การประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้แต่ง

  • ธันยารัตน์ พวงสาหร่าย

คำสำคัญ:

การประยุกต์หลักฆราวาสธรรม, ส่งเสริมจริยธรรม, ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาการประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า ปัจจุบันสังคมไทยจัดเป็นสังคมแห่งโลกนวัตกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างไร้พรมแดนส่งผลให้การดำเนินชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะค่านิยมที่มุ่งเน้นความเจริญทางด้านวัตถุหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม รัฐบาลซึ่งเป็นกลไกในการปกครองประเทศย่อมมีภาระหน้าที่อย่างมากมายในการบริหารประเทศให้ประชาชนได้รับความสุข แต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะดูแลและจัดทำบริการให้กับประชาชนได้ทั่วถึงทุกชุมชนของประเทศ อาจจะไม่ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละชุมชนได้ องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมากเนื่องจากเป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดและมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประชาชนและสามารถจะตอบสนองความต้องการเบื้องต้นของประชาชนได้

            การประยุกต์หลักฆราวาสธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนี้มีอยู่ 4 ประการ คือ 1) ด้านปัญญาตามหลักฆราวาสธรรม ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตระหนักในจริยธรรมประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้มีความซื่อสัตย์ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อตรงตามหลักนิติธรรม 2) ด้านความกล้าหาญตามหลักฆราวาสธรรม ผู้บริหารองค์การท้องถิ่นควรเป็นผู้มีบุคลิกที่ดีมีความกล้าหารมีความศรัทธาเป็นที่ไว้วางใจของชุมชน เข้าสู่อำนาจด้วยกลไกทางการเมืองประพฤติปฏิบัติตนมีความซื่อสัตย์สุจริต 3) ด้านความรู้จักประมาณตามหลักฆราวาสธรรม ควรปฏิบัติตามความเหมาะสมต่อประชาชน ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ตรงจุด และ 4) ด้านความยุติธรรมตามหลักฆราวาสธรรม ปฏิบัติราชการตามภารกิจด้วยความโปร่งใส มีจิตสำนึกในระบอบประชาธิปไตย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). แนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่เน้น ความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2542). พฤติกรรมศาสตร์เล่ม 2 จิตวิทยาจริยธรรมและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ทิพย์พรรณ นพวงศ์ ณ อยุธยา. (2542). ประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2523). การบริหารงานตำรวจ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับบประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพลากร อนุพันธ์. (2564). “องค์ประกอบและตัวบ่งชี้จริยธรรมทางการเมืองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2525). การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

. (2528) การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น : อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วิญญู อังคณารักษ์. (2518). แนวความคิดในการกระจายอำนาจปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.

วุฒิชัย จำนงค์. (2523). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

วรพิทย์ มีมาก. (2545). “ความรู้และความเข้าใจของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านดาก จังหวัดเชียงใหม่”. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2545). การเมืองแนวความคิดและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-10-2024