https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/issue/feed
วารสาร ปัญญาลิขิต
2025-03-21T01:33:47+07:00
พระสุภกิจ สุปญฺโญ, ดร.
vi10.aquare333@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสาร ปัญญาลิขิต</strong></p> <p> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านพุทธศาสนาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ การท่องเที่ยว ศิลปกรรมด้านการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน ศิลปศาสตร์ และการศึกษาเชิงประยุกต์ เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแบบ Double-blind จำนวน 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กำหนดตีพิมพ์ปีละ 4 ฉบับ (ราย 3 เดือน)</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม</li> <li>ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน</li> <li>ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม</li> </ul>
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1545
แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านศรีพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
2025-02-24T10:44:59+07:00
จันฑิรา ชีทอง
jantira894@gmail.com
ประภัสสร สมสถาน
Jantira894@gmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านศรีพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูที่ปรึกษาจำนวน 13 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการศึกษาพบว่าสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 4.10, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.18, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58) ซึ่งสะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะชีวิต การแนะแนวอาชีพ และการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ในขณะที่ ด้านการส่งต่อนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย 4.00, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69) แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดในกระบวนการส่งต่อนักเรียนไปยังหน่วยงานภายนอก</p> <p>แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ได้จากการสัมภาษณ์ ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลนักเรียนอย่างเป็นระบบ การใช้แบบประเมินพฤติกรรมในการคัดกรอง การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตและแนะแนวอาชีพ การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างเป็นระบบ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อสนับสนุนการส่งต่อนักเรียน ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p>
2025-03-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร ปัญญาลิขิต
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1497
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
2025-02-13T11:19:51+07:00
ธฤษวรรณ ศิริพรหม
tharusawansiriprom@gmail.com
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
tharusawansiriprom@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากครูจำนวน 357 คน โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 สถิติการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป <br />ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับได้ดังนีโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสารเสนเทศ บรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ การพัฒนาบุคลากร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าน้อยที่สุด ตามลำดับ 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ดังนี้ การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน และการส่งต่อ ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยการบริหารด้านโครงสร้างองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการพัฒนาบุคลากร ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ ร้อยละ 64.7 (มีค่า R2 = 0.647)</p>
2025-03-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร ปัญญาลิขิต
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1499
ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี
2025-02-13T11:11:43+07:00
สุวิมล สาระพัด
bowvru215@gmail.com
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
bowvru215@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 331 คนใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI Modified)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านพัฒนาตนเองควบคู่กับทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รองลงมา คือ ด้านวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ต่ำที่สุด คือ ด้านจัดลำดับความสำคัญของงานได้ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีความเป็นตัวของตัวเองในการสร้างสรรค์และมีอิสระในการปฏิบัติงาน รองลงมา คือ จัดการเวลาและอารมณ์ในการทำงานได้ดี และต่ำที่สุด คือ ใช้เหตุผลและความคิดเชิงบวกในการตัดสินเพื่อแก้ปัญหา และ 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านทักษะชีวิตและการทำงาน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ตามลำดับ ข้อเสนอแนะการวิจัยนำข้อมูลการวัดและประเมินผลรวมถึงการพัฒนาทักษะของครูให้สอดคล้องกับความต้องการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21</p>
2025-03-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร ปัญญาลิขิต
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1528
การพัฒนาชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐาน บูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2025-02-22T18:40:50+07:00
วรัญญา ทองพรหม
coolprang37@gmail.com
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์
mkmitlsu@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.3) ความพึงพอใจหลังใช้ชุดฝึกการพูดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเตียน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2566 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. ชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี 2. แผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 3. แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน 4. แบบประเมินการพูด 5.แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ (t-test) <br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. การพัฒนาชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษประกอบไปด้วย ชุดที่ 1 Place to visit in Kanchanaburi และชุดที่ 2 Onsite activities in Kanchanaburi พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/83.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้<br />2. ประสิทธิผลของชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสรุปดังนี้ 2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้ชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 2.2 ผลการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าในภาพรวมการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับดี 2.3 ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดภาระงานเป็นฐานบูรณาการสาระท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าในภาพรวมผลประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด </p>
2025-03-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร ปัญญาลิขิต
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/1567
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2025-03-09T19:54:16+07:00
เพชรไพลิน ชุ่มชื่น
phetpaiworld@gmail.com
พนิดา จารย์อุปการะ
phetpaiworld@gmail.com
ญดาภัค กิจทวี
phetpaiworld@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช และ 3) เพื่อประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหนองเตียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า<br />1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80<br />2. ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br />3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนว TPACK บูรณาการแหล่งเรียนรู้จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเทคนิคการโค้ช เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความพึงพอใจมาก</p>
2025-03-21T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสาร ปัญญาลิขิต