https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/issue/feed Applied Economics, Management and Social Sciences 2024-04-30T20:06:54+07:00 Open Journal Systems <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">นโยบายของวารสาร (<span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Journal Policies</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> <span style="font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif;">)</span></span></span></strong></p> <p style="margin: 0in;"> </p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Aim and Scope)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>Applied Economics, Management and Social Sciences (AEMS) <span lang="TH">มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ</span>, <span lang="TH">สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์</span>, <span lang="TH">พัฒนาสังคม</span>, <span lang="TH">จิตวิทยา การศึกษา รวมถึง สหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ วารสารตีพิมพ์เผยแพร่บทความออนไลน์ ปีละ </span>3 <span lang="TH">ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2-</span>3 <span lang="TH">ท่าน โดยผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์บทความจะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (</span>Double-Blind Peer Review) AEMS <span lang="TH">เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Types of articles)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>1) <span lang="TH">บทความวิจัย (</span>Research Article) <span lang="TH">เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>2) <span lang="TH">บทความวิชาการ (</span>Academic Article) <span lang="TH">เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">กำหนดออกเผยแพร่วารสาร (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Publication schedule)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span>Applied Economics, Management and Social Sciences <span lang="TH">มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ </span>3 <span lang="TH">ฉบับ ดังนี้</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>1 <span lang="TH">มกราคม – เมษายน</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>2 <span lang="TH">พฤษภาคม – สิงหาคม</span> </span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">- <span lang="TH">ฉบับที่ </span>3 <span lang="TH">กันยายน – ธันวาคม</span></span></p> <p style="margin: 0in;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> </span></p> <p style="margin: 0in;"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ (</span></strong><strong><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;">Publication fee)</span></strong></p> <p style="margin: 0in;"><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ</span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif; color: #0e101a;"> <strong><span lang="TH" style="font-family: 'BrowalliaUPC',sans-serif;">โดยไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</span></strong></span></p> https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/806 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ช่วงการระบาดโควิด-19: กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2024-04-30T19:36:50+07:00 ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์ poomthan.r@ku.th พีระพงศ์ เบญจพรกุลนิจ poomthan.r@ku.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยจะแยก ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์รวมถึงส่วนผสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 งานวิจัยนี้จะเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถามผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อยู่ในสถานภาพแรงงานและมีความตั้งใจที่จะซื้อเฟอร์นิเจอร์จำนวน 400 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างจะใช้วิธีสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงและแบบสะดวก วิธีการศึกษาจะใช้ค่าสถิติเชิงพรรณา t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุในการอธิบาย ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ผู้ประกอบการขายเฟอร์นิเจอร์ควรมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์การขายเฟอร์นิเจอร์หมวดโฮมออฟฟิศและหมวดห้องนั่งเล่นในกลุ่มลูกค้าที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการด้วยการใช้กลยุทธ์ด้านราคาแบบผ่อนชำระ สำหรับเฟอร์นิเจอร์ในหมวดห้องนอน ห้องครัวและห้องอาหาร ควรเน้นไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีอายุ 41-50 ปีที่ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือนมากและประกอบธุรกิจส่วนตัว นอกจากนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยการตลาดด้านราคาส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนั่งเล่นและโฮมออฟฟิศ ส่วนปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนอน ห้องครัวและห้องอาหาร ปัจจัยด้านบุคคลากรส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์หมวดห้องนั่งเล่นและหมวดห้องครัวและห้องอาหาร และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลทางบวกต่อคะแนนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ในหมวดห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัวและห้องอาหาร</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/807 การรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศไทย 2024-04-30T19:44:41+07:00 เออวดี เปรมัษเฐียร fecoadu@ku.ac.th <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพ และปัจจัยที่ส่งผลต่อความแตกต่างในการรับรู้และทัศนคติ ทำการเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์จากผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 614 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการแบ่งกลุ่มผู้บริโภค ผลการศึกษาด้านการรับรู้และทัศนคติที่ประชาชนมีต่อเชื้อเพลิงชีวภาพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 51,946 บาทต่อเดือน มีค่าเฉลี่ยสูงเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เป็นผู้ขับขี่รถยนต์มีอายุในระดับกลางคน และพบว่าการรับรู้ของประชาชนต่อเชื้อเพลิงชีวภาพยังจำกัด ส่วนมากขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับราคาของเชื้อเพลิงชีวภาพและสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพในแก๊สโซฮอล์ แต่มีความตระหนักในระดับที่ดีถึงความสำคัญของเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม มีความยินดีเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพหากภาครัฐมีการอุดหนุนให้ราคาเชื้อเพลิงชีวภาพต่ำกว่า และผลการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคพบว่าคุณลักษณะของประชากรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่าไม่ได้ส่งผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพที่ดีกว่า สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ทีมีสถานภาพทางเศรษฐกิจดีควรเป็นกลุ่มที่ควรได้รับข้อมูลข่าวสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพให้เพิ่มมากขึ้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/808 การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของการวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ 2024-04-30T19:53:31+07:00 อรรถพล สืบพงศกร fecoapsu@ku.ac.th พิมพ์พร โสววัฒนกุล fecoapsu@ku.ac.th จิตรา โรจน์ประเสริฐกูล fecoapsu@ku.ac.th <p>การประเมินผลลัพธ์ผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สกสว. : การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อประเมิน กระบวนการบริหารจัดการ ผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบ และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ และนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม หลักการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบอาศัยการประเมินทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก โดยกำหนดให้การลงทุนในงานวิจัยก่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบตามกรอบแนวทางของระบบการประเมินผลการวิจัยของ OECD มีโครงการวิจัยภายใต้การประเมินรวม 50 โครงการ ตามแผนงานมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ ปีงบประมาณ 2563&nbsp; โดยทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารรายงานโครงการและข้อมูลโครงการภายใต้การประเมินที่มีการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิ โดยสำรวจสภาพพื้นที่และการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการกรณีศึกษา 8 โครงการ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบอุปนัยเพื่อตีความหาข้อสรุปของข้อมูล ภาพรวมของการดำเนินโครงการวิจัย พบว่า ตามโครงสร้างการจัดสรรทุนวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม มีการกระจายทีมวิจัยอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ การประเมินผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบตามกรอบ OECD พบว่า ทุกโครงการวิจัยบรรลุเป้าหมายด้านความสอดคล้องของแผนงานวิจัย (Relevance) ด้านความเชื่อมโยงของแผนงานวิจัย (Coherence) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) &nbsp;และด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่สอดคล้องกับแผนงานวิจัย ววน. ตอบโจทย์การพัฒนาตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทุกโครงการสามารถดำเนินโครงการได้ตามภาพรวมเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลัก มีการจัดสรรทรัพยากรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนพื้นที่ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด มีผลประโยชน์จากการดำเนินโครงการวิจัย (Benefit cost ratio) ที่คุ้มค่า อย่างไรก็ตาม ผลได้ที่เกิดขึ้นนี้แสดงถึงความยั่งยืนของผลลัพธ์และผลกระทบภายหลังจากโครงการวิจัยสิ้นสุดแล้วได้ไม่ดีนัก โดยโครงการเกือบทั้งหมดยังมีลักษณะของโครงการที่ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่อง