การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธันยารัตน์ พวงสาหร่าย นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา, วิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม
  • พระปัญญวัฒน์ คุตฺตสีโล อโนราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การกล่อมเกลาทางการเมือง, ตามแนวพระพุทธศาสนา, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา พบว่า กระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของคนแต่ละบุคคล คนทุกเพศทุกวัยย่อมที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนรู้ทางการเมืองทั้งที่เป็นแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวได้อยู่เสมอ ซึ่งการเรียนรู้ทางการเมืองมีรากฐานมาตั้งแต่วัยเด็ก เพราะสิ่งที่ได้เรียนรู้และก่อตัวขึ้นในช่วงต้นของชีวิตจะมีผลต่อทัศนคติทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองที่ตามมาในแต่ละวัย ระบบการศึกษาถือเป็นกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่สำคัญที่จะหล่อหลอมกล่อมเกลาคนในสังคมนั้นให้มีความคิด ความเชื่อ และทัศนคติต่างๆ ตามที่สังคมนั้นๆ ต้องการหรือที่สังคมพึงประสงค์นั่นเอง

การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษานั้น มีอยู่ 5 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ 1) ด้านสถาบันครอบครัวตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีการติดตามรับฟังข่าวสารทางการเมืองผ่านแหล่งข้อมูลและทางสื่อประเภทต่างๆ มีการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง 2) ด้านสถาบันการศึกษาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนทางการเมืองการปกครอง 3) ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อนตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรมีความสนใจและติดตามข่าวสารทางการเมือง 4) ด้านสถาบันศาสนาตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังและการสอนให้ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยยึดถือความเป็นกลาง และ 5) ด้านสถาบันทางการเมืองตามหลักสังคหวัตถุธรรม นักเรียนควรได้รับการถ่ายทอดความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จันทรานุช มหากาญจนะ. (2560). การเมืองเปรียบเทียบ. พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์รัตนไตร.

ชรินทร์ สันประเสริฐ. (2543). ระบบการเมืองการปกครอง 1. เอกสารการสอนชุดวิชามนุษย์กับสังคมหน่วยที่ 4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บรรจง กลิ่นสงวน. (2547). “การกล่อมเกลาทางการเมืองและทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา ธรรมวินทร. (2532). “การกล่อมเกลาทางการเมืองโดยผ่านหนังสือเรียน : วิเคราะห์หนังสือเรียนหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช 2521”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พุทธทาสภิกขุ. (2532). บริหารธุรกิจแบบพุทธ. กรุงเทพมหานคร : อตัมมโย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโ. (2566). เอกสารคำสอนหลักรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด.

วิชัย ตันสิริ. (2539). วัฒนธรรมทางการเมืองและการปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสุขุมและบุตรจำกัด.

ศุภวัฒน์ โพธิ์เจริญ. (2547). “การกล่อมเกลาทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิพงศ์ ปานเพ็ชร์. (2550). “การประยุกต์หลักพุทธธรรมกับวิถีชีวิตชุมชน”. รายงานการวิจัยอิสระ. บัณฑิตศึกษา : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ. (2520). ลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพาณิช.

Almond G.A. and Verba S. (1965). The Civic Culture. Boston: Little Brown and Company.

Almond Gabriel A. and Powell G. Bingham Jr. (1980). Comparative Politics Today A World View. Boston: Little brown.

Michael Rush and Phillip Athoff. (1971). Introduction to Political Sociology. London: Western Printing Serviced Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-04-2025

How to Cite

พวงสาหร่าย ธ. ., & อโนราช พ. ค. . (2025). การกล่อมเกลาทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 3(1), 30–44. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1427