Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">นโยบายของวารสาร (<span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Journal Policies</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> <span style="font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif;">)</span></span></span></strong></p> <p style="margin: 0in;"> </p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Aim and Scope)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>Applied Economics, Management and Social Sciences (AEMS) <span lang="TH">มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ</span>, <span lang="TH">สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์</span>, <span lang="TH">พัฒนาสังคม</span>, <span lang="TH">จิตวิทยา การศึกษา รวมถึง สหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ วารสารตีพิมพ์เผยแพร่บทความออนไลน์ ปีละ </span>3 <span lang="TH">ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2-</span>3 <span lang="TH">ท่าน โดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์บทความจะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (</span>Double-Blind Peer Review) AEMS <span lang="TH">เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Types of articles)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>1) <span lang="TH">บทความวิจัย (</span>Research Article) <span lang="TH">เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>2) <span lang="TH">บทความวิชาการ (</span>Academic Article) <span lang="TH">เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">กำหนดออกเผยแพร่วารสาร (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Publication schedule)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>Applied Economics, Management and Social Sciences <span lang="TH">มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ </span>3 <span lang="TH">ฉบับ ดังนี้</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>1 <span lang="TH">มกราคม – เมษายน</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">พฤษภาคม – สิงหาคม</span> </span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>3 <span lang="TH">กันยายน – ธันวาคม</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Publication fee)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> <strong><span lang="TH" style="font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif;">โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</span></strong></span></p> th-TH Thu, 20 Feb 2025 17:44:01 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กรอบแนวคิดทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์และความท้าทายในอนาคต https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/1214 <p>รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญในการบริหารจัดการภาครัฐหรือการบริหารรัฐกิจ เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของแนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ นักวิชาการได้จัดกลุ่มทฤษฎีไว้หลายแนวทางแนวทาง หนึ่งคือการแบ่งตามกระบวนทัศน์หรือกรอบแนวคิด (Paradigm) ซึ่งเป็นการจัดตามช่วงเวลาที่เกิดขึ้นดังนั้นจึงมุ่งนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีฯ ตามช่วงกระบวนทัศน์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ ให้เห็นถึงข้อจำกัดในแต่ละยุคสมัย เพื่อขยายมุมมองเกิดเป็นแนวคิดในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร อนาคตของงาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขยายตัวของความเป็นชนบทและเมือง</p> กฤษณะ ดาราเรือง, ธงชัย จ้อยชู, วุฒิชัย กาวี, ธนพจน์ แพสุวรรณ์, ภาคสกร รักกลัด Copyright (c) 2025 Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/1214 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของไทย ด้วยวิธีการแยกองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงรายได้การท่องเที่ยว https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/670 <p>บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินการเปลี่ยนแปลงจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวจากจังหวัดท่องเที่ยวหลักไปยังจังหวัดท่องเที่ยวรองด้วยวิธีการแยกองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงรายได้การท่องเที่ยว เพื่อระบุถึง แหล่งที่มาของการเปลี่ยนแปลงรายได้การท่องเที่ยวของไทยในช่วง ปี 2553 ถึงปี 2566 ผลจากการศึกษา สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงรายได้การท่องเที่ยวของไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เยี่ยมเยือน เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรายได้การท่องเที่ยวไทย การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวต่อครั้งเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้รายได้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี ในส่วนของผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกจุดหมายปลายทางไปยังจังหวัดท่องเที่ยวรองและปริมณฑลเกิดขึ้นไม่มาก มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ (1) การดำเนินมาตรการด้านการประชาสัมพันธ์จังหวัดท่องเที่ยวรองยังคงมีความจำเป็นและต้องมีการดำเนินการอย่างจริงจังและ (2) การเพิ่มศักยภาพและการยกระดับความพร้อมของจังหวัดท่องเที่ยวรอง และ (3) ควรสร้างแรงดึงดูดของจังหวัดท่องเที่ยวรองเพื่อดึงผู้เยี่ยมเยือน</p> บัณฑิต ชัยวิชญชาติ Copyright (c) 2025 Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/670 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 คุณลักษณะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ฮอร์โมนพืชไม้ผลในจังหวัดจันทบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/942 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ฮอร์โมนสำหรับพืชไม้ผลสำหรับร้านค้าเคมีเกษตรจังหวัดจันทบุรี โดยการศึกษานี้ใช้แบบจำลอง Conjoint Analysis เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะที่ร้านเคมีเกษตรมีความพึงพอใจ การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากร้านค้าเคมีเกษตรในเขตอำเภอสอยดาวและอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีจำนวน 127 ร้าน ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะฮอร์โมนสำหรับพืชไม้ผลที่ร้านค้าเคมีเกษตรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การให้เครดิต รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์ และการจัดโปรโมชั่นตามลำดับ ร้านค้าเคมีเกษตรมีความพึงพอใจในด้านคุณลักษณะบรรจุภัณฑ์แบบไม่มีกล่อง การจัดโปรโมชั่นแบบเงินคืน 20% และการให้เครดิตแบบจ่ายเต็ม (90 วัน) มากที่สุด จากผลการศึกษาข้างต้นนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า บริษัทควรจะให้เครดิตเทอมยาว 90 วัน แก่ร้านค้าเคมีเกษตร และออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบไม่มีกล่อง แต่อย่างไรก็ตาม หากบรรจุภัณฑ์ที่จะนำออกสู่ตลาดนั้นเป็นแบบไม่มีกล่องแล้ว ขวดบรรจุภัณฑ์ควรเป็นขวดพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่แตก ไม่หัก และไม่บุบง่าย</p> กมลรัตน์ ถิระพงษ์, วชิราภรณ์ กาญจนะ, จักรกฤษณ์ พจนศิลป์, ชมพูนุช นันทจิต, ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา, ศานิต เก้าเอี้ยน, กฤช เอี่ยมฐานนท์ Copyright (c) 2025 Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/942 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/940 <p>ข้าวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทย แต่การผลิตข้าวกลับเป็นการทำการเกษตรที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับการทำการเกษตรชนิดอื่นๆ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ แต่ระดับการยอมรับเทคโนโลยียังคงไม่แพร่หลาย งานวิจัยนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการสำรวจสอบถามจากเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 189 คน และมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบจำลองถดถอยโลจิสติก และแบบจำลองถดถอยปัวซง เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่นำมาวิเคราะห์มี 4 เทคโนโลยี ได้แก่ การใช้เลเซอร์ปรับหน้าดิน การทำนาเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการไถกลบตอซังและฟางข้าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นตั้งแต่ร้อยละ 95 ขึ้นไป ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สมาชิกภายในครอบครัว ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ระดับการยอมรับความเสี่ยง และทักษะของเกษตรกร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเหมือนกันทั้ง 4 เทคโนโลยี ได้แก่ ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ระดับการยอมรับความเสี่ยง และทักษะของเกษตรกร ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการยอมรับเทคโนโลยี ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีที่แตกต่างกันทั้ง 4 เทคโนโลยี ได้แก่ เพศ สมาชิกภายในครอบครัว ซึ่งจะมีแค่บางเทคโนโลยีเท่านั้นที่เกษตรกรจะยอมรับปัจจัยเหล่านี้ และสำหรับผลของการศึกษาแบบจำลองถดถอยปัวซงที่วิเคราะห์ถึงจำนวนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ร่วมกัน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นตั้งแต่ร้อยละ 95 ขึ้นไป ได้แก่ ระดับการศึกษาและขนาดพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการยอมรับเทคโนโลยี</p> ปิยรัชนี จ้อยอินทร์, ผืนน้ำ คงโต, สุดารัฐ เลิศทัศนวนิช Copyright (c) 2025 Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/940 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีทีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/1294 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีที กำหนดเกณฑ์ผ่าน คือ นักเรียนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 45 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ ผลงานนักเรียน และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 82.22 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.18 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.89 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 22.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.19 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จากผลการวิจัยในครั้งนี้สรุปว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท้าทายเป็นฐานร่วมกับเทคนิคทีจีทีสามารถพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้มากขึ้น</p> พงศธร เหล็กคง Copyright (c) 2025 Applied Economics, Management and Social Sciences https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/1294 Thu, 20 Feb 2025 00:00:00 +0700