การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนไทย

ผู้แต่ง

  • จินณะ โสตะจินดา ชุมชนครูเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การนำเสนอบทความนี้มีเป้าหมายเพื่อการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนไทย พบว่า แนวคิดพระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมมนุษย์ทุกกิจกรรมไม่ว่าจะเรื่องเล็กๆ หรือเรื่องใหญ่มากเพียงใดก็ตามย่อมทำให้มนุษย์ต่อเข้าไปร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเจริญให้กับกลุ่มมนุษย์นั้นๆ และสร้างเจริญเติบโตในด้านอื่นๆ อีกมากมายนั้นก็เพราะมนุษย์ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมและมีความสามัคคีกันในหมู่คณะดังพุทธดำรัสที่ทรงตรัสหลักอปริหานิธรรมไว้กับเหล่าผู้นำในแคว้นวัชชีในมีความสามัคคีกันให้มากจะไม่มีลางร้ายแห่งความตกต่ำใดๆ อีกทั้งยังสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในแคว้นนั้นๆ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่สามารถนำเอาแนวคิดไปประยุกต์ดังนี้ 1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ โดยชุมชนสามารถกำหนดกรอบเวลาการประชุมประจำทุกๆ เดือนไว้ล่วงหน้า 2. ความพร้อมเพรียง เลิกประชุม และทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมเพรียงกัน โดยการกำหนดบทบาทการมีส่วนร่วมให้กับทุกคน 3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ถือปฏิบัติมั่นตามหลักการที่วางไว้เดิม โดยการเปิดกว้างรับความคิดเห็นเพิ่มเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ โดยกำหนดให้ยึดมติที่ประชุม 4. ท่านใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นประธานต้องให้ความเคารพนับถือว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง โดยประธานต้องแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย 5. การปกป้อง สตรีเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสให้มีความปลอดภัย โดยชุมชนต้องสร้างเงื่อนไขเพื่อจัดสรรสวัสดิการให้แก่บุคคลเหล่านั้น พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เข้ามาส่วนร่วมมากขึ้น 6. การเคารพสักการะบูชาเจดีย์ โดยชุมชนต้องสร้างความเชื่อและประเพณีในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชนนั้นๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนและประชาชนเกิดวิถีปฏิบัติเช่นเดียวกัน และ 7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่คนดีมีธรรม โดยชุมชนต้องยกย่อง เชิดชูผู้สูงอายุ หรือประชาชนที่มีวิถีปฏิบัติที่ดีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

References

เขมานันท์ ขบวนฉลาด. (2546). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์, วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12 (1), 140-141.

ธมฺมจรถ. (2552). ปกิณกธรรม : ธรรม 7 ประการ สำหรับผู้ปกครองบ้านเมือง. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://mgronline.com/dhamma/detail/9520000052337 [1 ธันวาคม 2565].

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์, ดำเกิง อัศวสุนทรางกูร, สะพรั่ง สุขเวชชวรกิจ และตติยาภรณ์ ประสาทกุล. (2565). สิทธิเด็กและสตรี: ยุติความอยุติธรรม. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5 (1), 1-8.

ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ. (2540). หลักการพัฒนาชุมชน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2538). แนวทางแนวการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2546). การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณี ตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: 598 Print.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2527). กลวิธีแนวทางวิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ). (2558). อปริหานิยธรรม : สันตภาพสู่สังคมไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม. 16 (29), 80.

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 7 (2), 146.

วรางคณา วัฒโย. (2540). การจัดการองค์กรท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2530). ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการพัฒนาชุมชน: ประชาชนข้าราชการและผู้นำรัฐบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สำนักงานจังหวัดสระบุรี. (2561). สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนเชิงพื้นที่. สระบุรี: สำนักงานจังหวัดสระบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2546). การมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎและทบวงมหาวิทยาลัย.

อรทัย ก๊กผล และฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2553). บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า 52 ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. บทบาทของประธานหรือผู้นำการประชุมที่ดี. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : https://web.senate.go.th/km/data/secreatary/Meeting_Leader.doc [19 ธันวาคม 2565].

ไอ เอ็ม บุ๊คส์. (2551). ปฏิวัติการประชุม. กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.

Arnstien, S.R. (1969). “A Ladder of Citizen Participation”. Journal of the American Institute of Planners. 35 (4), 216-224.

Cohen J.M & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.

Putti. (1987). Work values and organizational commitment: A study in the Asian context. Human Relations.

United Nations. (1981). Yearbook of International Trade Statistics. United Nations UN Press.

William, E. (1976). Electoral Participation in a Low Stimulus Election. Rural Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-02-2024