ภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรม
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การพัฒนาชุมชน, พระสังฆาธิการบทคัดย่อ
พ
บทความนี้เขียนเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการโดยบูรณาการกับหลักสัปปุริสธรรม พบว่า พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยและมีบทบาทต่อชุมชน โดยการอบรมคุณธรรม จริยธรรม อุปนิสัยดีงามให้กับคนในสังคมและชุมชน ให้ความอนุเคราะห์ด้านสาธารณะตามความต้องการของประชาชน ด้วยหลักคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า พระสงฆ์ถือว่าเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัยเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ถือว่าเป็นผู้นำให้กับชุมชนอันเป็นที่ยอมรับ พระสงฆ์นอกจากจะทำหน้าที่ตนเองเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เพื่อสังคมชุมชนอีกด้วย ด้วยความเป็นจริง ชีวิตของพระสงฆ์มีความสัมพันธ์กับชุมชนทางด้านความเป็นอยู่ต้องพึ่งพาอาศัยชาวบ้าน ในขณะเดียวกับ พระสงฆ์ก็ต้องตอบแทนชุมชนตามที่พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายเธอจงจารึกไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของมหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก
ภาวะผู้นำการพัฒนาชุมชนของพระสังฆาธิการตามหลักสัปปุริสธรรมมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาจิตใจประชาชนโดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนได้เข้าใจหลักธรรมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 2) ด้านการศึกษาสงเคราะห์โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรควรจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์และแจกทุนการศึกษาเพื่อให้แก่เด็กและเยาวชน 3) ด้านการสาธารณสงเคราะห์โดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการประกอบงานการกุศลและอกุศล 4) ด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ตามหลักสัปปุริสธรรม พระสังฆาธิการควรส่งเสริมศีลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม ควรจัดกิจกรรมสะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่น
References
ฉลอง พันธ์จันทร์ ธีระพงษ์ มีไธสง และอภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2553). “การส่งเสริมศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนบ้านท่าขอนยางอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน.
ชูชัย สมิธิไกร. (2538). การพัฒนาบุคคลกรด้วยกลุ่มสร้างสรรค์ความงอกงามทางจิตใจ. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2555). วิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ แนวคิด แนวทาง แนวทำ : โครงการสนับสนุนวัดเป็นศูนย์กลางสร้างสุขของชุมชน. กรุงเทพมหานคร : กรมการศาสนา.
พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส. (2555). “ภาวะผู้นำของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระราชพุทธิญาณวงศ์. (2540). คู่มือวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพมหานคร : อาธรการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วีระยุทธ ยะสาย และคณะ. (2561). “บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม.
สุเทพ เชาวลิต. (2542). หลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2544). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิรัตน์ เอ็คดูเคชั่น.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2515 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาชัยภูมิปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.