คนละภาษาเท่านั้นเองความหมายมีลักษณะเหมือนกันแทบทุกอย่าง อาจจะมีบ้างที่แตกต่างเพราะเป็นไปตามสภาพของสังคม นั้น ๆ ด้วย เพราะการมีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันจึงทำให้แทบทุกอย่างเหมือนกัน ต่างกันตรงคติที่ยึดถือตามครูบาอาจารย์สืบต่อกันมาเท่านั้นเอง เช่นการมีประวัติของพระพุทธเจ้า การประสูติ ตรัสรู้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการปรินิพพานพร้อมมีหลักธรรมเบื้องต้นที่ศึกษาและเข้าใจในเบื้องต้นเหมือนกัน เช่น มีพรหมวิหาร 4, อิทธิบาท 4 เป็นต้น</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนคติของมหายานนั้นเน้นไปที่พระโพธิสัตว์เป็นส่วนใหญ่ หนังสือเล่มนี้ขอกล่าวถึงเพียงพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นโพธิสัตว์ที่ได้ตั้งปณิธาน ไว้ว่า “จะโปรดเวไนยสัตว์ให้หมดจากบาปทุกภพทุกชาติก่อนแล้วจึงค่อยเข้าสู่แดนพระนิพพานเป็นพระพุทธเจ้า” พระองค์ทรงมีพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ต่อเวไนยสัตว์ทุกหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในโลกมนุษย์ อยู่ในนรกอเวจี ท่านก็เสด็จไปโปรดทุกที่ ในเรื่องของหลักธรรมของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ยังไม่ได้ปรากฏชัด แต่พอสรุปได้โดยนัยว่า ความเมตตากรุณา ความเสียสละ การบริจาคทำบุญ การอดทน เหล่านี้เป็นต้น ทรงสั่งสอนให้เวไนยสัตว์ลด ละ เลิกจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง ให้สร้างแต่กุศล ผลบุญจะได้ช่วยนำส่งในแดนสุขาวดีต่อไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทสวดมนต์ที่ควรตระหนักเป็นเบื้องต้นอยู่เสมอในฝ่ายพระสงฆ์ญวนนั้น เพื่อเป็นการรักษาไม่ให้สูญหายไป เช่น คำอาราธนาศีล, อาราธนาธรรม, อาราธนาพระปริต เป็นต้น และศีล 5,ศีล 10 ควรที่จะศึกษาไว้ให้ชัดเจน</p> ดร.สุริยา แสงอินตา Copyright (c) 2024 2023-12-30 2023-12-30 3 2 33 41