แนวทางการจัดการขยะมูลฝอย กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยกับการบริหารจัดการ 4 M การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มผู้บริหารระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนมีดังนี้ (1) ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนต้องมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยหน่วยงานต้องสนับสนุนการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านนโยบายเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ เพื่อให้ชุมชนมีระบบจัดการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการคัดแยกและส่งคืนบรรจุภัณฑ์ โดยเทศบาลนครขอนแก่นต้องจัดพื้นที่รองรับปริมาณขยะอย่างเพียงพอ (2) ด้านองค์ประกอบของระบบการจัดการขยะ: การบริหารจัดการขยะในครัวเรือนควรมีการประชาวิจารณ์เพื่อแก้ไขปัญหาขยะล้น โดยโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนสามารถลดขยะอินทรีย์และสร้างมูลค่าได้จากการขายน้ำหมัก (3) ด้านปัจจัยการจัดการขยะ: ระบบกองทุนฌาปนกิจเปลี่ยนขยะเป็นบุญกระตุ้นให้ครัวเรือนแยกประเภทขยะและนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการขยะมูลฝอยกับการบริหารจัดการ 4 M ได้แก่ การสนับสนุนการรวมกลุ่มพื้นที่และจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยในทุกจังหวัด พร้อมการประกวดชุมชนที่มีการจัดการขยะที่ดี เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักในประชาชนและหน่วยงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2566). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2566. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/32171/.
กรมควบคุมมลพิษ. (2566ข). แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565-2570). สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/publication/28745/.
ดำรัสศิริ ศิลปะวัฒนานันท์ และชญาน์นันท์ เผ่าศรีเจริญ. (2559). การประเมินผลการจัดการโครงการโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 107–128.
เด่นดนัย ดวนสูง, พัชราภรณ์ทิลา, เกตนิภา คำดวง, ชลสิทธิ์ ปรึกไธสง, ปัทมาภรณ์ สุ่มมาตย์ และ อรณิชา โต้งกระโทก. (2566). การจัดการขยะ โดยศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ zero waste หมู่บ้านหัวถนน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Spatial Development and Policy, 1(3), 1-18.
ปราศิยฉัตร บุญจวง. (2563). กองทุนธนาคารขยะเพื่อชีวิตกับการให้สวัสดิการชุมชน กรณีศึกษา : หมู่บ้านบะแค ที่ได้รับการรางวัลซีโร่เวส (Zero Waste) อันดับที่ 1 ในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
มงคลกร ศรีวิชัย, ชายแดน พิรุณเดช, ธีระพงษ์ วงศ์สอน และจาตุรนต์ กาศมณี. (2557). การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(3), 245–254.
ระพีพัฒน์ วงษ์ภักดี, กฤษณวงศ์ จันเติบ, อรนี ถะเกิงสุข, วราภรณ์ มนตรี, จุฑารัตน์ แสนบุญ และอุดม ชัยสุวรรณ. (2563). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านสวัสดี ตำบลกลันทา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ปัญญา, 27(1), 59–68.
ศิโรรัตน์ งูตูล. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าขยะที่ใช้เทคโนโลยีเตาเผาขยะ. (นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อุมาวรรณ วาทกิจ และวรวิช โกวิทยากร. (2562). ผลกระทบของโรงงานแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้า สถานีกำจัดขยะ เทศบาลนครขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 335-346.