การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม : กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้า บ้านสำโรง ตำบลขวาวใหญ่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พรพิรุณ แสงแสน
ภัทรพร วีระนาคินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม 2) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม และ 3) พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม ที่เป็นสมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านสำโรง ตำบลขวาวใหญ่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ดังนี้ (1) การเตรียมการ (2) การดำเนินการวิจัย ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (3) ระยะติดตามและประเมินผล การวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การสังเกต การอภิปรายกลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าทุกคนมีทักษะการทอผ้า บางคนมีทักษะการมัดลาย โดยมีผู้รับจ้างมัดไหมเป็นอาชีพ และมีเพียงส่วนน้อยที่เลี้ยงหม่อนไหมเอง ผลิตภัณฑ์หลักคือผ้าพันคอและผ้าคุมไหล่ โดยลายช้างเป็นที่นิยมถึงร้อยละ 90 ขายให้กับพ่อค้าคนกลางและมีการขายออนไลน์ในปริมาณน้อย กำลังการผลิตขึ้นอยู่กับเวลาที่สมาชิกใช้ทอ ซึ่งหลายคนมีอาชีพอื่นร่วมด้วย ทำให้ไม่สามารถผลิตผ้าไหมได้เต็มที่ สมาชิกที่ทอผ้าไหมเป็นอาชีพหลักสามารถผลิตได้ 5-15 ผืนต่อเดือน 2) ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม ได้แก่ (1) ปัญหา: ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้, ต้นทุนการผลิตต่ำ, กำลังการผลิตต่ำกว่าความต้องการตลาด (2) ความต้องการ: 1) สินค้า: ลายผ้าไหมและบรรจุภัณฑ์ใหม่ 2) การตลาด: กำหนดราคาเองและมีแหล่งรับซื้อผ้าไหม 3) การพัฒนาศักยภาพ: เรียนรู้เทคนิคทันสมัยและดูงานนอกสถานที่ 3) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหมจะดำเนินการโดยการลงพื้นที่พูดคุย, ประชุมกลุ่มเพื่อหาแนวทางพัฒนา, และปฏิบัติตามแผนที่ได้พูดคุยร่วมกัน

Article Details

How to Cite
แสงแสน พ., & วีระนาคินทร์ ภ. (2024). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนด้านผ้าไหม : กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้า บ้านสำโรง ตำบลขวาวใหญ่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. Applied Economics, Management and Social Sciences, 1(2), 29–40. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/A_EMS/article/view/2040
บท
บทความวิจัย

References

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท. (2553). วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลอง สุขทอง, ศิรินทิพย์ พิศวง, อัชราพร สุขทอง, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร และสุดใจ สะอาดยิ่ง. (2566). มรดกภูมิปัญญาผ้าไหมยกทองสุรินทร์ : อนุรักษ์ พัฒนาและถ่ายทอดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 375–394.

ชัชจริยา ใบลี. (2560). สถานการณ์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นบ้านในจังหวัดเลย. Ratchaphruek Journal, 15(3), 88-96.

ทิบดี ทัฬหกรณ์ และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 11(2), 46-76.

นงนุช อิ่มเรือง และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2554). แนวทางการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหวายหลึม. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(2), 1-15.

บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด. (2566). ข้อมูลประวัติ บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด. สืบค้นจาก https://www.sedcompany.org/th/%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b2/.

มัชฌิมา ศรอินทร์. (2548). ความต้องการความรู้เรื่องการประกอบธุรกิจและวิธีการส่งเสริมศักยภาพ. ของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดขอนแก่น. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อุทิศ ทาหอม, จริยา ดวดไธสง และอันธิกา คงประโคน. (2561). แนวทางการบริการจัดการกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองไทรงาม ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพัฒนศาสตร์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1(1), 97–129.

Researcher thailand. (2563). เทคนิคและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. Researcher Thailand. สืบค้นจาก https://researcherthailand.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A7/.