ความสุขในการเจริญวิปัสสนาตามหลักอริยสัจ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสุขตามในการเจริญวิปัสสนาตามหลักอริยสัจ 4 มาจากเหตุที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องสติปัฏฐาน 4 เพราะว่าเป็นธรรมที่ทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ จากกิเลส เพื่อล่วงพ้นความโศกเศร้า เพื่อดับความทุกข์และความโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อทำให้แจ้งนิพพานได้ ซึ่งในการปฏิบัติจะพบว่า มรรคญาณที่มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่นั้น คือ เห็นอริยสัจ 4 อย่างแจ่มแจ้ง เป็นภาวนามยปัญญา ซึ่งมุ่งหมายไปที่เห็นความดับแห่งทุกข์ (นิโรธสัจ) เป็นหลัก เพราะในขณะที่เห็นนิโรธสัจนั้น อริยสัจ 3 ที่เหลือก็ปรากฏอยู่ในนั้นด้วย อุปมาเหมือนเงาที่ติดตาม ต้นไม้ ฉันใด อุปไมยว่า นิโรธเป็นต้นไม้และ อริยสัจ 3 ก็เป็นเช่นเงาแห่งต้นไม้ ฉันนั้น การเห็น พร้อมเพียงกันในขณะเดียว จึงชื่อว่า เห็นแจ้งอริยสัจ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่บรรลุอริยมรรคแล้ว มรรคจิตย่อมพบนิพพาน เข้าถึงซึ่งความสุขที่ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
แนบ มหานีรานนท์. (2557). หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป และหลักปฏิบัติ 15 ข้อ สำหรับผู้เริ่มเข้า กรรมฐาน. นครปฐม: มูลนิธิแนบมหานีรานนท์.
ปราโมทย์ น้อยวัฒน์. (2547). คำสอนในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). (2549). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยรายวัน.
พระพรหมคุณาภรณ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. (2553). คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. นครปฐม: เพชร เกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2541). บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ 2 หลักสูตรตรี. พิมพ์ครั้งที่ 46. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.