การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครอง

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ บัวอ่อน วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรมน จันรอง วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรม, ส่งเสริม, ภาวะผู้นำทางการปกครอง

บทคัดย่อ

            ภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่สำคัญในทุกองค์กร ผู้นำเป็นคนที่มีอำนาจ อิทธิพล หรือความสามารถในการจูงใจสร้างสรรค์ปลูกฝังศรัทธา เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการบริหารองค์กร มีความกล้าหาญ เด็ดขาดและไม่โลภโลเล มีความสามารถที่จะชักนำบุคลากรขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันเป็นความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างผู้นำและผู้ตาม ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งประโยชน์ส่วนตนและองค์กร

            พรหมวิหาร 4 เป็นคุณธรรมพื้นฐานประจำใจสำหรับผู้นำที่สำคัญที่สุด เป็นคุณธรรมอันประเสริฐสำหรับผู้นำที่พึงมีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นหลักธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติตน ผู้นำควรนำหลักคุณธรรมนี้มาบูรณาการซึ่งจะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จมีประสิทธิภาพ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการปกครอง 2) ด้านพฤติกรรมตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรมีความรักความเมตตาต่อประชาชน ควรมีความเด็ดขาดและเข้มแข็งอดทน ควรมีความยุติธรรม 3) ด้านตามสถานการณ์ตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรมีความกล้าหาญ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ควรรู้จักการปรับตัวให้ทันยุคทันสมัย ควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการปกครอง 4) ด้านการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหารธรรม ผู้ปกครองท้องที่ควรกล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาการปกครองประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นควรมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน

References

กุญชลี วรรณโร. (2563). บทบาทการปกครองท้องที่ในปัจจุบัน : การศึกษาความคิดเห็นของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

เจ้าอธิการวิชัย วิชโย (พลโยธา). (2565). ภาวะผู้นำทางการปกครองของเจ้าอาวาสตามความคิดเห็นของประชาชนในตำบลธาตุทองอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2527). “ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วม”. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์ ในองค์การหน่วยที่ 11 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2567). 5 คุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดี. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://prakal.wordpress.com/2010/06/ [21 กุมภาพันธ์].

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2550). ผู้นำที่ดีไม่มีเสื่อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป.

พระครูสุตวรธรรมกิจ (เติม โสภโณ). (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ. กรุงเทพฯ: บริษัทน้ำทิพย์ทัวร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กฟผ.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธรรม.

พระศรีปริยัติโมลี (สมชัย กุสลจิตฺโต). (2547). สงฆ์ผู้นำสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสราวุธ สุขิโต (ปัดจะมะ). (2558). “การประยุกต์ใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 ในการบริหารงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสะอาดสมบูรณ์อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด”. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เศาวนิต เศาณานนท์. (2542). ภาวะผู้นำ. นครราชสีมา: สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2567). พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.songkhla.go.th/files/com_news_laws/2021-04_79d783bbf560239pdf [2 มีนาคม 2566].

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-07-2024

How to Cite

บัวอ่อน ส. ., & จันรอง ว. . (2024). การบูรณาการหลักพรหมวิหารธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการปกครอง. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(3), 37–48. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/973