การป้องกันการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดในเด็กและเยาวชน
คำสำคัญ:
การป้องกันการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด, ยาเสพติด, เด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
ปัจจุบันการซื้อขายยาเสพติดผ่านสื่อออนไลน์จากการศึกษาข้อมูลมีรูปแบบ ได้แก่ 1) การสั่งซื้อสิ่งเสพติดผ่านกล่องข้อความใน Facebook หรือ LINE 2) ยาเสียสาว 3) อาหารเสริมผสมยาลดความอ้วน4) อิทธิพลจากคนดังหรือดารา เด็กและเยาวชน สำหรับการติดยาเสพติดในปัจจุบัน กรณีเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิดและผ่านกระบวนการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมา แล้วกลับมากระทำความผิดซ้ำอีก กรณีเด็กกระทำความผิดซ้ำในความผิดฐานลักลอบค้ายาเสพติด อาจเกิดการอ่อนประสบการณ์มีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สาเหตุของการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านอารมณ์และความคิด (2) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม (3) ปัจจัยด้านเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด (4) ปัจจัยด้านครอบครัว (5) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย (6) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (7) ปัจจัยความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม แนวทางในการแก้ปัญหา คือ 1) การพัฒนาโปรแกรมในเชิงบำบัดร่วมกับทีมสาธารณสุขหรือทีมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นในการทำภาคีเครือข่ายสุขภาพ เครือข่ายชุมชน สถานศึกษาและทุกภาคส่วนในการจัดทำ 2) การส่งเสริมทักษะชีวิตและการเผชิญปัญหาให้กับเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดคดียาเสพติดโดยมีครอบครัวมีส่วนร่วมเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความตั้งใจในการเลิกเสพยาหรือการค้าขายยาเสพติด3) หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องทบทวนเชิงวิชาการ ถึงด้านมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในประเทศไทย 4) ภาครัฐควรทบทวนและกำหนดนโยบายเชิงลึกในการบูรณาการการทำงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพ กระทรวงยุติธรรม 5) สร้างความร่วมมือในทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อพัฒนาเครือข่ายการติดตามเด็กและเยาวชน 6) ครอบครัว ควรมีเวลาเอาใจใส่และสนใจในเด็กและเยาวชนเมื่อได้กลับมาอยู่ในสังคม 7) ชุมชนและสังคม การยกระดับทางด้านสังคม การดำเนินชีวิต 8) กระบวนการยุติธรรม
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.(2557). สถิติคดีอาญาของเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
กรมสุขภาพจิต. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ทศวรรษที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด
กาญจนา คุณารักษ์ (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติด: กรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกษวรางค์ จิณะแสน. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างถูกคุมประพฤติใน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิตราภรณ์ จิตรธร. (2551). การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ศึกษาเชิงทฤษฎีการควบคุมทางสังคม และการคบหาสมาคมที่แตกต่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชวลิต กงเพชร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของกลุ่มนักเรียนหญิงในจังหวัด กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฐิติวรรณ สุกใส และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(3), 8-19.
ณภัสสร บุญเพ็ง. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน กรณีศึกษา: สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เดชา ศิริเจริญ. (2555). เด็กกับอิทธิพลของครอบครัว Children and Influence of Family. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. 3(1), 12-17.
นวลจันทร์ ทัศนะชัยกุล. (2548). อาชญากรรม (การป้องกัน: การควบคุม). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.