ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกร

Main Article Content

ปิยรัชนี จ้อยอินทร์
ผืนน้ำ คงโต
สุดารัฐ เลิศทัศนวนิช

บทคัดย่อ

ข้าวนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับประเทศไทย แต่การผลิตข้าวกลับเป็นการทำการเกษตรที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับการทำการเกษตรชนิดอื่นๆ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ แต่ระดับการยอมรับเทคโนโลยียังคงไม่แพร่หลาย งานวิจัยนี้จึงมีขึ้นเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีการสำรวจสอบถามจากเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 189 คน และมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบจำลองถดถอยโลจิสติก และแบบจำลองถดถอยปัวซง เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกร ซึ่งเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่นำมาวิเคราะห์มี 4 เทคโนโลยี ได้แก่ การใช้เลเซอร์ปรับหน้าดิน การทำนาเปียกสลับแห้ง การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการไถกลบตอซังและฟางข้าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นตั้งแต่ร้อยละ 95 ขึ้นไป ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สมาชิกภายในครอบครัว ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ระดับการยอมรับความเสี่ยง และทักษะของเกษตรกร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีเหมือนกันทั้ง 4 เทคโนโลยี ได้แก่ ระดับการศึกษา ขนาดพื้นที่เพาะปลูก ระดับการยอมรับความเสี่ยง และทักษะของเกษตรกร ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการยอมรับเทคโนโลยี ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีที่แตกต่างกันทั้ง 4 เทคโนโลยี ได้แก่ เพศ สมาชิกภายในครอบครัว ซึ่งจะมีแค่บางเทคโนโลยีเท่านั้นที่เกษตรกรจะยอมรับปัจจัยเหล่านี้ และสำหรับผลของการศึกษาแบบจำลองถดถอยปัวซงที่วิเคราะห์ถึงจำนวนเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่เกษตรกรยอมรับมาใช้ร่วมกัน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นตั้งแต่ร้อยละ 95 ขึ้นไป ได้แก่ ระดับการศึกษาและขนาดพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการยอมรับเทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
จ้อยอินทร์ ป., คงโต ผ., & เลิศทัศนวนิช ส. (2025). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำของเกษตรกร. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(3), 35–44. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/940
บท
บทความวิจัย

References

กาญจน์เขจร ชูชีพ. (2561). ทฤษฎีการถดถอยโลจิสติก. ค้นจาก https://forest-admin.forest.ku.ac.th/304xxx/?q=system/files/book/5%282018%29%20Logistic%20Regression.pdf.

ชุติกาญจน์ ชูสวัสดิ์. (2560). ทฤษฎีการถดถอยปัวซง. ค้นจากhttps://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5909030107_8296_8477.pdf.

ธนาคารกรุงเทพ. (2566). สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรไทย. ค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/23-7sme3-reduce-carbon-emissions-generate-income.

ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล, สุวรรณา สายรวมญาติ และสุภาวดี ขุนทองจันทร์.(2564). กลไกการขับเคลื่อนการเกษตรในภาคกลางสู่เกษตรสมัยใหม่ของประเทศไทย: กรณีศึกษาข้าว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม.

พรรษสรณ์ ชาญบัณฑิตนันท์, เออวดี เปรมัษเฐียร และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำของเกษตรกรในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 3(1), 29-38.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). เศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2566. ค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2567/commodity2566.pdf.

อุรัสยา แก้วคำ. (2565). การยอมรับมาตรฐานการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Chen, Z. D., & Chen, F. (2022). Socio-economic factors influencing the adoption of low carbon technologies under rice production systems in China. Carbon Balance and Management, 17(1), 19.

Jiang, L., Huang, H., He, S., Huang, H., & Luo, Y. (2022). What motivates farmers to adopt low-carbon agricultural technologies? Empirical evidence from thousands of rice farmers in Hubei province, central China. Frontiers in Psychology, 13, 983597.

Liebenehm, S., & Waibel, H. (2014). Simultaneous estimation of risk and time preferences among small-scale cattle farmers in West Africa. American Journal of Agricultural Economics, 96(5), 1420-1438.

Nuthall, P.L. (2019). Farm business management: The human factor. (2nd ed.). Oxfordshire, UK: CABI.