ภาวะผู้นำทางจริยธรรมของผู้นำยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • ว่าที่ ร.ต.หญิง สุทธญาณ์ โอบอ้อม ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
  • กฤตพร จวบฤกษ์เย็น ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี กรมเจ้าท่า
  • จิราภรณ์ สังข์กลิ่นหอม โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางจริยธรรม, ผู้นำยุคใหม่

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการเรื่องนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา ภาวะผู้นำทางจริยธรรมของผู้นำยุคใหม่ ควรมีลักษณะอย่างไร จากการศึกษาพบว่า ผู้นำยุคใหม่ต้องมีภาวะผู้นำทางด้านจริยธรรม กล่าวคือ มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำเชิงรุก สามารถนำแนวคิด (Paradigm) มาใช้นำองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลวัตอยู่เสมอ ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำที่มีคุณสมบัติสำคัญของผู้นำยุคใหม่ได้จากทั้งประสบการณ์โดยตรงและโดยอ้อมที่กลั่นกรองจากการทำงานร่วมกับผู้นำยุคใหม่ท่านต่างๆ ในองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ คือ “หลัก 3 C” ดังนี้ 1) Consistency ความเสมอต้นเสมอปลาย 2) Communication การสื่อสาร และ 3) Calm ความนิ่งหรือความมีสติ ส่วนภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมนั้น นำเอาหลักจริยธรรมของโคลเบอร์ค มี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การลงโทษและการเชื่อฟังที่รับรู้เฉพาะตน  ขั้นที่ 2 ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการแลกเปลี่ยนกันเพื่อแสวงหารางวัล ขั้นที่ 3 ความสัมพันธ์และการกระทำตามรูปแบบตามที่ผู้เห็นชอบ ขั้นที่ 4 ระบบสังคมและความมีสติรับผิดชอบ ขั้นที่ 5 สิทธิและความผูกพันในสังคมที่จะทำตามคำมั่นสัญญา และขั้นที่ 6 การยึดมโนธรรมตามหลักสากล

References

จริญญาภรณ์ ศรีจันดารี และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2563). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

ชุติมา รักษ์บางแหลม. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและประเด็นปัญหาจริยธรรม ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชุติมา รักษ์บางแหลม และคณะ. (2559). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม:หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.

ไชยา ภาวะบุตร. (2554). ความเป็นนักบริหารมืออาชีพ. ใน เอกสารคำสอนรายวิชา 1065114. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุทัด จันทะสินธุ์. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมแบบบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

รัฐพล ฤทธิธรรม และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำและมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารสมัยใหม่ที่มีประสิทธิผลสูง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2564.

อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ. (2560). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) เมษายน-มิถุนายน.

เอกภักดิ์ ฉ่ำมณี และ ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 วันที่ 25 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. การแสดงทรรศนะเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่ในงานคืนสู่เหย้าและเชิดชูเกียรติบัญชีจุฬาฯ ดีเด่น 2565 ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ก.พ. 2565. https://www.thairath.co.th/business/economics /2403820.

Leadership Recruitment Trend 2022. https://adecco.co.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-02-2024