การปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาล

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ศักดิ์ บัวอ่อน วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปกครองท้องที่, ผู้นำชุมชน, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

            การปกครองส่วนท้องที่ คือ การปกครองที่รัฐบาลมอบอำนาจให้แก่ประชาชนในท้องที่จัดการปกครองและดำเนินการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของรัฐและผลประโยชน์ของท้องที่ โดยมีการจัดตั้งองค์การขึ้นทำหน้าที่ปกครองท้องที่นั้นๆ การปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ การปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนที่ควรจะมี ควรจะเป็นหรือควรจะประพฤติปฏิบัติเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดี ในการพัฒนาตน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

            การปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลนั้นมีคุณธรรมของการบริหารประกอบด้วย 1. หลักนิติธรรม โดยเปิดโอกาสให้ประชาชน 2. หลักคุณธรรม การสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้านจริยธรรมคุณธรรม 3. หลักความโปร่งใส เปิดโอกาสให้ประชาชนติดตามตรวจสอบการทำงาน 4. หลักการมีส่วนร่วม ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการ 5. หลักความรับผิดชอบ บุคลากรมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และ 6. หลักความคุ้มค่า การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีการส่งเสริมให้บุคลากรในสำนักงานมีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และทรัพยากร พลังงานอย่างคุ้มค่า การบริหารจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ส่วนหนึ่งนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารองค์การเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การสังเคราะห์และถอดบทเรียนนวัตกรรมท้องถิ่นและการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

โกวิทย์ พวงงาม.(2550). เอกสารประกอบการสอนวิชาการปกครองท้องที่. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องที่ไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชูชัย ศุภวงศ์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. (2524). องค์การบริหารส่วนตำบลในแนวทางประชาคม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ไททัศน์ มาลา. (2559). “การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2542). เทศบาลในทศวรรษหน้าเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง. เชียงใหม่: โครงการศึกษาการปกครองท้องที่คณะสังคมศาสตร์.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องที่ไทย หมวดแนวคิดพื้นฐาน: รัฐกับการปกครองท้องที่. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ : แนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม และคณะ. (2564). “การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐ”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เมษายน 2564.

พระครูพิศาลจริยากร เลขธมฺโม (สังข์ขาว). (2562). “จริยธรรม : ปัญหาพฤติกรรมและการจัดการในปัจจุบันของสังคมไทย”. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562.

ไพวรรณ ปุริมาตร. (2563). “การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2563.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2542). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ SK BOOKNET.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2555). โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). การเมืองการปกครองของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2540). ขอบข่ายและวิธีการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามศาสตร์.

วุฒิสาร ตันไชย. (2547). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องที่ ความก้าวหน้าหลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: คลังวิชา.

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2547). “ผลการประเมินความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจและกำกับดูแลตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสน่ห์ จุ้ยโต้. (2538). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรพล สุยะพรหม และคณะ. (2556). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สรายุทธ์ หอมจันทร์. (2563). “ภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ส่งผลต่อการบริหารราชการส่วนท้องที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี”. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-05-2024

How to Cite

บัวอ่อน ณ. . (2024). การปกครองท้องที่ของผู้นำชุมชนตามหลักธรรมาภิบาล. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 1(2), 13–24. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/889