วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR <p><strong>ISSN:</strong> 3057-0514 [Online]</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม– สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong></p> <p>วารสารภักดีชุมพรปริทรรศน์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงทางด้านมนุษย์และสังคมศาตร์ ได้แก่ ด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญาศาสนา ภาษาบาลีสันสฤต การศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาชุมชน การพัฒนาสังคม รวมถึงสหวิทยาการอื่นๆ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา</p> <p><strong>คำชี้แจงในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p>1. บทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารภักดีชุมพรปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งวิชาการอื่นๆ</p> <p>2. ทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน</strong> ในลักษณะปกปิดความลับของทั้งสองฝ่าย (Double blinded)</p> <p>3. ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารภักดีชุมพรปริทรรศน์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารภักดีชุมพรปริทรรศน์ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีข้อผูกพันด้วยประการใดๆ ทั้งปวง</p> สำนักศาสนศึกษาวัดห้วยหินฝน th-TH วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 3057-0514 อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ กัมพูชา เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กทม. https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1192 <p>บทความนี้เขียนถึง อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ เขมร เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กทม. อันเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่สะท้อนแนวคิดในเรื่องชัยชนะกับการสร้างอนุสรณ์สถานในพระพุทธศาสนา ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตจากพื้นที่จริง และเขียนนำเสนอในรูปแบบบทความทางวิชาการ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การสร้างอนุสรณ์สถานที่เนื่องด้วยชัยชนะจากสงครามมีอยู่ทั่วไปทั่วโลก โดยวัดชัยชยนะสงคราม เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ถูกสร้างด้วยคติดังกล่าว โดยเป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่คลองถม ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร &nbsp;วัดถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของชัยชนะในสมรภูมิกัมพูชา&nbsp; โดยมีวัดหรือศาสนสถานที่เนื่องด้วยสงครามและเหตุการณ์นี้ อาทิ วัดเทพลีลา วัดพระไกรสีห์ (น้อย) และ วัดปราบปัจจามิตร&nbsp;หรือ วัดกระโดน (វត្ត​ក្ដុលដូនទាវ) ที่เมืองพระตะบอง ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2388 &nbsp;วัดพระพุทธโฆสาจารย์&nbsp;หรือ&nbsp;วัดเจินฎ็อมแฎก&nbsp;(វត្តព្រះពុទ្ធឃោសាចារ្យ​) ที่<a href="https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8D">พนมเปญ</a> ล้วนเนื่องจากเหตุการณ์ในสมรภูมิในครั้งนั้นด้วย ประหนึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งสงครามและการต่อสู้ในอดีตด้วย</p> พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร ดิเรก ด้วงลอย มัลลิกา ภูมะธน Copyright (c) 2025 วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 2025-04-23 2025-04-23 3 1 1 11 เอสโตเนีย : ประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวในทาลลินท์ ประเทศ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1191 <p>บทความวิชาการนี้ มุงศึกษาเชิงพื้นที่ของประเทศเอสโตเนีย ผ่านการเล่าเรื่องในพื้นที่ของการท่องเที่ยวทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศเอสตโตเนีย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตเชิงพื้นที่ เขียนเป็นความเรียงในรูปแบบบทความวิชาการ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการการศึกษาพบว่า เอสโตเนียเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของความรัฐชาติโดยแยกประเทศมาจากรัสเซียภายหลังยุคสงครามเย็น ได้มีการสร้างพัฒนการของประเทศโดยใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นกลไกสำคัญ จนกระทั่งประเทศเป็นผู้นำในการพัฒนาผ่านความเป็นรัฐบาลดิจิทัล และเป็นเมืองที่มีพัฒนาการสำคัญอย่างยิ่งยวด จนกลายเป็น E-Government และใช้ระบบ Digital เป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ ในส่วนเมืองทาลลินน์ที่เดินทางเป็นพื้นที่เมืองมรดกโลกของประเทศ เป็นพื้นที่ของการท่องเที่ยว และมีจุดเชื่อมโยงระหว่างประเทศฟินแลนด์ Helsinki &nbsp;ที่มีเรือสำราญขนาดใหญ่ และเดินทางสะดวก ทำให้เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีคนนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว นับเป็นเมืองที่สถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นแห่งยุโรปตะวันออก เชื่อมโยงกับประเทศยุโรปอื่นๆ ในด้านการท่องเที่ยวอย่างสำคัญ</p> พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร ดิเรก ด้วงลอย มัลลิกา ภูมะธน Copyright (c) 2025 วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 2025-04-23 2025-04-23 3 1 12 29 การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1427 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของคนแต่ละบุคคล คนทุกเพศทุกวัยย่อมที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนรู้ทางการเมืองทั้งที่เป็นแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวได้อยู่เสมอ ซึ่งการเรียนรู้ทางการเมืองมีรากฐานมาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะสิ่งที่ได้เรียนรู้และก่อตัวขึ้นในช่วงต้นของชีวิตจะมีผลต่อทัศนคติทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองที่ตามมาในแต่ละวัย