ศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมประวัติของพระพุทธเจ้าตามแนวเทววิทยาและมนุษยนิยม

ผู้แต่ง

  • บรรพต แคไธสง
  • พูนศักดิ์ กมล

คำสำคัญ:

พุทธประวัติ, เทววิทยา, มนุษยนิยม

บทคัดย่อ

ประวัติของพระพุทธเจ้าถูกรจนาขึ้นโดยนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นวรรณกรรมที่เราสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะด้วยกัน คือ ๑.พุทธประวัติในเชิงจินตกวีหรือพุทธประวัติแบบเทววิทยา (Theology) ๒.พุทธประวัติในเชิงมนุษยนิยม (Humanism) ซึ่งลักษณะแรกจะเห็นได้ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถาที่นิพนธ์โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ส่วนลักษณะที่ ๒ จะเห็นได้ในหนังสือพุทธประวัติของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ขณะที่หนังสือพุทธประวัติจากพระโอฏฐ์ของท่านพุทธทาสภิกขุจะมีทั้งสองแบบ  พุทธประวัติแบบเทววิทยาอย่างคัมภีร์ปฐมสมโพธิกถามีรูปแบบการนำเสนอคล้ายคัมภีร์ลลิตวสิตตระของมหายาน โดยมีต้นแบบคืองานนิพนธ์เรื่องพุทธจริตของท่านอัศวโฆษที่เน้นอิทธิปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าและเรื่องราวที่เหนือธรรมชาติโดยเน้นสร้างศรัทธาความเชื่อให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชน  ขณะที่พุทธประวัติแนวมนุษยนิยมถือว่า เป็นวรรณกรรมสำคัญเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นแนวโน้มวรรณกรรมของสังคมไทยในยุคปฏิรูปพระพุทธศาสนาให้ทันสมัยแบบตะวันตก  สิ่งที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้ปรากฎในวรรณกรรมชิ้นนี้คือวิธีคิดแบบตะวันตกตามแนวมนุษยนิยมของผู้นิพนธ์สะท้อนให้เห็นถึงความเสื่อมไปอย่างสิ้นเชิงของจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิและจารีตการเขียนพุทธประวัติแบบดั้งเดิม สิ่งที่เหลือให้เราเห็นคือการวิพากษ์วิจารณ์ การตั้งคำถาม การตีความ การวิเคราะห์ ในเชิงเหตุผล และการตัดเนื้อหาที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยศาสตร์สมัยใหม่ นอกจากนั้นยังสะท้อนถึงแนวคิดแบบมนุษยนิยมที่พยายามจะนำเสนอประวัติของพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์คนหนึ่ง ไม่ใช่บุคคลศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยเรื่องอภินิหาร เมื่อมองในแง่สังคม แน่นอนว่า วรรณกรรมชิ้นนี้เป็นผลผลิตแห่งบริบทสังคมไทยยุคนั้น ในขณะเดียวกันก็เป็นความพยายามที่ผู้ประพันธ์จะนำเสนอพระพุทธศาสนาแบบใหม่ไปสื่อสารกับคนในยุคของท่าน การศึกษาเปรียบเทียบพุทธประวัติทั้งสองลักษณะจะช่วยให้เราเข้าใจประวัติและบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

References

ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. พระประวัติและพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรบริการ, ๒๕๑๕.

ธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พระ. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘, กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๐.

พระเถระ ๓๐ รูป. ปฐมสมโพธิ ๓๐ ปริจเฉท. พระเถระ ๓๐ รูป แต่งถวายรัชกาลที่ ๕, พระนคร :

โรงพิมพ์ไท, ๒๔๗๑.

พิมลธรรม (ชอบ อนุจารีมหาเถระ ร.บ.), พระ. พุทธประวัติทัศนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ ๕, (พิมพ์เป็นธรรม

บรรณาการ ในการทำบุญอายุครบ ๔ รอบ ๔๘ ปี พระเมธีวรญาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโอรสาราม

๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙).

พุทธทาสภิกขุ. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, สุราษฏร์ธานี : ธรรมทานมูลนิธิ, ๒๕๒๙.

___________. เกียรติคุณของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๔.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พุทธานุพุทธประวัติ. พิมพ์ครั้งที่ ๒๖, กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙.

สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว). ปฐมสมโพธิ. กรุงเทพฯ. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

สมภาร พรมทา. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๔.

สุนทร ณ รังสี. ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. อุปกรณ์วรรณคดีทางพระพุทธศาสนา คู่มือพระปฐมสมโพธิ. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๕.

เสถียรพงษ์ วรรณปก. พุทธศาสนา : ทัศนะและวิจารณ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พรินติ้งกรุ๊พ, ๒๕๓๙.

เสมอ บุญมา. อัตถาธิบายและวิเคราะห์ศัพท์ในปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ : หจก.สำนักพิมพ์ประกายพรึก,

๒๕๓๖.

รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. แสง มนวิฑูร ผู้แปล. พิมพ์ครั้งที่ ๔, ในงานพระราชทานเพลิงศพ

ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิฑูร, กรุงเทพฯ, ๒๕๑๗.

วงเดือน สุขบาง. การศึกษาปฐมสมโพธิกถาในแนวสุนทรียะ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๒๔.

วัลลีย์ ภิงคารวัฒน์. ชินาลังการ : การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร

มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๒.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2024