อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ กัมพูชา เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กทม.

ผู้แต่ง

  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร Mahachulalongkornrajaviyalaya University
  • ดิเรก ด้วงลอย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • มัลลิกา ภูมะธน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์

คำสำคัญ:

อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ, อานามสยามยุทธในเขมรและเวียดนาม, วัดชัยชนะสงคราม

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนถึง อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ เขมร เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กทม. อันเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่สะท้อนแนวคิดในเรื่องชัยชนะกับการสร้างอนุสรณ์สถานในพระพุทธศาสนา ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสังเกตจากพื้นที่จริง และเขียนนำเสนอในรูปแบบบทความทางวิชาการ

          การสร้างอนุสรณ์สถานที่เนื่องด้วยชัยชนะจากสงครามมีอยู่ทั่วไปทั่วโลก โดยวัดชัยชยนะสงคราม เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ถูกสร้างด้วยคติดังกล่าว โดยเป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า "วัดชัยชนะสงคราม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม อยู่ในพื้นที่คลองถม ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร  วัดถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ของชัยชนะในสมรภูมิกัมพูชา  โดยมีวัดหรือศาสนสถานที่เนื่องด้วยสงครามและเหตุการณ์นี้ อาทิ วัดเทพลีลา วัดพระไกรสีห์ (น้อย) และ วัดปราบปัจจามิตร หรือ วัดกระโดน (វត្ត​ក្ដុលដូនទាវ) ที่เมืองพระตะบอง ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2388  วัดพระพุทธโฆสาจารย์ หรือ วัดเจินฎ็อมแฎก (វត្តព្រះពុទ្ធឃោសាចារ្យ​) ที่พนมเปญ ล้วนเนื่องจากเหตุการณ์ในสมรภูมิในครั้งนั้นด้วย ประหนึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งสงครามและการต่อสู้ในอดีตด้วย

References

ถนอม อานามวัฒน์. (2516). ความสัมพันธ์ระหว่างไทยเขมรและญวนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไทยรัฐ. (2558)."จารึกพระยาบดินทร์ ยังอยู่ดีที่...พนมเปญ". สืบค้น 18 มีนาคม 2567.

จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/477130

พระมหาสยาม สยามิโก และคณะ. (2567). อนุสรณ์พิธีพระราชทานเพลิงศพพระราชวิริยสุนทร

(ยิน วรกิจฺโจ ป.ธ.๕). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเซียง.

โพสต์ทูเดย์. (2558)."แกะรอยไทย ในพระตะบอง". สืบค้น 18 มีนาคม 2567.

จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/340428

รุ่งอรุณ กุลธำรง. (2556). วัดกับมัสยิดริมคลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการดำรงอยู่. วารสารไทยศึกษา.

(2),59-96.

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์. (2556). คลองแสนแสบ : ความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลง. วารสารไทยศึกษา.

(2),1-23.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2022). "วัดกระโดนหรือวัดปราบปัจจามิตร". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.

สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567. จาก https://www.blockdit.com/posts/6341a0d61164e653f85a63d1

ศานติ ภักดีคำ. (2553). คลองแสนแสบ : ความสำคัญในฐานะเส้นทางเดินทัพไทย-กัมพูชา.หน้าจั่ว ว่าด้วย

ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. 6 (2553),165-180.

________. (2549). ศิลาจารึกเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ณ วัดพุทธโฆสาจารย์ กรุงพนมเปญ

(K.1213). วารสารดำรงวิชาการ .5 (2),172-186.

________. (2557). "วัดเทพลีลา วัดของเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สร้างคราวขุดคลอง "แสนแสบ"".

ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567

จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_39250

________. (2560). "เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กับบทบาทสร้างเมืองใหม่ในกัมพูชา".

ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้น 15 มีนาคม 2567. จาก

https://www.silpa-mag.com/history/article_43224

กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2567). เปิดที่มา “ถนนเชียงใหม่” ฝั่งธนบุรี ชื่อ “เชียงใหม่” แต่ทำไมมาอยู่

กรุงเทพฯ?. ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2567.

จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_133163?

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-04-2025

How to Cite

พุทฺธิสาโร พ., ด้วงลอย ด. ., & ภูมะธน ม. . (2025). อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในสงครามอานามสยามยุทธ กัมพูชา เวียดนาม : วัดชัยชนะสงคราม กทม. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 3(1), 1–11. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1192