การบูรณาการหลักศรัทธาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Main Article Content

พระสรพงณ์ ปญฺญาธโร (จุลละโพธิ์)

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักศรัทธาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า มีหลักธรรมที่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสมบูรณ์นำไปสู่ความสุขมากยิ่งขึ้นนั่นคือหลักศรัทธา 4 ซึ่งหมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล คือ กัมมสัทธา คือ เชื่อในกฎแห่งกรรม วิปากสัทธา คือ เชื่อผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา คือ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง ตถาคตโพธิสัทธา คือ เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หลักธรรมนี้เป็นความเชื่อที่ส่งผลต่อการการพัฒนาในทางพระพุทธศาสนา เป็นการรับรู้หรือความเข้าใจของแต่ละบุคคลที่มีต่อสถานภาพชีวิตของตนเองและค่านิยมที่ใช้ชีวิตอยู่ เมื่อนำหลักศรัทธามาบูรณาการตามบริบทของวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับเป้าประสงค์ ความคาดหวัง มาตรฐาน และความกังวลและความสนใจที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ได้แก่ สุขภาพทางกาย สภาวะทางจิต ระดับความเป็นตัวของตัวเอง ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ทางสังคม ความเชื่อส่วนบุคคล และสัมพันธภาพที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การบูรณาการหลักศรัทธากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ในผ่านชีวิตจริงตามความสนใจ ความสามารถ และความต้องการ โดยการเชื่อมโยงความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้พัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรม ทั้งทางด้านสติปัญญาและจิตใจ สามารถนำความรู้และความสามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

Article Details

How to Cite
ปญฺญาธโร (จุลละโพธิ์) พ. (2022). การบูรณาการหลักศรัทธาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสาร ปัญญาลิขิต, 1(2), 48–58. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/869
บท
บทความวิชาการ

References

ชาญชัย อินทรประวัติ. (2547). การพัฒนาคุณภาพชีวิต. นครราชสีมา: เอเชียสาส์น.

ชุมพร ฉ่ำแสง และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวดนครนายก (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิด้าโพล. (2562). คุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์ในปี 2562. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2562, จาก http://nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=632

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฎราชวิทยาลัย. (2522). วิทสุทธิมรรค. แปล ภาค 3 ตอน 1. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2527). คูมือการศึกษาพระอภิธรรมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ 2 เจตสิกสังคห วิภาค. กรุงเทพฯ: ธเนศวรการพิมพ์.

ศิริ ฮามสุโพธิ์. (2543). ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นดิ้ง.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2557). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบรี: อัพทรูยู ครีเอทนิว.

หลวงเทพดรุณานุศิษฎ. (2518). ธาตุปฺปทีปกา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Maslow, A.H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.

WHOQOL Group. (1994). Development of the WHOQOL: Rationale and current status. International Journal of Mental Health, 23, 24-56.