หลักธรรมในการทำสามีจิกรรมของพระสงฆ์ในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, การทำสามีจิกรรม, พระสงฆ์ไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการทำสามีจิกรรมของพระสงฆ์ไทย พบว่า การทำสามีจิกรรมถือเป็นอาจริยวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ วัตรที่สัทธิวิหาริกหรืออันเตวาสิก พึงกระทำต่อพระอุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์เพื่อแสดงถึงความเคารพนอบน้อมแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ สภาพและบริบทการอบรมสั่งสอนตักเตือนและทำสามีจิกรรมการอบรมตามหลักจริยวัตรในคณะพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน พบว่า นอกจากจะยึดถือการอบรมสั่งสอนตักเตือนและการทำสามีจิกรรมตามพระธรรมวินัยด้วยหลักอาจริยวัตรแล้ว ยังปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎหมายมหาเถรสมาคมซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นทางการโดยกาสั่งสอนจากผู้ที่มีอำนาจเจ้าคณะผู้ปกครองจึงทำให้ขาความสัมพันธ์ในฐานะอาจารย์และศิษย์ แนวทางการอบรมสั่งสอนตามหลักอาจริยวัตรของคณะสงฆ์ พบว่า อุปัชฌาย์และอาจารย์จะต้องประพฤติปฏิบัติตามคุณสมบัติของอุปัชฌาย์ อาจารย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีงามและลูกศิษย์ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักความกตัญญูกตเวที คือ มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและตอบแทนคุณท่านให้นานพอสมควรได้
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). สมบัติผู้ดี. พิมพ์ครั้งที่ 30. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ประชุมโคลงโลกนิติ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับบประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2539). มงคลยอดชีวิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
สมศรี สุกมลนันท์. (2535). มารยาทสังคม. กรุงเทพฯ: จัดพิมพ์โดยบริษัทรปูนซีเมนต์ไทยจำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.