พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ตามหลักสาราณียธรรม

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ บัวอ่อน

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ข่าวสารทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยบูรณาการตามหลักสาราณียธรรม พบว่า การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายไร้สายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยส่งเสริมทำให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา สังคม วัฒนธรรม รวมไปถึงเศรษฐกิจ ผู้รับสารจึงมีทางเลือกในเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้หลายช่องทางได้ด้วยตนเอง ดังนั้นพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของบุคคลทั่วไปผ่านสื่อต่างๆ จึงมีพฤติกรรมความต้องการในการเปิดรับสื่อที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองด้วย การรับข่าวสารทางการเมืองที่แต่ละบุคคลได้รับอาจเป็นปัจจัยประเภทหนึ่งที่มีผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของแต่ละบุคคล กล่าวคือการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจะมีอัตราสูง และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเมือง

            พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสาราณียธรรมนี้ มี 6 ประการ คือ 1) ด้านเมตตากายกรรม ควรดำรงตนอยู่ในศีลธรรมสำรวมระวังในอกุศลกรรมความไม่ดีทางกาย 2) ด้านเมตตาวจีกรรม ควรใช้ปิยวาจา คือวาจาที่ไพเราะรื่นหู 3) ด้านเมตตามโนกรรม การคิดต่อกันด้วยเมตตา จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี 4) ด้านสาธารณโภคี การรู้จักแบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกันหาร่วมกันทำโดยยุติธรรม 5) ด้านสีลสามัญญตา การมีความประพฤติเสมอภาคกัน 6) ด้านทิฎฐิสามัญญตา การมีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แก้ว ชิดตะขบ. (2550). พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2517). ความคิดอิสระ : รวมบทความทางการเมืองระหว่างปี 2511-2516. กรุงเทพมหานคร : พิฆเณศ.

นิลุบล ใจอ่อนน้อม. (2543). การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2537). การศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมไทยกับการจรรโลงประชาธิปไตย : ข้อคิดบางประการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุด หากแต่เป็นระบบที่เลวน้อยที่สุด. กรุงเทพมหานคร : บริษัท มิสเตอร์ ก๊อปปี้.

ลลิดา อังสวานนท์. (2545). “พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจในการใช้เว็บไซต์ i-Greenspace”. ปริญญามหาบัณฑิต การจัดการการสื่อสารองค์กร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

George A. Miller. (1996). Language an Communication. New York: McGraw-Hill.

Karl W. Deutch. (1996). “The Nerves of Government; Model of Communication and Control”. In Contemporary Political Analysis. New York: Free Press.

Mc Quail Dennis. (2005). Mc Quail s Mass Communication Theory. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-10-2024