จึงจะทำให้เกิดผลการดำเนินโครงการที่ต่อเนื่องได้ดัวยตนเองอย่างยั่งยืน&nbsp; ข้อเสนอแนะสำคัญของของการจัดสรรทุนวิจัยได้แก่ ด้านระยะเวลาที่โครงการวิจัยจำเป็นต้องมีระยะเวลาวิจัยไม่น้อยกว่า 3-4 ปีขึ้นไปร่วมกับการพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างกรอบวิจัยต่างๆ ให้เกิดประโยชน์เป็นองค์รวมที่สามารถบูรณาการผลร่วมกันในพื้นที่ และมีการตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนที่นักวิจัยวางไว้ แล้วมีการทบทวนปรับแผนและกระบวนการเพื่อความเหมาะสม กับสภาพข้อเท็จจริงเมื่อเกิดการปฏิบัติงานจริง</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/809 การปรับปรุงคุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนทอดกรอบ 2024-04-30T20:06:54+07:00 พัชรพร ไตรวงศ์ suwanna.s@ku.th สุวรรณา สายรวมญาติ suwanna.s@ku.th เออวดี เปรมัษเฐียร suwanna.s@ku.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนทอดกรอบ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม จากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามร่วมการทดสอบรสชาติโดยผู้บริโภคที่เคยซื้อหรือเคยบริโภคผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 200 ราย ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2566 ผลการวิเคราะห์พบว่า คุณลักษณะที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด คือ คุณลักษณะด้านรสชาติ รองลงมาคือ รูปแบบชิ้นทุเรียน ระดับราคา และวิธีการปรุงรส ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบลำดับความพึงพอใจที่มีต่อระดับคุณลักษณะก่อนและหลังทดสอบรสชาติ พบว่า ก่อนทดสอบรสชาติผู้บริโภคมีความพึงพอใจรสเกลือหิมาลายันมากกว่ารสข้าวโพด แต่หลังจากที่ได้ทดสอบรสชาติกลับมีความพึงพอใจรสข้าวโพดมากกว่ารสเกลือหิมาลายัน โดยที่ระดับคุณลักษณะอื่นไม่มีลำดับความพึงพอใจแตกต่างกันทั้งก่อนและหลังการทดสอบรสชาติ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์ทุเรียนทอดกรอบเป็นอันดับแรก และควรมีการทดสอบทางประสาทสัมผัสกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ได้รสชาติที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/640 การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบโครงการวิจัยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2024-03-15T12:42:49+07:00 กุลภา กุลดิลก kulapa.k@ku.ac.th เออวดี เปรมัษเฐียร fecoadu@ku.ac.th วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย visit.l@ku.th <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์และผลกระทบจากงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล ในส่วนของโครงการวิจัยจำนวน 39 โครงการ ปีงบประมาณ 2563 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIIS) รวมทั้งเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการรวบรวมแบบสอบถามออนไลน์ สำหรับโครงการวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 5 โครงการ ทำการนัดสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อประกอบการศึกษาผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่ได้รับการคัดเลือก การศึกษาโครงการคัดเลือกใช้การวิเคราะห์เส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย การวัดการเปลี่ยนแปลงในส่วนเกินทางเศรษฐกิจ และการประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนวิจัย ผลการศึกษาสถานภาพ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โครงการทั้งหมดมีงบประมาณรวมทั้งหมด 199.66 ล้านบาท มีนักวิจัยเฉลี่ยต่อโครงการ 2-3 คน ด้านการบริหารจัดการงานวิจัย สาขาของการวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในด้านด้านสังคมศาสตร์ ด้านผลผลิต ผลผลิตของโครงการวิจัยเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ชุดโปรแกรมด้านบริการเชิงสุขภาพ แบบการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ รูปแบบการประชาสัมพันธ์แนะนำการท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ ด้านของผลประโยชน์เชิงวิชาการ ได้แก่ ด้านของการฝึกอบรม บทความวิจัย คู่มือและสิ่งพิมพ์ หนังสือ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดการเพิ่มในด้านรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น มาตรฐานของสถานที่บริการการท่องเที่ยวต่างๆ ที่ดีขึ้น การประหยัดต้นทุนจากการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโครงการวิจัยกรณีศึกษา 5 โครงการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยโครงการวิจัยทั้ง 5 กรณีศึกษาใช้เงินลงทุนในการวิจัยรวม 104.94 ล้านบาท มีค่าผลตอบแทนทางสังคมรวม (SROI) เท่ากับ 5.51 และ IRR เท่ากับ 54.56% ในช่วงเวลา 5 ปี ทุกโครงการมีความคุ้มค่ากับการลงทุนในการทำงานวิจัย ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ควรผลักดันโครงการที่มีการวางแผนในด้านการพัฒนาคน เช่น การอบรมในทักษะต่างๆ การจัดทำมาตรฐาน การพัฒนาพื้นที่ชุมชนและสำรวจแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใหม่ โดยเน้นในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น</p> 2024-04-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 Applied Economics, Management and Social Sciences