วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมทางการเมือง, ประชาชน, ระบอบประชาธิปไตยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พบว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งแปลว่า “ประชาชนเป็นใหญ่” คือ การที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยหรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 การปกครองในระบอบประชาธิปไตยสิ่งสำคัญก็คือ “ประชาชน” และ ความสมบูรณ์แบบของระบอบประชาธิปไตยก็คือ การที่ประชาชนสามารถเข้ามามีสิทธิมีเสียงในการปกครอง แต่เนื่องจากความจำกัดหลายๆ ด้าน เช่น การมีจำนวนประชากรมากเกินกว่าจะเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้โดยตรง ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจึงถือเป็นบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยสรุปมีอยู่ 3 ประการ คือ 1) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ คือ ประชาชนคิดว่าการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ และประชาชนคิดว่าการเมืองไทยมีแต่ความวุ่นวาย การติดตามข่าวสารเป็นการเสียเวลา 2) วัฒนธรรมทางการเมืองด้านแบบไพร่ฟ้า คือ ประชาชนมีสิทธิในทางการเมืองแต่ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และประชาชนมีสิทธิในทางการเมืองแต่ตัวเองเพียงลำพังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองได้ เชื่อฟังกฎหมายถึงแม้รูสึกว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม 3) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในระบบการเมืองของไทย เสียงของตนเองนั้นมีความสำคัญในทางการเมือง คิดว่าตนเองมีความสามารถเข้าไปตรวจสอบนักการเมืองได้
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กมล สมวิเชียร. (2514). วัฒนธรรมการเมืองไทยกับการพัฒนาการเมือง. ในวรรณไวทยากร: รัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
จรูญ สุภาพ. (2522). หลักรัฐศาสตร์. ฉบับปรับปรุงแก้ไขใหม่ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วัฒนาพานิช.
จิรพันธุ์ วิสูตรศักดิ์. (2547). “การดำเนินงานตามบทบาทขององค์การบริการส่วนตำบลหนองสาหร่ายอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมาในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่น”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาสารคาม.
ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2563). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิมิต ไชยรัตน์. (2551). “การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี”. สารนิพนธ์
ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พจนานุกรมพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ 2556. (2556). พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.
“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 6 เมษายน.
ศันสนีย์ ตันติวิท. (2550). “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco-Tourism) กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะล้านต่อท้องถิ่น”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 กันยายน-ธันวาคม.
อภิชญา พรรณศรี. (2561). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์. มหาสารคาม : เดอะปริ้นท์.
Gabriel A. Almond and Sidney Verba. (1965). The Civic Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little Brown.