แนวทางการบริหารจัดการเวลาในพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
เวลา เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกำหนดให้รู้ว่า ในขณะนี้ ในช่วงนี้มีช่วงระยะยาวแค่ไหน โดยอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวกำหนดหลัก ได้แก่การขึ้นและการตกของพระอาทิตย์ บอกให้รู้ว่า เป็นเวลากลางวัน เป็นเวลากลางคืน เป็นต้น ซึ่งในระยะของกลางวัน กลางคืน จะมีช่วง เช้า สาย บ่าย เย็น แบ่งได้เป็นช่วงเวลาต่าง ๆ เวลา สามารถนำมากำหนดการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ให้กระทำไม่กระทำ สิ่งใด ๆ ลงไปในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น ในช่วงเวลากลางคืน จะใช้เป็นเวลาของการพักผ่อนไม่ทำงานหนักบางประเภท
เวลาจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างมาก ดังนั้น การบริหารจัดการเวลา จำเป็นจะต้องรู้จักการวางแผนจัดการสิ่งที่จะทำ สิ่งที่กำลังทำ และสิ่งที่ทำไปแล้ว เพื่อใช้เวลาให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
สติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก ช่วยอุปถัมภ์สนับสนุนหลักธรรมอื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยให้การบริหารจัดการเวลาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การมีสติ ระลึกได้ มีสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในทุกขณะช่วงเวลาของชีวิต ย่อมทำให้มนุษย์จะคิด จะพูด จะทำ สิ่งใด ๆ ย่อมประสบความสำเร็จ เหมาะสมที่จะนำมาบริหารจัดการเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ฝ่ายวิชาการภาษาไทย บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน). (2552). พจนานุกรมไทยฉบับทันสมัยและสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์. (2548). การวิเคราะห์การจัดองค์การบริหารตามแนวพุทธศาสตร์. พุทธจักร, 49(9), 36-48.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ว. วชิรเมธี และวิกรม กรมดิษฐ์. (2557). คาถาชีวิต. กรุงเทพฯ: พริ้นท์ ซิตี้.
อาคม ป้องขันธ์. (2551). กองพุทธศาสนสถานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ วัดพัฒนา 51.กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.