วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR <p><strong>ISSN:</strong> 3027-7965 [Online]</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"><strong>กำหนดออก :</strong> 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, ฉบับที่ 2 พฤษภาคม– สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม </span></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong></p> <p>วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงทางด้านมนุษย์และสังคมศาตร์ ได้แก่ ด้านพระพุทธศาสนา ปรัชญาศาสนา ภาษาบาลีสันสฤต การศึกษาเชิงประยุกต์ การพัฒนาชุมชน การพัฒนาสังคม รวมถึงสหวิทยาการอื่นๆ ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นิสิตนักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา</p> <p><strong>คำชี้แจงในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p>1. บทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือแหล่งวิชาการอื่นๆ</p> <p>2. ทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน</strong> ในลักษณะปกปิดความลับของทั้งสองฝ่าย (Double blinded)</p> <p>3. ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ ทั้งนี้กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีข้อผูกพันด้วยประการใดๆ ทั้งปวง</p> วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย th-TH วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ 3027-7965 ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1184 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่เคยซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp; การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์&nbsp; ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านบุคคล ตามลำดับ</li> <li class="show">ประชาชนที่มี อายุ เพศ อาชีพ และรายได้ต่างกัน พบว่ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ ตลาดผลไม้ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไม่แตกต่างกัน</li> </ol> พีรัชชัย แสสนธิ์ นฤชล ธนจิตชัย Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 2567 3 50 57 ภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1157 <p>พ</p> <p>บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการโดยบูรณาการกับหลักสัปปุริสธรรม พบว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยและมีบทบาทต่อชุมชน โดยการอบรมคุณธรรม จริยธรรม อุปนิสัยดีงามให้กับคนในสังคมและชุมชน ให้ความอนุเคราะห์ด้านสาธารณะตามความต้องการของประชาชน ด้วยหลักคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า พระสงฆ์ถือว่าเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ถือว่าเป็นผู้นำให้กับชุมชนอันเป็นที่ยอมรับ พระสงฆ์นอกจากจะทำหน้าที่ตนเองเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมชุมชนอีกด้วย ด้วยความเป็นจริง ชีวิตของพระสงฆ์มีความสัมพันธ์กับชุมชนทางด้านความเป็นอยู่ต้องพึ่งพาอาศัยชาวบ้าน ในขณะเดียวกับ พระสงฆ์ก็ต้องตอบแทนชุมชนตามที่พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเธอจงจารึกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของมหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก</p> <p> ภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรมมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาจิตใจประชาชนโดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนได้เข้าใจหลักธรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) ด้านการศึกษาสงเคราะห์โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรควรจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์และแจกทุนการศึกษาเพื่อให้แก่เด็กและเยาวชน 3) ด้านการสาธารณสงเคราะห์โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการประกอบงานการกุศลและอกุศล 4) ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรส่งเสริมศีลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม ควรจัดกิจกรรมสะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่น</p> พระนรินทร์ เอมพันธ์ ผศ.ดร. Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 2567 3 1 11 การจัดการเชิงกลยุทธ์ในองค์กรสมัยใหม่ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1159 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารในองค์การสมัยใหม่ได้มีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง เทคโนโลยีในยุคของโลกาภิวัฒน์ สภาพแวดล้อมที่มีทั้งโอกาสและอุปสรรคเข้ามาในองค์กรอย่าสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริหารในองค์กรมีการพยากรณ์ คาดการณ์ในการบริหารองค์การ ตัดสินใจให้มีทิศทางเพื่อให้องค์การอยู่ได้อย่างมั่นคง จึงควรมีเครื่องมือเทคนิคในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพ จึงนำเสนอในรูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ในองค์กรสมัยใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกในการบริหารองค์การให้อยู่รอดและปลอดภัย</p> <p> การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เป็นศาสตร์และศิลป์ทางด้านการบริหารงานในองค์การ ผู้บริหารจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทำอย่างไรจึงจะให้องค์กรบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลแลงทางเศรษฐกิจ สังคมและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากร ในฐานะผู้บริหารจำเป็นจะต้องรู้จักเลือกคนและนำคน นำจุดแข็งและความรู้ความสามารถของคนมาหลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ที่สามารพัฒนาก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องและสิ่งสุดท้ายคือผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อสร้างภาพที่อยากให้องค์กรเป็นไปในอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน รวมทั้งจะต้องรู้จักวางแผนกลยุทธ์ เพราะกลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรือความเป็นเลิศซึ่งต้องอาศัยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ผู้วางแผนกลยุทธ์จะต้องสามารถมองไปข้างหน้าได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้</p> สรรค์ชัย ไชยสกุลวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 2567 3 38 49 พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักสาราณียธรรม https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1172 <p>บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยบูรณาการตามหลักสาราณียธรรม พบว่า การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยส่งเสริมทำให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา สังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเศรษฐกิจ ผู้รับสารจึงมีทางเลือกในเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้หลายช่องทางได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบุคคลทั่วไปผ่านสื่อต่างๆ จึงมีพฤติกรรมความต้องการในการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองด้วย การรับข่าวสารทางการเมืองที่แต่ละบุคคลได้รับอาจเป็นปัจจัยประเภทหนึ่งที่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของแต่ละบุคคล กล่าวคือการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจะมีอัตราสูง และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง</p> <p> พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสาราณียธรรมนี้ มี 6 ประการ คือ 1) ด้านเมตตากายกรรม ควรดำรงตนอยู่ในศีลธรรมสำรวมระวังในอกุศลกรรมความไม่ดีทางกาย 2) ด้านเมตตาวจีกรรม ควรใช้ปิยวาจา คือวาจาที่ไพเราะรื่นหู 3) ด้านเมตตามโนกรรม การคิดต่อกันด้วยเมตตา จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี 4) ด้านสาธารณโภคี การรู้จักแบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกันหาร่วมกันทำโดยยุติธรรม 5) ด้านสีลสามัญญตา การมีความประพฤติเสมอภาคกัน 6) ด้านทิฎฐิสามัญญตา การมีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน</p> สมศักดิ์ บัวอ่อน Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 2567 3 12 24 การประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JGCR/article/view/1175 <p>บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาการประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ปัจจุบันสังคมไทยจัดเป็นสังคมแห่งโลกนวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างไร้พรมแดนส่งผลให้การดำเนินชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะค่านิยมที่มุ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม รัฐบาลซึ่งเป็นกลไกในการปกครองประเทศย่อมมีภาระหน้าที่อย่างมากมายในการบริหารประเทศให้ประชาชนได้รับความสุข แต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะดูแลและจัดทำบริการให้กับประชาชนได้ทั่วถึงทุกชุมชนของประเทศ อาจจะไม่ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละชุมชนได้ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมากเนื่องจากเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดและมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประชาชนและสามารถจะตอบสนองความต้องการเบื้องต้นของประชาชนได้</p> <p> การประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนี้มีอยู่ 4 ประการ คือ 1) ด้านปัญญาตามหลักฆราวาสธรรม ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตระหนักในจริยธรรมประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อตรงตามหลักนิติธรรม 2) ด้านความกล้าหาญตามหลักฆราวาสธรรม ผู้บริหารองค์การท้องถิ่นควรเป็นผู้มีบุคลิกที่ดีมีความกล้าหารมีความศรัทธาเป็นที่ไว้วางใจของชุมชน เข้าสู่อำนาจด้วยกลไกทางการเมืองประพฤติปฏิบัติตนมีความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านความรู้จักประมาณตามหลักฆราวาสธรรม ควรปฏิบัติตามความเหมาะสมต่อประชาชน ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ตรงจุด และ 4) ด้านความยุติธรรมตามหลักฆราวาสธรรม ปฏิบัติราชการตามภารกิจด้วยความโปร่งใส มีจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตย</p> ธันยารัตน์ พวงสาหร่าย Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-10-26 2024-10-26 2567 3 25 37