ปรัชญาการใช้ชีวิตเชิงพุทธในวรรณคดีธรรมบท

ผู้แต่ง

  • สัญชัย ทิพย์โอสถ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อนันต์ ทิพย์โอสถ โรงเรียนเสิงสาง
  • สุเนตร ธนศิลปพิชิต วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปรัชญา, การใช้ชีวิตเชิงพุทธ, วรรณคดีธรรมบท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปรัชญาการใช้ชีวิตเชิงพุทธในวรรณคดีธรรมบท 2) เพื่อวิเคราะห์ปรัชญาการใช้ชีวิตเชิงพุทธในวรรณคดีธรรมบทเรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีผลปรากฏดังนี้

          ผลการวิจัยพบว่า 1) คนไม่มีปัญญา ไม่รู้จักการสั่งสมปัญญา (เบาปัญญา) ไม่ประพฤติตนให้ดีไม่รู้จักหาทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซา ดังนกกระเรียนแก่ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาไม่รู้จักตนให้ดีไม่ได้ทรัพย์ในคราวที่ตนยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่าเหมือนลูกศรที่ตก จากแล่ง 2) คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความแตกต่างระหว่างกรรมดีและกรรมชั่วคำสอนที่เป็นหลักศาสนา คือ ให้ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ คำสอนที่เน้นความประพฤติส่วนบุคคล กิจที่ตนพึงกระทำ คำสอนเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเลือกคบมิตร และความประพฤติด้านอื่นเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

References

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2546). รานงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

พระมหากฤษณะ ตรุโณ และคณะ. (2554). การวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของคนไทยในเชิงปรัชญา. กองวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: ทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2540). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม บริษัทเคล็ดไทย จำกัด.

พนิดา อังจันทรเจริญ. (2548). วิถีแห่งปราชญ์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ลิเบอร์ตี้เพรส.

พระทนงค์ศักดิ์ ปภงฺกโร (ดื่นขุนทด). (2555). การมองโลกตามหลักพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาปรัชญา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอภินันท์ อภินนฺโท. (2544). การศึกษาวิเคราะห์มัชฌิมาปฏิปทาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับทางสายกลางของอริสโตเติล, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน (ผาทา). (2543). การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาวนีย์ เจริญยิ่ง. (2554). ภูมิปัญญาไทย: ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดินสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

รุ่งนิภา เหลียง. (2563). โชเปนฮาวเออร์ข้อวิพากษ์แนวคิดแบบทุนิยม. วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 10) ปี 2563: 80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-07-2024

How to Cite

ทิพย์โอสถ ส. ., ทิพย์โอสถ อ. ., & ธนศิลปพิชิต ส. . (2024). ปรัชญาการใช้ชีวิตเชิงพุทธในวรรณคดีธรรมบท. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(3), 13–23. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/970