ระบบการศึกษาถือเป็นกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่สำคัญที่จะหล่อหลอมกล่อมเกลาคนในสังคมนั้นให้มีความคิด ความเชื่อ และทัศนคติต่างๆ ตามที่สังคมนั้นๆ ต้องการหรือที่สังคมพึงประสงค์นั่นเอง</p> <p>การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั้น มีอยู่ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ 1) ด้านสถาบันครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีการติดตามรับฟังข่าวสารทางการเมืองผ่านแหล่งข้อมูลและทางสื่อประเภทต่างๆ มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง 2) ด้านสถาบันการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนทางการเมืองการปกครอง 3) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อนตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีความสนใจและติดตามข่าวสารทางการเมือง 4) ด้านสถาบันศาสนาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังและการสอนให้ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยยึดถือความเป็นกลาง และ 5) ด้านสถาบันทางการเมืองตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง</p> ธันยารัตน์ พวงสาหร่าย พระปัญญวัฒน์ คุตฺตสีโล อโนราช Copyright (c) 2025 วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 2025-04-23 2025-04-23 3 1 30 44 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาทธรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1450 <p>วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นปัจจัยประการสำคัญที่เป็นการกำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคม และเป็นตัวการที่ทำให้รูปแบบและลักษณะของระบบการเมืองในแต่ละสังคมแตกต่างกันไป การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาทธรรมมี 4 ประการดังต่อไปนี้ คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรเสียสละและการสนับสนุนทางการเมืองควรยึดมั่นและเชื่อถือเคารพในศักดิ์ศรีความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ด้านความสำนึกในหน้าที่ของพลเมืองตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรแสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงานมีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน 3) ด้านตะหนักในผลกระทบของนโยบายตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรมีจิตสาธารณะ ระดมความคิดเพื่อกำหนดนโยบาย ยอมรับผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้น และ 4) ด้านมีความสนใจต่อกิจกรรมทางการเมืองตามหลักอิทธิบาทธรรม ประชาชนควรมีจิตสำนึกให้กับชุมชน สังคม ให้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง ในการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมือง</p> <p>วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเป็นผลิตผลของความรู้ ความคิด และความเชื่อทางการเมืองที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ซึ่งประกอบด้วยสถาบันหลักที่สำคัญ ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง และสถาบันสื่อมวลชน วัฒนธรรมจะสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมมนุษย์ ดังนั้น วัฒนธรรมทางการเมืองจึงมีความสำคัญ คือ สร้างเสริมความชอบธรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการริเริ่มทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยสำคัญของการพัฒนาการทางการเมือง</p> พระปัญญวัฒน์ คุตฺตสีโล อโนราช Copyright (c) 2025 วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 2025-04-23 2025-04-23 3 1 45 58 รูปแบบการเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา 1 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1520 <p>รายงานการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา รูปแบบการเรียนรู้ และปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางรูปแบบการเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาดังกล่าว โดยใช้วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา จำนวน 399 รูป/คน ซึ่งเลือกจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายเปิด และใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยดังต่อไปนี้</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong> 1) พบว่า การเรียนรู้เรื่องไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา 1 ของนักศึกษา โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 2 ที่ 3 ปัจจัยด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ปัจจัยด้านตัวผู้สอน รองลงมา ด้านที่ 4 ปัจจัยด้านผู้เรียน และด้านที่ 5 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ทั้งหมดมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก</p> <p>2) พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านที่ 3 ด้านคุณธรรมจริยธรรม รองลงมา ด้านที่ 1 ด้านความรู้ และด้านที่ 5 ด้านปัญญา ทั้งหมดมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก</p> <p>3) เนื้อหาวิชาเก่าหรือยากเกินไป กิจกรรมการเรียนการสอนขาดกรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่ม นักศึกษามีส่วนร่วมไม่เพียงพอ ผู้สอนขาดการพัฒนาตนเอง นักศึกษาขาดทักษะการเรียนรู้และการคิดวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมการเรียนการสอนไม่เหมาะสม เช่น ห้องเรียนและโสตทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอ ควรปรับปรุงองค์ประกอบทั้งหมดให้มีความทันสมัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong> ;</strong> รูปแบบการเรียนรู้, ไตรสิกขาในรายวิชาพระไตรปิฏกศึกษา, นักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา</p> สัญชัย ทิพย์โอสถ กันตพงศ์ ศานติคีรี สมบูรณ์ ดอกแก้ว จตุพร สิมมะลี สุรเกียรติ บุญมาตุ่น Copyright (c) 2025 วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์ 2025-04-23 2025-04-23 3 1 59 72