การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีตามหลักอิทธิบาทธรรม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การเมืองท้องถิ่น, สตรีบทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในหลายด้าน เช่น การตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรม การติดตามการตรวจสอบการทางานของทางราชการ ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ การรับรู้สภาพของปัญหาอย่างแท้จริง เพราะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่นั้นจะทำให้ทราบถึงความจริงของปัญหา และทำให้สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหานั้นได้
การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรี จะเห็นได้ว่าองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญแก่สตรี เนื่องจากความสำคัญของสิทธิมนุษยชนของสตรีในการร่วมพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ในปัจจุบันสตรีมีความรู้ความเข้าใจมีความสนใจทางการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น ดังนั้น สตรีจึงต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของตนเองเพื่อส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มสตรี ปกป้องสิทธิของสตรี และช่วยกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาท้องถิ่นของตน ดังนั้น สตรีควรมีหลักอิทธิบาทธรรม 4 ประการ คือ 1. ด้านฉันทะ พึงพอใจ ความไม่เบื่อหน่าย ไม่ทอดทิ้งงานหรือท้อแท้ มีกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคสร้างสรรค์ 2. ด้านวิริยะ มุ่งมั่นผลักดัน ควรมีความมุ่งหมั่น กล้าที่จะทุ่มเทให้กับการกระทำโดยไม่หวังผลตอบแทน 3. ด้านจิตตะ ตั้งมั่น มีความคิดที่รอบคอบไม่ปล่อยใจให้ความคิดฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย หมั่นตรวจตราดูแลเอาใจใส่ในงานของตนอยู่เสมอ 4. ด้านวิมังสา พิจารณาไตร่ตรอง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และตรวจสอบข้อบกพร่องตลอดจนปัญหาอุปสรรค หาวิธีแก้ไขอย่างมีเหตุผลมีผล
References
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ. (2535). สตรีไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งกรู๊พ.
เฉลียว บุรีภักดี และคณะ. (2545). ชุดวิชาการวิจัยชุมชน ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรประกาศนียบัตร บัณฑิตการจัดการและประเมินโครงการ. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ชาญชัย คุ้มปัญญา. (2553). อุดมการณ์ทางการเมือง เอกสารประกอบคาบรรยาย รหัสวิชา 2551120 ฉบับเดือนมีนาคม 2553.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม: หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สิริลักษณ์การพิมพ์.
บวร ประพฤติดี และคณะ. (2520). สตรีไทย : บทบาทในการเป็นผู้นำการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ไทยเกษม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่นสถาบันพระปกเกล้า. (2551). สตรีกับการเมือง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2545). การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อีพีเอปริทัศน์.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. หนังสือและสื่อเผยแพร่. กรุงเทพฯ: สำนักประชาสัมพันธ์.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2565) “บทบาทสตรีไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.naewna.com/lady/columnist/35117 [13 ตุลาคม 2565].
Lenore Manderson. (1980). Woman Political and Change. London: Oxford University Press.
Danis Mcquail. (1987). Mass Communication Theory: An Introduction. London: Sage.