ปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ปัฐพงษ์ สถาวรสมิต
ปัญจรีย์ จุลไกรอานิสงส์
กุลธิดา ลิ้มเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ได้แก่ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นโดยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการศึกษาตามกรอบแนวคิดของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยนำตัวแปรที่วิเคราะห์ได้ทางสถิติไปสร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแล้วนำมาสังเคราะห์สร้างเป็นปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี


ผลการวิจัยพบว่า วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า วิเคราะห์ปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.02, S.D.=0.78)
โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความต้องการ อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.07, S.D.=0.92) ด้านการไม่เลือกปฏิบัติ-เสมอภาค อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.04, S.D.=0.75) ด้านการบริหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง (=3.02, S.D.=0.62) และด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง (=2.96, S.D.=0.79) ตามลำดับ ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรวดเร็ว X3 ด้านวิธีปฏิบัติงาน X4 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.277 และ 0.421 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สถาวรสมิต ป., จุลไกรอานิสงส์ ป., & ลิ้มเจริญ ก. (2024). ปัจจัยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี. วารสาร ปัญญาลิขิต, 1(2), 13–23. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/PYJ/article/view/565
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2565). มองรอบด้าน "ปัญหาสิ่งแวดล้อม" ที่ทั่วโลกและไทยต้องเผชิญ. สืบค้น

เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1008270

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12.

กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต:

กรณีศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีของศาลเยาวชน

และครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาริสา นิ่มกุล. (2562). ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน (วิทยานิพนธ์

วิทยาศาตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โยษิตา หลวงสุรินทร์ และ ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2564). การบริหารจัดการการเรียนออนไลน์

กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุุดรธานี. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 39(1), 125-140.

ศักดิ์ศรี สืบสิงห์, นิธินาถ อุดมสันต์ และ สุภิมล บุญพอก. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์

สิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะโลกร้อนของประชาชนใน ตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(2), 193-203.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนนทบุรี. (2565). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://nonthaburi.mnre.go.th/th/about/content/1342

สุชาดา กะมะลานนท์. (2557). กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนตลาดสามชุก จังหวัด

สุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Polonsky, M.J.(1994). An Introduction To Green Marketing. Electronic Green Journal. UCLA Library. UC Los Angeles.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.