การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, สุขภาพ, สูงอายุบทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญ คือ ความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุกๆ ด้านรวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดีจะนำมาสู่การเกิดปัญหา หรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุในสังคมและชุมชนในอนาคต การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการเพื่อให้ประชาชนสามารถควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง โดยสนับสนุนด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง นันทนาการ และอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดผลในเงื่อนไขของการดำเนินชีวิตที่เอื้อสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคบุคคลและกลุ่มบุคคลทั่วไปในชุมชน
References
กชกร สังขชาติ. (2536). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: เจเอส การพิมพ์.
บรรลุ ศิริพานิช. (2543). ปัญหาผู้สูงอายุไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: คบไฟ.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก.31 ธันวาคม 2546. หน้า 3.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 56. 15 กันยายน 2553. หน้า 3.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. 24 สิงหาคม 2550. หน้า 23.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี กรมอนามัย. 25 มีนาคม 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.