การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐตามหลักอิทธิบาทธรรม

ผู้แต่ง

  • พระศรีสัจญาณมุนี พระศรีสัจญาณมุนี Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chaiyaphum Sangha College
  • พระครูปลัดสุพรรณ สีกลาง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, นโยบาย, กองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่า ปัจจุบันสิทธิด้านสาธารณสุขของประชาชนชาวไทยที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพจากรัฐได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งได้บัญญัติถึงสิทธิด้านสาธารณสุขของประชาชนไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ บุคคลผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” เป็นรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ส่งเสริมสิทธิด้านสาธารณสุขของประชาชน ได้กำหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุนฯ ในด้านต่างๆ อาทิ โดยเป็นผู้มีสิทธิเข้ามารับบริการ การบริหารจัดการ การรับรองคุณภาพบริการ การพัฒนาคุณภาพบริการ การจัดบริการสุขภาพโดยชุมชนและการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ เป็นต้น

การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐตามหลักอิทธิบาทธรรมมี 4 ประการ คือ 1) ด้านการตัดสินใจ ประชาชนควรมีส่วนร่วมในคิดวางแผนแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน 2) ด้านการดำเนินงาน ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการติดตามการดำเนินงาน 3) ด้านการรับผลประโยชน์ ประชาชนควรได้รับการพัฒนาสุขภาพพลานามัยที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจในการบริการสุขภาพมากขึ้น 4) ด้านการติดตามและประเมินผล ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามแผนงาน มีส่วนร่วมในการสรุปผลการดำเนินงานประจำปี

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กองสนับสนุนสุขภาพของภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2565). ประวัติการสาธารณสุขมูลฐาน. ออนไลน์. แหล่งที่มา : http://phc.moph.go.th/ www_hss/central/Intro1_3.php. กรกฎาคม.

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. (2566). “การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดพังงา”. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2566.

ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร. (2532). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณิชนันท์ งามน้อย. (2557). “ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบริการสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ. (2544). “การวิจัยการมีส่วนร่วมทางส่งเสริมการเกษตร”. รายงานการวิจัย. คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณฑา เก่งการพานิช และคณะ. (2557). แนวทางการดำเนินงานควบคุมบุหรี่ม้วนเองโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560”. (2560). ราชกิจจานุเบกษา 134 เมษายน.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). (2543). คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2554. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. (2566). ข้อมูลพื้นฐาน. ออนไลน์. แหล่งที่มา : https://bansok.go.th/public/ เมษายน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-12-2024

How to Cite

พระศรีสัจญาณมุนี พ. ., & สีกลาง พ. . (2024). การมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพภาครัฐตามหลักอิทธิบาทธรรม. วารสารภักดีชุมพลปริทรรศน์, 2(3), 46–61. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JPCR/article/view/1166